เมื่อวันที่ 2 ก.พ.2567 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดภาพ "โลมาปากยาว" โชว์ตัวบริเวณเกาะบอน ในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา โดย โลมาปากยาว หรือ Delphinus carpensis ssp. tropicalis เป็นชนิดย่อยของ common dolphin: D. carpensis พบได้ในมหาสมุทรอินเดียและมีการกระจายพันธุ์ถึงทะเลอันดามันของไทย
ที่มา : อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน - Mu Ko Similan National park
ที่มา : อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน - Mu Ko Similan National park
ที่มา : อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน - Mu Ko Similan National park
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "โลมาปากยาว"
สำหรับ "โลมาปากยาว" มี รูปร่างเพรียว โคนหางคอด ปากยาวแหลม ครีบข้างเรียวแหลม ถ้าจะงอยปากยาว 6.9-7.6% ของความยาวลำตัว เป็น D.c. capensis หากยาว 9.4-9.7% ของความยาวลำตัวเป็นชนิด D.c. tropicalis
ขนาดโตเต็มที่ยาว 2.6 ม. หนัก 235 กก. ลูกแรกเกิดยาว 0.8-1 ม. และหนัก 10 กก.
ส่วน "สี" ด้านหลังสีเทาเข้ม มีแถบสีขาวอมเหลืองตัดข้างลำตัวแบ่งสีชัดเจน โดยมีแนวสีเหลืองจางตัดเป็นเส้นโค้งจากหน้าผากไปที่กึ่งกลางลำตัว และอีกแนวโค้งจากกึ่งกลางลำตัวลงไปตรงโคนหาง ทำให้เห็นแถบดำข้างลำตัวเป็นรูปตัววีชัดเจนและด้านท้องสีจางมีแนวเข้มไขว้กันกลางลำตัวคล้ายนาฬิกาทราย มีแถบสีดำตัดจากใต้คางมาจรดโคนครีบข้าง
ส่วน ครีบหลัง สูง เว้า และมีสีดำ ตั้งอยู่ที่กลางหลัง วัยเจริญพันธุ์เพศผู้ยาว 2-2.5 ม. เพศเมียยาว 1.9-2.2 ม. หนัก 80-150 กก. ระยะตั้งท้องนาน 10-11 เดือน
"โลมาปากยาว" เป็นสัตว์สังคมชอบรวมฝูงตั้งแต่ 10 ตัว จนถึง 2,000 - 3,000 ตัว โดย อาหาร ส่วนใหญ่เป็นปลาและปลาหมึก
โลมาชนิดนี้อาศัยอยู่ใกล้ฝั่งในระยะห่างไม่เกิน 180 กม. พบในเขตร้อน ประเทศไทยพบเกยตื้นที่ จ.ชลบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และพังงา พบฝูงจำนวน 6 ตัวในธรรมชาติ โดยเรือ SEAFDEC บริเวณกลางอ่าวไทยนอกฝั่ง จ.ชุมพร เดือน เม.ย.2556
อ่านข่าวอื่น ๆ
เปิด 8 เมนูอาหารมงคล ต้องกินใน "วันตรุษจีน"
ผู้อพยพกว่า 100 คนหนีจากศูนย์กักตัวในมาเลเซีย 1 คนเสียชีวิตระหว่างหลบหนี