ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

วัยรุ่นไทย 13-17 ปี "ปัญหาสุขภาพจิตสูง" เคยคิดทำร้ายตัวเอง

สังคม
19 ม.ค. 67
13:28
4,015
Logo Thai PBS
วัยรุ่นไทย 13-17 ปี "ปัญหาสุขภาพจิตสูง" เคยคิดทำร้ายตัวเอง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
รมว.สธ. เผยสถานการณ์สุขภาพจิตเด็ก-วัยรุ่นไทย แนวโน้มเพิ่มขึ้น หลังพบวัยรุ่นร้อยละ 17.6 เคยมีความคิดทำร้ายตัวเอง เร่งสร้างเครือข่าย “ครูแคร์ใจ” นำร่องรุ่นที่ 1 ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ก่อนขยายผลทั่วประเทศ

วันนี้ (19 ม.ค.2567) นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข เปิดการอบรมพัฒนายกระดับศักยภาพครูเพื่อการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น และกล่าวว่า สถานการณ์ปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและวัยรุ่นไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะปัญหาด้านพฤติกรรม อารมณ์ และสังคม ที่นำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในระยะยาว

โดยข้อมูลกรมสุขภาพจิตในปี 2565 พบว่า วัยรุ่นอายุ 10-19 ปี ประมาณ 1 ใน 7 คน และเด็กอายุ 5-9 ปี ประมาณ 1 ใน 14 คน มีความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์ โดยวัยรุ่นอายุ 13-17 ปี ร้อยละ 17.6 เคยมีความคิดทำร้ายตนเอง ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 ของวัยรุ่น นอกจากนี้ ยังพบปัญหา การกลั่นแกล้งรังแกกัน ปัญหาความรุนแรง การถูกทอดทิ้ง หรือการถูกทารุณกรรม ที่ส่งผลให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิตมากขึ้น

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : บุกรวบ Sex Creator ลวงเด็ก 16 ปีถ่ายคลิปอนาจาร

ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ปี 2561-2580 ว่าด้วยการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนในทุกมิติและทุกช่วงวัย ให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพพร้อมทั้งกาย ใจ และสติปัญญา ซึ่งในกลุ่มเด็กและวัยรุ่นเป็นวัยกำลังศึกษาเล่าเรียน เวลาส่วนใหญ่ของเด็กวัยนี้จะอยู่ในสถานศึกษา ครูจึงเป็นผู้ที่บทบาทอย่างมากในการชี้นำ ให้คำปรึกษา 

กรมสุขภาพจิต จึงร่วมกับ สสส. และกระทรวงศึกษาธิการ จัดโครงการ “อบรมพัฒนาและยกระดับศักยภาพครู” หรือ “ครูแคร์ใจ” โดย ทักษะสำคัญคือ การฟัง Deep Listening การป้องกันความรุนแรงและการกลั่นแกล้งรังแกกันในโรงเรียน การคัดกรองความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งจะมีการนำร่องรุ่นที่ 1 ในสถานศึกษาในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จากนั้นจะขยายผลทั่วประเทศต่อไป

นพ. จุมภฏ พรมสีดา รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ที่ผ่านมา กรมสุขภาพจิต ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ พัฒนาระบบดูแลสุขภาพจิตนักเรียน ผ่านแอปพลิเคชัน School Health Hero ซึ่งมีการเฝ้าระวังปัญหาทางด้านสุขภาพจิตนักเรียน หากพบความเสี่ยง คุณครูสามารถปรึกษาบุคลากรทางแอปพลิเคชันได้ทันที โดยในปีการศึกษา 2565 มีนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงได้รับการช่วยเหลือจนดีขึ้น ถึงร้อยละ 73 นอกจากการพัฒนาระบบเฝ้าระวังแล้ว ยังมีการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาไปแล้วกว่า 6,900 คน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : "กัน จอมพลัง" นำเยาวชนหญิงแจ้งความ ตร. อ้างถูกกลุ่ม "ตังค์ไม่ออก" ล่วงละเมิดทางเพศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง