- ย้อนรอยเหตุร้าย “น้องนุ่น ชลลดา” ก่อนปิดคดีฆาตกรรมอำพราง
- ไทม์ไลน์คดี “น้องนุ่น” ถูกสามีฆาตกรรมอำพรางศพ
วันนี้ (21 ก.พ.2567) รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น กล่าวถึงจากกรณีกระแสข่าวที่สามีทำร้ายร่างกายภรรยาจนเสียชีวิต ในขณะที่มีลูกวัยขวบเศษอยู่ในเหตุการณ์ด้วย พฤติกรรมความรุนแรงในครอบครัวนี้จะส่งผลกระทบต่อเด็กมากน้อยแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเป็นการกระทำความรุนแรงซึ่งหน้าหรือไม่ ถ้าเด็กเห็นซึ่งหน้าจะส่งผลให้มีบาดแผลทางใจลุ่มลึก แต่ถ้าไม่ได้เห็นเหตุการณ์ เด็กอาจจะไม่รับ
รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น
6 เดือน - 3 ขวบ ช่วงพีคความวิตกกังวลพลัดพรากจากคนที่รัก
ส่วนระยะการจดจำระยะยาว หรือ remote memory คือความจำในวัยเด็ก หรือความจำในสิ่งที่ผ่านไปแล้วเป็นเวลาหลาย ๆ เดือน หลาย ๆ ปี และ recent memory คือ ความจำใหม่ เป็นความจำในสิ่งที่เกิดขึ้นในระยะใกล้ ๆ
ทั้งนี้จากธรรมชาติของมนุษย์ การกระทำอย่างต่อเนื่อง ทำเป็นกิจวัตร อาจจะจดจำไม่ได้ แต่ถ้าเป็นเหตุที่มีความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะกับคนที่รัก ถ้าในแง่ของความจดจำ เด็กที่อายุ 3 ขวบขึ้นไป จะสามารถจดจำเรื่องราวต่างๆ ได้ แต่ถ้าอายุน้อยกว่า 3 ขวบ จะขึ้นอยู่กับว่าเป็นเหตุการณ์ซึ่งหน้า และต่อเนื่อง
สำหรับพัฒนาการของเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือน - 3 ขวบ เป็นช่วงพีคที่จะมีความวิตกกังวลพลัดพรากจากคนที่รัก (Separation Anxiety) ที่กำลังต้องการความอบอุ่นจากผู้เป็นพ่อและแม่
ความรุนแรงนำไปสู่โรค PTSD
เด็กที่เคยประสบความรุนแรง อาจทำให้เกิด โรคเครียดภายหลังเผชิญเหตุการณ์รุนแรง หรือ PTSD (Post-traumatic stress disorder) ซึ่งเป็นภาวะหนึ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต หลังเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนต่อจิตใจอย่างรุนแรง หรือเผชิญเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บที่มีความเป็นอันตรายถึงชีวิต ความเครียดเหล่านี้ส่งผลต่อการใช้ชีวิต
แต่บาดแผลใจอยู่ที่ขั้นตอนหลังจากนี้ สิ่งที่ต้องทำคือหยุดยั้งความรุนแรงนั้นทันที ต้องอยู่ในเซฟการ์ด เซฟโซน ที่ได้รับความรักความอบอุ่น ความปลอดภัยที่ดี และอย่าพูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
และต้องเป็นกระบวนทางสหวิชาชีพ จะเข้ามาดูแล เยียวยา สังเกตปฏิกิริยา ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือตัวสะท้อนได้ว่าร่องรอยบาดแผลหนักหนาขนาดไหนและกำลังดีขึ้นหรือไม่ ถ้าทำได้ ภาวะ PTSD โดยทั่วไปสามารถหายได้ใน 1 เดือน โดยเฉพาะเด็กเล็กอาจจะหายได้เร็วขึ้น เนื่องจากภาพจำระยะยาวกำลังฟอร์ม
อ่านข่าว : ทำความเข้าใจภาวะ "PTSD" เฝ้าระวังหลังเผชิญเหตุการณ์รุนแรง
พื้นฐาน-ทุนชีวิต กับปฏิกิริยาใช้ความรุนแรง
เด็กทั่วไปขึ้นอยู่กับพื้นฐาน และทุนชีวิต ทักษะและจิตสำนึกทั้งต่อตัวเอง และสังคมที่อาศัยอยู่ อย่างเช่นครอบครัวที่มีความความอบอุ่น มีเซฟการ์ดที่ดี โรงเรียนไม่มีการบูลลี แม้เด็กจะเสพติดสื่อที่มีความรุนแรง ก็ไม่มีความจำเป็นลอกเลียนแบบพฤติกรรมรุนแรงนั้น เรียกว่าโลกเสมือนกับโลกความเป็นจริงไม่ได้เจอกัน
แต่ในทางกลับกัน ถ้าบ้านไม่เป็นบ้าน ลูกอยู่เดียวดาย พ่อแม่ไม่ได้อยู่ให้ปรึกษา โรงเรียนบูลลี เด็กจะแก้ปัญหาระบายความเครียดโดยการเล่นเกม เมื่อโลกเสมือนกับโลกเป็นจริงปะทะกัน และพื้นฐานของเด็กอ่อนไหว มีปมในตัวในระดับหนึ่งไม่มีทุนชีวิตเลย จะส่งผลให้มีปฏิกิริยาได้ 2 แบบ คือ
1. กลุ่ม Introvert ลักษณะของคนที่ชอบใช้เวลากับความคิดตัวเอง โลกส่วนตัวสูง ไม่สุงสิงสังสรรค์ อาจจะเกิดภาวะซึมเศร้า และนำไปสู่การจบชีวิตตัวเองได้
2. กลุ่ม Extrovert ลักษณะของคนที่มีความชอบ หรือสนใจโลกภายนอก เน้นออกไปพบเจอกับสถานการณ์ใหม่ ๆ พฤติกรรมดังกล่าวอาจจะนำไปสู่ความก้าวร้าว รุนแรง จนนำไปสู่การทำร้ายผู้อื่นได้
อ่านข่าว : เมื่อ "ผู้ร้าย" คือ "ชายที่รัก" คดีฆาตกรรมอำพราง "นุ่น ชลลดา"
"เป็นต้นแบบที่ดี" หัวใจสำคัญของพ่อ-แม่
รศ.นพ.สุริยเดว ยังกล่าวว่า หัวใจสำคัญของบุคคลที่เป็นพ่อ และ แม่ คือการเป็นต้นแบบที่ดีให้ลูก ซึ่งหลายคนชอบกล่าวหาว่าเด็กมีปัญหา อยากให้พ่อแม่ย้อนดูตัวเองถึงการแสดงออกพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้ลูกได้เห็นได้รับรู้หรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับฐานะ แต่เกี่ยวกับชีวิตจิตใจ
อยากให้เลี้ยงลูกอย่างมีทุนชีวิต ฝึกทักษะ รู้คิด จิตสำนึก ให้มาก่อนการเรียนเก่ง
นอกจากนี้ รศ.นพ.สุริยเดว มองว่าการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน อาจจะเป็นดาบ 2 คม สำหรับเด็กอาจจะได้รับรู้ข่าวดังกล่าวเมื่อตอนโต จะเป็นบาดแผลซ้ำอีกรอบที่ทำให้เด็กย้อนกลับมาจำความรุนแรงนั้นอีกรอบ
อ่านข่าวอื่นๆ :
จิตแพทย์ห่วงสภาพจิต "เด็ก" เครียดยาว แนะหยุดบูลลีในโรงเรียน
สามีรับฆ่า "น้องนุ่น" ภรรยา นำร่างเผาที่ปราจีนบุรี - คุมทำแผนวันนี้