ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

มองรักผ่าน “ลูกพญาแร้ง” รับวาเลนไทน์ “ป๊อก-มิ่ง” พ่อแม่มือใหม่

สิ่งแวดล้อม
14 ก.พ. 67
08:30
491
Logo Thai PBS
มองรักผ่าน “ลูกพญาแร้ง” รับวาเลนไทน์ “ป๊อก-มิ่ง” พ่อแม่มือใหม่
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
“แจ็ค” วชิรดล แผลงปัญญา หนึ่งในทีมวิจัยพญาแร้ง บอกเรื่องราวความรักของครอบครัว "พญาแร้ง" ป๊อก-มิ่ง-ลูกแร้ง อายุ 5 วัน รับวันวาเลนไทน์ ใจกลางป่าห้วยขาแข้งหลังที่เฝ้าดูมา 2 ปีเต็ม

2 ปีก่อน “ป๊อก” พญาแร้งตัวผู้ จากสวนสัตว์โคราช ถูกนำตัวมาฮันนีมูนกับ “มิ่ง” พญาแร้งตัวเมีย จากสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จนได้ลูกน้อยตัวแรกออกมาลืมตาดูโลกเมื่อ 9 ก.พ.2567

ผ่านมา 5 วันภาพที่ถูกบันทึกผ่านกล้องวงจรปิด พญาแร้ง พ่อแม่มือใหม่ถอดด้าม จากคำบอกเล่าของ “แจ็ค” วชิรดล แผลงปัญญา หนึ่งในทีมวิจัย ผู้ดูแลพญาแร้งจากสวนสัตว์นครราชสีมา สุดประทับใจ และเป็นครั้งแรกของโลกที่โครงการฟื้นฟูพญาแร้งของไทยถ่ายเปิดเผยภาพนี้ออกมา

น้ำลายจากปากพ่อ ที่สำรอกออกมาเพื่อให้ลูกกลืนลงคอ คืออาหารมื้อแรกของลูกพญาแร้ง
ป๊อก-มิ่ง พญาแร้งที่ให้กำเนิดลูกตัวแรก ในป่าห้วยขาแข้ง

"ป๊อก-มิ่ง" พญาแร้งที่ให้กำเนิดลูกตัวแรก ในป่าห้วยขาแข้ง

"ป๊อก-มิ่ง" พญาแร้งที่ให้กำเนิดลูกตัวแรก ในป่าห้วยขาแข้ง

แจ็ค บอกภาพประทับใจหลังจากทุ่มเททำงานกลางป่าห้วยขาแข้งมา 2 ปีเต็ม จากการเฝ้าดูพฤติกรรมครอบครัวพญาแร้งในช่วง 5 วันแรก ทำให้พบ รู้ว่าการเป็นพ่อแม่มือใหม่ของพญาแร้ง ค่อนข้างยากลำบากพอสมควร

ป๊อก ผู้พ่อมีหน้าที่ช่วยกกลูก ต้องคอยสำรอกอาหารเข้าปาก ก่อนจะคายออกมานับ 10 ครั้ง เพื่อหาชิ้นเนื้อเล็กที่สุดให้ลูกกิน ต้องยืนบังแดดใช้น้ำลายทำความสะอาดเช็ด และไซร้ขน ใช้จงอยปากครูดให้ลูก นำกิ่งไม้มาสานต่อป้องกันไม่ให้ลูกพลัดตก ถือเป็นภาพที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

อ่านข่าว เบื้องหลังความสำเร็จ "ลูกพญาแร้ง" ตัวแรกในป่าห้วยขาแข้ง

แจ็ค” วชิรดล แผลงปัญญา หนึ่งในทีมวิจัย ผู้ดูแลพญาแร้งจากสวนสัตว์นครราชสีมา

"แจ็ค” วชิรดล แผลงปัญญา หนึ่งในทีมวิจัย ผู้ดูแลพญาแร้งจากสวนสัตว์นครราชสีมา

"แจ็ค” วชิรดล แผลงปัญญา หนึ่งในทีมวิจัย ผู้ดูแลพญาแร้งจากสวนสัตว์นครราชสีมา

ครั้งแรกของโลกเก็บข้อมูลแบบเกาะติด

เขาบอกว่า เป็นครั้งแรกในโลกที่เก็บข้อมูลตรงนี้ ภาพประทับใจที่ได้ครั้งนี้ คือ ตนคือ 1 ในประชากร 77 ล้านคน ที่อยากตะโกนดังๆ ให้ผู้คนได้รับรู้ถึงความสำเร็จ ความภาคภูมิใจ ซึ่งเป็นความท้าทายของชีวิตที่ผ่านจุดนี้มาได้ และขอบคุณที่ได้รับเลือกมาทำหน้าที่ร่วมกับทีมงานทุกคน

ย้อนกลับไปเมื่อ 14 ก.พ.2565  "ป๊อก-มิ่ง" ถูกปล่อยให้อยู่ในป่าตามธรรมชาติ ภายในกรงฟื้นฟูขนาด 20x20x40 เมตร บริเวณซับฟ้าผ่า ใจกลางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง โดยมีทีมวิจัยสัตว์ป่าเกือบ 20 ชีวิตจาก 4 หน่วยงานคือองค์การสวนสัตว์ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช มูลนิธิสืบนาคะเสถียร และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ผลัดกันเฝ้าดูแลไม่ห่างผ่านกล้องวงจรปิดตลอด 24 ชั่วโมง

ถือเป็นการรอคอยอย่างมีความหวัง ที่จะเห็นลูกพญาแร้งตัวแรก ถือกำเนิด ท่ามกลางป่าบ้านเกิด หลังจากพวกมันเคยสูญพันธุ์ไปเมื่อ 30 ปีที่แล้ว

ตื้นตันจนน้ำตาแห่งความดีใจไหลออกมา ตอนที่เห็นเขากะเทาะเปลือกไข่ เมื่อเวลา 15.00 น.ของวันที่ 9 ก.พ.ที่ผ่านมา หลังเห็นเขาจับคู่ทำรังวางไข่มาเกือบ 2 ปี

แจ็ค เล่า พร้อมกับรอยยิ้มว่า เมื่อ 6 ปีก่อนเขาได้เริ่มดูแลพญาแร้งในกรงเลี้ยงของสวนสัตว์นครราชสีมา ตั้งแต่ปี 2561 ในโครงการฟื้นฟูประชากรพญาแร้ง ซึ่งเดิมมี 5 ตัว และได้รับจากสวนสัตว์พาต้าอีก 1 รวมเป็นพญาแร้ง 3 คู่

"พญาแร้ง" น่ารักเกินปุยมุ้ย

การเลี้ยงพญาแร้ง หรือสัตว์ป่าแม้ต้องดูแลเอาใจใส่ แต่จะไม่ให้เขาคุ้นกับคนเลี้ยง เพื่อให้เขารู้สึกว่าคนคือศัตรู และกลัวไม่อยากเข้าใจ ต้องเว้นระยะห่างในการเข้าใกล้ เพราะถ้าคุ้นชิน กับคนจะทำให้เกิดการอินปริ้น ลูกนกจะคิดว่าเราเป็นพ่อแม่เขา แต่ตัวโตจะคิดว่าเราเป็นคู่ของมันได้ จะไม่ให้เกิดความคุ้นเคยกับสัตว์ที่เราจะเพาะขยายพันธุ์ และนำกลับคืนสู่ธรรมชาติ

วิธีการดูแลเป็น 2 ช่วงคือ ในฤดูกับนอกฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งต้องดูแลทั้งอาหารการกิน การส่งเสริมพฤติกรรมพญาแร้งในรูปแบบต่างๆ การตรวจสุขภาพ เพื่อให้พญาแร้งมีความสมบูรณ์ รวมทั้งการดูแล ทั้งสภาพจิตใจไม่ให้เครียด 

หากถามความน่ารักของพญาแร้ง แจ็ค บอกว่า ความน่ารักของพญาแร้ง ช่วงในและนอกฤดูผสมพันธุ์ จะต่างกัน ช่วงนอกดูพญาแร้งตัวเมีย จะเป็นใหญ่ กินอาหารก่อน และมีตัวผู้มาระวังภัยให้ แต่ในช่วงผสมพันธุ์พญาแร้งตัวเมีย จะกินอาหาร และเหลืออาหารไว้ให้ตัวผู้

ส่วนตัวผู้ จะเรียกร้องความสนใจให้ทำรังให้สวย เพื่อดึงดูดตัวเมีย หากตัวเมียมองว่ารังสวย ก็จะมาช่วยกันสร้างรัง ระยะเวลาในการสร้างรัง 2 เดือน และจะตัดสินใจร่วมรังกัน พบว่าป๊อก-มิ่ง จับคู่และผสมพันธุ์กันทุกวันๆ และบางวันถึง 2 ครั้ง 

พ่อแม่มือใหม่ ช่วยดูแลลูกไม่ห่าง 

ส่วนในช่วงการวางไข่ จะแตกต่างกัน ที่สวนสัตว์โคราช เป็นพ่อแม่แร้งมืออาชีพ มีประสบการณ์ทำรัง การผลัดกันเข้าฟักไข่ชัดเจน ตัวผู้เข้า ตัวเมียออกผลัดกัน ส่วนที่ห้วยขาแข้ง เป็นพ่อแม่วัยใส ถ้าตัวผู้นอนอยู่ ตัวเมียก็จะไปกวนให้ตัวผู้ลุกออก

แจ็ค บอกว่า จนถึงช่วงสุดท้ายของการฟักไข่ พญาแร้งจะตรวจเช็กอุณหภูมิของไข่ด้วยการใช้นิ้วเท้า และระวังป้องกันไม่ไข่แตก เช่น การกลับและกลิ้งไข่จะนุ่มนวล หรือการนำกิ่งไม้มาถักสาน เพื่อป้องกันไข่ร่วงลงมา

72 ชั่วโมงก่อนที่ลูกพญาแร้งเจาะไข่ออกมา เฝ้ามาราธอน รู้สึกตอนไหน จะดูพฤติกรรมพญาแร้งว่าไข่เคลื่อนไหวหรือยัง เจาะเพิ่มมั้ย ไข่หันทิศทางไปทางไหน หรือมีสัตว์รบกวนหรือไม่

อ่านข่าว รอบ 30 ปี "ลูกพญาแร้ง" กะเทาะเปลือกไข่ลืมตาดูโลกป่าห้วยขาแข้ง

พ่อป๊อก ไซร้ขนให้ลูก

พ่อป๊อก ไซร้ขนให้ลูก

พ่อป๊อก ไซร้ขนให้ลูก

มันบอกไม่ถูกวินาที่เห็นลูกพญาแร้ง เพราะเป็นวันที่ตัวเองสูญเสียแม่ กำลังจะส่งแม่ แต่ก็ยังอยู่กับหน้าจอ ห่วงลูกทางนี้ ทำให้น้ำตามันไหลออกมาเองโทรหาทุกคนว่าเราทำกันได้แล้ว เป็นลูกพญาแร้งเกิดในถิ่นอาศัย และทุกสายที่คุยกับทีมจะร้อง 3-4 รอบดีใจจนบรรยายไม่ถูก

วันนี้ผ่านมา 5 วัน แจ็คบอกว่า ครอบครัวของป๊อก-มิ่ง ทำให้เข้าอิ่มเอมใจ ยอมรับว่าตอนที่พาพญาแร้งคู่นี้กลับเข้าป่า ห่วงทุกสิ่งที่ทำ แม้แต่อากาศร้อนที่สุด ฝนหนักที่สุด หนาวที่สุด หรือมีไฟป่าหรือไม่ เพราะเป็นปัจจัยที่ควบคุมยาก แต่เมื่อลูกพญาแร้งออกมาลืมตาได้ 5 วันยอมรับว่าวันนี้เหนือความคาดหมาย

เราอยู่ด้วยกันเห็นกันทุกวัน ถ้าไม่เห็นก็จะรู้สึกห่วง เราคิดว่าเขาคือส่วนหนึ่งในครอบครัว

อ่านข่าวอื่นๆ

รอบ 30 ปี "ลูกพญาแร้ง" กะเทาะเปลือกไข่ลืมตาดูโลกป่าห้วยขาแข้ง

สุดดีใจ! "มิ่ง พญาแร้ง" ออกไข่ใบแรกกลางป่าห้วยขาแข้ง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง