ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ชาวบ้านระบุรัฐบาล “มัดมือชก” โครงการแลนด์บริดจ์ ครม.สัญจรตั้งธงเดินหน้า

การเมือง
22 ม.ค. 67
11:31
676
Logo Thai PBS
ชาวบ้านระบุรัฐบาล “มัดมือชก” โครงการแลนด์บริดจ์ ครม.สัญจรตั้งธงเดินหน้า
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นายกฯ ลงพื้นที่ระนองติดตามโครงการแลนด์บริดจ์หลังเดินสายโรดโชว์ ด้านเครือข่ายประชาชนผู้คัดค้านเตรียมพบนายกฯ ขอให้ยกเลิกโครงการนี้

วันนี้ (22 ม.ค.2567) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี มีกำหนดการเดินทางไปตรวจราชการจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน และประชุม ครม.นอกสถานที่อย่างเป็นทางการที่ จ.ระนอง ระหว่างวันที่ 22-23 ม.ค.นี้ ซึ่งนายกฯ จะเดินทางไปพื้นที่โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทย-อันดามัน (โครงการแลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง) ซึ่งถือเป็นการลงพื้นที่โครงการแลนด์บริดจ์ครั้งแรกหลังจากนายกฯ เดินสายโรดโชว์ในหลายประเทศก่อนหน้านี้

อ่านข่าว : ชง ครม.สัญจร-ระนอง อนุมัติ 21 โครงการ หนุนเศรษฐกิจ-คุณภาพชีวิต-พัฒนาท่องเที่ยวภาคใต้

ขณะเดียวกันเครือข่ายภาคประชาชนนำป้ายผ้าขนาดใหญ่ เขียนข้อความคัดค้านโครงการแลนด์บริดจ์ ไปติดตั้งบริเวณภูเขาหญ้า แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของ จ.ระนอง เป็นกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ เพื่อสื่อสารไปยังคณะรัฐมนตรีที่จะเดินทางมาประชุม ครม.สัญจรที่ จ.ระนอง

อ่านข่าว : นายกฯ นัดถก ครม.สัญจร "ระนอง" 22-23 ม.ค.นี้

เครือข่ายรักษ์พะโต๊ะ กล่าวว่า หากโครงการแลนด์บริดจ์เกิดขึ้นจริงจะส่งผลกระทบหลายด้าน ทั้งด้านสภาพแวดล้อมต่อผืนป่าต้นน้ำ ระบบนิเวศชายฝั่งทะเลที่เปลี่ยนแปลงไป จากการถมทะเลเพื่อทำท่าเรือน้ำลึกทั้งในฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน เนื้อที่กว่า 10,000 ไร่ และจะส่งผลโดยตรงต่อการประกอบอาชีพประมง ทั้งชาวประมงพื้นบ้านและประมงพานิชย์กว่า 6,000 ลำ รวมถึงเส้นทางแลนด์บริดจ์ที่พาดผ่านพื้นที่ อ.พะโต๊ะ เกือบ 40 กิโลเมตร จะส่งผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยและอาชีพเกษตร โดยเฉพาะการทำสวนทุเรียนและการทำสวนผลไม้ซึ่งมีรายได้มั่นคงอยู่แล้ว

ส่วนเวทีเสวนาวิพากษ์โครงการแลนด์บริดจ์ ภาคประชาชนให้น้ำหนักการวิพากษ์ไปที่รายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมองว่า กรรมาธิการและรัฐบาลไม่ได้ตั้งใจที่จะรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่อย่างจริงใจ เนื่องจากมีประชาชนออกมาคัดค้านเป็นจำนวนมาก แต่กลับสรุปว่าประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วย จึงเป็นรายงานที่ขาดความรอบด้าน มีการตั้งธงที่จะผลักดันเดินหน้าโครงการ จึงเตรียมเดินทางไปพบนายกฯ ที่มาประชุม ครม.นอกสถานที่ใน จ.ระนอง เพื่อขอให้ยกเลิกโครงการนี้

อ่านข่าว : “เครือข่ายพะโต๊ะ” ขอพบ “เศรษฐา” ถกปัญหา “โครงการแลนด์บริดจ์”

สำหรับกำหนดการของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในวันนี้ (22 ม.ค.) จะเดินทางถึง จ.ระนอง ในช่วงสาย จากนั้นจะเดินทางไปท่าเรือระนอง ติดตามประเด็นการค้าชายแดน ประเด็นแรงงานข้ามชาติ รวมถึงการพบปะกับตัวแทนชาวประมงพานิชย์เพื่อแก้ปัญหา IUU

ส่วนช่วงบ่าย จะเดินทางไปที่อุทยานแห่งชาติแหลมสน ติดตามโครงการแลนด์บริดจ์ ซึ่งเป็นเมกกะโปรเจกต์ที่ใช้เงินลงทุนสูงกว่า 1 ล้านล้านบาท โดยจะเป็นจุดที่เครือข่ายภาคประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจะเข้าพบนายกฯ เพื่อขอให้ยกเลิกโครงการนี้ หลังทำกิจกรรมคัดค้านมาอย่างต่อเนื่อง

อ่านข่าว : “โครงการแลนด์บริดชุมพร-ระนอง” กับความกังวลของคนในท้องถิ่น

ทั้งนี้ การลงพื้นที่ติดตามการก่อสร้างโครงการแลนด์บริดจ์ของนายกฯ ในครั้งนี้ จะติดตามทั้งเรื่องการผลักดันให้แลนด์บริดจ์เป็นประตูการค้า รองรับการนำเข้า-ส่งออกของไทย, การถ่ายลำเรือสินค้า โดยพัฒนาให้แลนด์บริดจ์เป็นทางเลือกในการถ่ายลำการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยเชื่อมต่อทางรางและทางถนน

การพัฒนาอุตสาหกรรมหลังท่า โดยมีการตั้งเขตพื้นที่เศรษฐกิจเสรีดึงดูดนักลงทุน เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมหลังท่าเรือระนองและท่าเรือชุมพร เพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้ และการรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชนและการทำความเข้าใจกับคนในพื้นที่ รวมทั้งขั้นตอนการดำเนินงานทางกฎหมาย และแผนงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เช่น การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม(EIA) และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) เป็นต้น

โครงการแลนด์บริดจ์ เป็นสะพานเศรษฐกิจภาคใต้ที่เชื่อมต่อระหว่าง 2 ท่าเรือน้ำลึกฝั่งอ่าวไทยและอันดามันเข้าด้วยกันระหว่าง จ.ชุมพร และ จ.ระนอง โดยแลนด์บริดจ์ต้องสร้างการคมนาคม 4 ส่วนหลักๆ คือ

1. การพัฒนาท่าเรือน้ำลึก 2 ฝั่ง แหลมอ่าวอ่าง อันดามัน จ.ระนอง และแหลมริ่ว อ่าวไทย จ.ชุมพร ให้เป็นท่าเรือที่ทันสมัย Smartport ควบคุมด้วยระบบออโตเมชันความลึก 15 เมตร แบ่งการก่อสร้างเป็น 4 เฟส เฟสแรกใช้งบฯ 500,000 ล้านบาท เปิดประมูลปี 2568 คาดแล้วเสร็จปี 2573
2. การพัฒนาทางหลวงมอเตอร์เวย์ 6 เลน เชื่อมระหว่าง จ.ระนอง และ จ.ชุมพร ระยะทาง 90 กม.
3. การพัฒนารถไฟทางคู่สายใหม่เชื่อมระหว่าง จ.ระนอง และ จ.ชุมพร
4. สร้างการขนส่งแบบ Pipeline หรือการขนส่งโดยใช้ระบบท่อ

โครงการนี้เสมือน "เรือธง" ของรัฐบาลในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีวงเงินลงทุนสูงถึง 1 ล้านล้านบาท ครอบคลุมระยะเวลาการก่อสร้าง 5 ปี คือตั้งแต่ปี 2568-2573 รูปแบบการดำเนินโครงการจะเป็นการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือ PPP โดยให้ภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนโครงการทั้งโครงการในลักษณะท่าเรือเดียวเชื่อม 2 ฝั่ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“โครงการแลนด์บริดจ์” ประเด็นร้อนรัฐบาล “เศรษฐา” ขายตรง “เวิลด์ อีโคโนมิคฟอรั่ม”

ประมงพื้นบ้าน-เกษตรกร กังวลผลกระทบสิ่งแวดล้อมจาก "โครงการแลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง