ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

“อินเดีย” ยกเว้นภาษีนำเข้าถั่วลันเตาสีเหลือง

เศรษฐกิจ
29 ม.ค. 67
12:13
376
Logo Thai PBS
“อินเดีย” ยกเว้นภาษีนำเข้าถั่วลันเตาสีเหลือง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
พาณิชย์ แจ้งข่าวดีผู้ส่งออกไทย อินเดียยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าถั่วลันเตาสีเหลือง มีผลบังคับใช้ถึง มี.ค.67 แนะต้องศึกษากฎระเบียบการนำเข้า ระวังคู่แข่งที่เพิ่มขึ้น

วันนี้ (29 ม.ค.2567) นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กล่าวว่า รัฐบาลอินเดียได้ออกมาตรการยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าถั่วลันเตาสีเหลือง ที่จะมีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 31 มี.ค. 2567 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือ Official Gazette (ประกาศ ณ วันที่ 8 ธ.ค. 2566) ซึ่งจะเป็นโอกาสในการส่งออกของไทยเข้าสู่ตลาดอินเดียมากขึ้น

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP)

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP)

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP)

โดยทูตพาณิชย์ได้รายงานข้อมูลว่า รัฐบาลอินเดียต้องการเข้าแทรกแซงราคาและปรับสมดุลราคาในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์จำพวกพืชตระกูลถั่ว เพราะอินเดียเป็นตลาดผู้บริโภคและผู้ผลิตรายใหญ่ของพืชตระกูลถั่ว แต่ผลผลิตไม่เพียงพอ ทำให้มีความต้องการนำเข้า

โดยสมาคมพ่อค้า Tamil Nadu Foodgrains ใช้โอกาส ยื่นเรื่องขยายเวลาการนำเข้าออกไปอีกจนถึงเดือนมิ.ย. เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด เพราะการยกเว้นภาษี มีระยะเวลาที่จำกัด การสั่งซื้อ การนำเข้า ระบบโลจิสติกส์ ในภาพรวมต้องใช้เวลานาน

ทั้งนี้ สมาคมดังกล่าว ยังได้ดำเนินการขออนุญาตยกเว้นภาษีนำเข้าถั่วจากออสเตรเลียเพิ่มเติม ซึ่งหากได้รับการอนุญาต โรงงานคัดแยก โรงงานสีถั่วในเขตเมืองเกรละ กรกนาฎกะ ทมิฬนาฑู จะสามารถแปรรูปผลผลิตถั่วได้ ส่งผลให้โรงงานกลับเข้าสู่ระบบปฏิบัติการได้อีกครั้ง

เพราะตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา โรงงานสีถั่วได้ปิดกิจการ เนื่องจากการจำกัดการนำเข้าของพืชตระกูลถั่ว ซึ่งการอนุญาตในครั้งนี้ จะส่งผลให้โรงสีกว่า 2,000 แห่งกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ส่งผลให้เกิดการจ้างงานมากกว่า 100,000 ตำแหน่ง

นายภูสิตกล่าวว่า สำหรับโอกาสของไทย พบว่า ตลาดถั่วลันเตาสีเหลืองในอินเดีย จะเป็นตลาดใหม่สำหรับผู้ส่งออกของไทย ที่จะสามารถจำหน่ายสินค้าโดยปราศจากภาษีอากรขาเข้า เพราะไทยมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน

จากการมีประสบการณ์ในการผลิตและส่งออกสินค้าพืชผลทางการเกษตรอยู่แล้ว แต่ก็ต้องระวังในเรื่องการแข่งขันที่จะสูงขึ้น จากการเลิกภาษีอาการ ที่ทำให้คู่แข่งอื่น ๆ สนใจตลาดนี้เช่นเดียวกันรวมทั้งจะมีความผันผวนด้านราคา ที่จะมีการแข่งขันกันมากขึ้น

อ่านข่าวอื่นๆ:

"พาณิชย์" บุกสหรัฐฯ ขายข้าว-อาหารไทย รายได้ 1,435 ล้านบาท

"วิกฤตทะเลแดง" สมรภูมิรบใหม่ตะวันออกกลาง สะเทือนการค้าไทย

เปิด 10 อาชีพในฝัน เด็ก Gen Z “วิศวกรไซเบอร์” ยืน 1

อย่างไรก็ตามภาพรวมการประกาศยกเว้นภาษีอากรของถั่วลันเตาสีเหลืองในครั้งนี้ จะเป็นการเพิ่มโอกาสและสร้างแต้มต่อทางการค้าและการขยายตลาดของผู้ประกอบไทยที่ส่งสินค้าเกี่ยวข้องกับถั่วลันเตาสีเหลือง ซึ่งเป็นสินค้าผู้เล่นตัวใหม่สำหรับตลาดคนรักสุขภาพในวงการตลาดน้ำนมพืช ด้วยค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ทำให้เหมาะกับการบริโภค ขอผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก 

โดยผู้ประกอบไทยควรศึกษาและปฏิบัติตามกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อการนำเข้า การติดฉลาก และมาตรฐานที่จำเป็นในการส่งออกสู่ตลาดอินเดียก่อนที่จะทำการส่งออกด้วย

ปัจจุบัน ตลาดอินเดียบริโภคถั่วลันเตาสีเหลือง ประมาณ 1.5 ล้านตันต่อปี สามารถผลิตได้เพียง 500,000–600,000 ตันต่อปี ส่งผลให้อินเดียต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าถั่วลันเตาสีเหลือง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการภายในประเทศ โดยประเทศที่อินเดียนำเข้า 3 อันดับแรก ได้แก่ แคนาดา รัสเซีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในขณะที่ประเทศไทย ตลาดส่งออกถั่วลันเตาสีเหลืองยังมีผู้เล่นไม่มากนัก ในปี 2565
สำหรับการส่งออกสินค้าถั่วลันเตาสีเหลือง มูลค่า 23,977.40 เหรียญสหรัฐ และในปี 2566 (ม.ค.-ต.ค.) ส่งออกมูลค่า 81,837.74 เหรียญสหรัฐ ซึ่งมีประเทศส่งออกสำคัญตามส่วนแบ่งตลาดได้แก่ ญี่ปุ่น ร้อยละ 50.51 ฮ่องกง ร้อยละ 31.75 สิงคโปร์ ร้อยละ 15.94 และมาเลเซีย ร้อยละ 1.80

อ่านข่าวอื่นๆ:

ยอด "ข้าราชการ" สมัครใจรับเงินเดือน 2 ครั้งไม่ถึง 10%

"การวางจุดยืนของไทยสำคัญที่สุด" เปิดใจ "ปานปรีย์ พหิทธานุกร" เจ้ากระทรวงบัวแก้ว

อธิบดีกรมการข้าว พบ ป.ป.ป. ให้ปากคำ-ส่งหลักฐาน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง