ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

หลังเกษียณเลือก "บัตรทอง หรือ "ประกันสังคม" สิทธิไหนดีกว่ากัน

สังคม
22 ก.พ. 67
14:34
100,461
Logo Thai PBS
หลังเกษียณเลือก "บัตรทอง หรือ "ประกันสังคม" สิทธิไหนดีกว่ากัน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"เกษียณ" ไม่ใช่เรื่องไกลตัว มาเริ่มวางแผนกันเถอะ นอกจาก "เงินออม" แล้ว สุขภาพก็เป็นสิ่งสำคัญ อย่าละเลย "สิทธิรักษาพยาบาล" เลือกแบบไหนดูแลยามเจ็บป่วยไร้กังวล

เมื่อถึงเวลาอันสมควรการปลดเกษียณจากการทำงานย่อมเกิดขึ้น หลายคนอาจเจอกับปัญหาในเรื่องการปรับตัวเพราะเคยทำงานมาตลอดชีวิต ฉะนั้นสิ่งที่ช่วยให้ชีวิตหลังเกษียนราบรื่น ไร้ต้องกังวล คือ "การวางแผนล่วงหน้า" สิ่งสำคัญที่ช่วยให้เข้าสู่วัยเกษียณได้อย่างอุ่นใจ

ความหมายของ "การเกษียณ" ขึ้นอยู่กับแต่ละคน และความพร้อมของแต่ละบุคคล หากเป็นผู้ที่มีการเตรียมตัววางแผนล่วงหน้าไว้ ก็อาจจะไม่ต้องกังวลกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิต และอาจมีความสุขด้วยซ้ำ 

บางคนอาจเลือกใช้ชีวิตอย่างสงบ พักผ่อน ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ ใช้เวลากับครอบครัว บางคนอาจเลือกทำงานต่อ แตกต่างจากคนที่ขาดการเตรียมพร้อมอาจจะต้องกังวลมากกว่าทั้งทางด้านสุขภาพและจิตใจ

อ่าน  "บำนาญชราภาพ" มนุษย์เงินเดือน ประกันสังคมส่งต่อหรือพอแค่นี้

อ่าน รู้ยัง! เงินสมทบประกันสังคม "ลดหย่อนภาษี" ได้

ฉะนั้น การวางแผนการเงินเป็นสิ่งที่สำคัญมากจะได้มีเงินใช้ เพียงพอสำหรับใช้จ่ายหลังเกษียณ นอกจากนี้ การดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้ร่างกายแข็งแรง และใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างมีความสุขจึงเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน 

แต่ร่างกายที่เสื่อมสภาพไปตามวัย ประกอบกับโรคภัยที่เกิดขึ้นจึงจำเป็นต้องได้รับสิทธิการดูแลรักษาเมื่อเจ็บป่วย หลายคนสงสัยยังคงใช้ "สิทธิประกันสังคม" ได้หรือไม่ หรือควรเลือกใช้ "สิทธิบัตรทอง" ดีกว่า ก่อนตัดสินใจเลือกสิทธิการรักษา มาทำความเข้าใจ ว่า "สิทธิการรักษา" แบบไหนเหมาะกับการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุในวัยเกษียณ

อ่าน เกษียณไม่เฉา ส่อง 9 อาชีพเติมไฟให้ชีวิต - สร้างรายได้ปัง

ต้องรู้ก่อนว่า สิทธิขั้นพื้นฐานในการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุ ทั้ง "สิทธิหลักประกันสุขภาพ" หรือ "สิทธิประกันสังคม" เป็นสิทธิที่ผู้สูงอายุจะใช้ได้หลังเกษียณ  

สิทธิ "บัตรทอง"

สิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ "บัตรทอง" คนไทยทุกคนสามารถใช้สิทธิบัตรทองรักษาได้ตลอดชีวิตไม่มีวันหมดอายุ โดยครอบคลุมการรักษาโรค เช่น ให้บริการตรวจคัดกรองโรค ให้คำแนะนำด้านสุขภาพต่าง ๆ อาการเจ็บป่วยทางกาย หรือทางจิตใจ ไปจนถึงโรคร้ายแรง โรคเรื้อรัง

โดยคุ้มครองค่าใช้จ่ายตามการวินิจฉัยของแพทย์ และประกาศหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งนี้ต้องไม่เป็นผู้ถือสิทธิอื่น เช่น สิทธิประกันสังคม สิทธิรัฐวิสาหกิจ หรือ สิทธิข้าราชการ

สิทธิประกันสังคม

ผู้สูงอายุต้องการเลือกคงสถานภาพสมาชิกประกันสังคมไว้ เพื่อยังคงสิทธิรักษาพยาบาล จะต้องยื่นสมัคร ประกันสังคมมาตรา 39 ต่อภายใน 6 เดือนนับจากวันที่ออกจากงาน 

ประกันสังคม จะคุ้มครองอาการเจ็บป่วยทั่วไป หรือเมื่อประสบอุบัติเหตุ ส่วนกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินเมื่อจำเป็นต้องเข้ารับการบริการในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ผู้ประกันตนสามารถสำรองจ่ายค่ารักษาไปก่อน แล้วจึงค่อยเบิกคืนกับทางประกันสังคมได้ในภายหลัง

อ่าน "ประกันสังคม" แจงชัดค่ารักษาทันตกรรม 900 บาทต่อปี ไม่ด้อยกว่ากองทุนสุขภาพอื่น

สิทธิประกันสังคม VS บัตรทอง

สำหรับผู้ที่วางแผนเกษียณ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) เปรียบเทียบ สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) และ "สิทธิประกันสังคม" ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง แล้วลองวางแผนว่าจะเลือกแบบไหนจึงได้ประโยชน์มากที่สุด

จากตารางเห็นได้ว่า สิทธิการรักษาพยาบาลตามสิทธิ "บัตรทอง" ก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าสิทธิรักษาพยาบาลตามสิทธิ "ประกันสังคม" อีกทั้งอายุการคุ้มครองของบัตรทองไม่มีวันหมดอายุ

หากเกษียณแล้วยังสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลจากประกันสังคมต่อได้ เพียงสมัครประกันสังคมมาตรา 39 เพื่อใช้สิทธิ ผู้ที่เกษียณจากการทำงาน ที่อยากใช้ สิทธิรักษาพยาบบาลประกันสังคม ด้วยการจ่ายสมทบตาม มาตรา 39 ยังคงสิทธิรักษาพยาบาล รวมถึงสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ของประกันสังคม ดังนี้ ทุพพลภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และเสียชีวิต

แต่จะได้รับเงินบำนาญชราภาพน้อยลง เพราะเมื่อลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน ทำให้เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน ที่จะนำมาคำนวณเงินบำนาญจะเหลือเพียง 4,800 บาท ส่งผลให้เงินบำนาญที่เราจะได้รับลดลง ในขณะที่เงินเดือนเฉลี่ยในการคำนวณเงินบำนาญของประกันสังคม ม.33 อยู่ที่ 15,000 บาท

มาถึงตรงนี้ อาจพอเป็นแนวทางให้ใช้ในการตัดสินใจในการเลือกสิทธิที่เหมาะสมกับชีวิต ให้เกษียณอย่างมีสุข แต่ดีที่สุดหากไม่เจ็บป่วยจะเป็นเรื่องที่ดีที่สุด 

อ่านข่าวอื่นๆ 

ไทยเข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว อุณหภูมิสูงสุด 44.5 องศา สิ้นสุดกลาง พ.ค.

สุโก้ยคาวาอี้! ญี่ปุ่นค้นพบ "เพรียงทะเล" ชนิดใหม่ของโลก

เปิดสักการะพระบรมสารีริกธาตุ-พระอรหันตธาตุ 24 ก.พ.-3 มี.ค.

"บำนาญชราภาพ" มนุษย์เงินเดือน ประกันสังคมส่งต่อหรือพอแค่นี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง