ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

โพล เผย คนกรุงส่วนใหญ่ มองควรใช้เลขสายรถเมล์เดิม

สังคม
11 ก.พ. 67
15:32
511
Logo Thai PBS
โพล เผย คนกรุงส่วนใหญ่ มองควรใช้เลขสายรถเมล์เดิม
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"นิด้าโพล" เผยผลสำรวจรถเมล์กรุงเทพฯ พบ 63 % เห็นควรใช้เลขสายรถเมล์แบบเดิมที่เคยเป็นมาในอดีต ส่วนการให้บริการ มองว่าไม่แย่ลงและไม่ดีขึ้น แค่พอยอมรับได้

วันนี้ (11 ก.พ.2567) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง "รถเมล์ชาวกรุง" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 5-7 ก.พ.2567 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น 1,310 ตัวอย่าง เกี่ยวกับการให้บริการรถเมล์ในกรุงเทพมหานคร

การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก ของ "นิด้าโพล" สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

แฟ้มภาพ

แฟ้มภาพ

แฟ้มภาพ

การใช้บริการรถเมล์ ในกรุงเทพฯ 

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการใช้บริการรถเมล์ในกรุงเทพมหานครในปีที่ผ่านมา พบว่า

- ตัวอย่าง ร้อยละ 45.95 ระบุว่า ไม่เคยใช้บริการเลย

- รองลงมา ร้อยละ 22.60 ระบุว่า ใช้บริการรถเมล์เป็นบางครั้ง

- ร้อยละ 21.83 ระบุว่า เคยใช้บริการ แต่ในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมาไม่ได้ใช้บริการเลย

- และร้อยละ 9.62 ระบุว่า ใช้บริการรถเมล์อยู่เป็นประจำ

การให้บริการของรถเมล์ ในกรุงเทพฯ

เมื่อถามตัวอย่างที่ระบุว่า ใช้บริการรถเมล์อยู่เป็นประจำ และใช้บริการรถเมล์เป็นบางครั้ง (จำนวน 422 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับการให้บริการของรถเมล์ในกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน พบว่า

- ตัวอย่าง ร้อยละ 38.15 ระบุว่า การให้บริการไม่แย่ลงและไม่ดีขึ้น แค่พอยอมรับได้

- รองลงมา ร้อยละ 24.41 ระบุว่า การให้บริการดีเหมือนเดิม

- ร้อยละ 22.51 ระบุว่า การให้บริการดีขึ้น

- ร้อยละ 10.43 ระบุว่า การให้บริการแย่เหมือนเดิม

- และร้อยละ 4.50 ระบุว่า การให้บริการแย่ลง

การปรับเลขสายรถเมล์ใหม่ 

เมื่อถามตัวอย่างที่ระบุว่า ใช้บริการรถเมล์อยู่เป็นประจำ ใช้บริการรถเมล์เป็นบางครั้ง และเคยใช้บริการ แต่ในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมาไม่ได้ใช้บริการเลย (จำนวน 708 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับการปรับเลขสายรถเมล์ใหม่ พบว่า

- ตัวอย่าง ร้อยละ 63.98 ระบุว่า ควรใช้เลขสายรถเมล์แบบเดิมที่เคยเป็นมาในอดีต เช่น สาย 150 เป็นต้น

- รองลงมา ร้อยละ 20.20 ระบุว่า เห็นด้วยกับเลขสายรถเมล์ใหม่ที่ไม่มีขีด แต่ยังคงวงเล็บเลขสายรถเมล์เดิม เช่น สาย 115 (150 เดิม)

- ร้อยละ 8.48 ระบุว่า เห็นด้วยกับเลขสายรถเมล์ใหม่ที่มีขีด เช่น สาย 1-15 และร้อยละ 7.34 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

แฟ้มภาพ

แฟ้มภาพ

แฟ้มภาพ

พฤติกรรมการขับขี่ของรถเมล์บนท้องถนน

เมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อพฤติกรรมการขับขี่ของรถเมล์บนท้องถนนในกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 36.18 ระบุว่า ส่วนใหญ่การขับขี่ไร้วินัยเหมือนเดิม

รองลงมา ร้อยละ 27.33 ระบุว่า ส่วนใหญ่การขับขี่มีวินัยดีเหมือนเดิม

ร้อยละ 23.05 ระบุว่า ส่วนใหญ่การขับขี่มีวินัยที่ดีขึ้น

ร้อยละ 9.55 ระบุว่า ส่วนใหญ่การขับขี่ไร้วินัยมากขึ้น

และร้อยละ 3.89 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

กลุ่มตัวอย่าง อายุ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างทั้งหมดมีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานคร

  • ตัวอย่าง ร้อยละ 45.95 เป็นเพศชาย
  • ร้อยละ 54.05 เป็นเพศหญิง
  • ตัวอย่าง ร้อยละ 15.11 อายุ 15-25 ปี
  • ร้อยละ 16.34 อายุ 26-35 ปี
  • ร้อยละ 18.24 อายุ 36-45 ปี
  • ร้อยละ 25.20 อายุ 46-59 ปี
  • และร้อยละ 25.11 อายุ 60 ปีขึ้นไป

นอกจากนี้ ตัวอย่าง ร้อยละ 94.20 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.05 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.75 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

กลุ่มตัวอย่าง สถานภาพ - การศึกษา 

  • ตัวอย่าง ร้อยละ 43.97 สถานภาพโสด
  • ร้อยละ 52.90 สมรส
  • และร้อยละ 3.13 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่
  • ตัวอย่าง ร้อยละ 11.83 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า
  • ร้อยละ 30.08 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า
  • ร้อยละ 7.78 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
  • ร้อยละ 40.08 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
  • และร้อยละ 10.23 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพ - รายได้เฉลี่ย

  • ตัวอย่าง ร้อยละ 6.79 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
  • ร้อยละ 28.25 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน
  • ร้อยละ 26.26 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ
  • ร้อยละ 0.38 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง
  • ร้อยละ 8.24 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน
  • ร้อยละ 22.45 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน
  • ร้อยละ 7.63 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

นอกจากนี้ 

  • ตัวอย่าง ร้อยละ 26.72 ไม่มีรายได้
  • ร้อยละ 5.42 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท
  • ร้อยละ 22.75 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท
  • ร้อยละ 14.12 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท
  • ร้อยละ 7.10 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท
  • ร้อยละ 9.62 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป
  • และร้อยละ 14.27 ไม่ระบุรายได้

อ่านข่าวอื่น ๆ

อิสราเอลพบโครงข่ายอุโมงค์ใต้สำนักงาน UN ในกาซา

เปิดโผผู้ท้าชิงตำแหน่ง "ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย" ในศึกเลือกตั้ง 14 ก.พ.นี้

"ชวากลาง" สนามเลือกตั้งสำคัญของอินโดนีเซีย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง