ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

“แก้สารพิษ” แม่น้ำกก-สาย มลพิษข้ามพรมแดน ผ่านมุมมอง “กฎหมาย-ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ”

สิ่งแวดล้อม
22 เม.ย. 68
10:18
107
Logo Thai PBS
“แก้สารพิษ” แม่น้ำกก-สาย มลพิษข้ามพรมแดน ผ่านมุมมอง “กฎหมาย-ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ”
อ่านให้ฟัง
13:56อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ปัญหาสารพิษในแม่น้ำกก-แม่น้ำสาย ที่กระทบพื้นที่ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ และ จ.เชียงราย กลายเป็นปัญหามลพิษข้ามพรมแดน อาจมาจากต้นแม่น้ำ ในเขตรัฐฉาน ประเทศเมียนมา กลายเป็นคำถามใหญ่ ทางออกนี้จะแก้อย่างไร? เมื่อโจทย์ไม่ใช่จังหวัดหรือท้องถิ่น

ไทยพีบีเอส ศูนย์ข่าวภาคเหนือ สัมภาษณ์พิเศษ นักวิชาการด้านกฎหมายระหว่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีข้อเสนอและมุมมองทางออก “มลพิษข้ามพรมแดนแม่น้ำกก-สาย”

ดร.ศิรดา เขมานิฏฐาไท อาจารย์ประจำสำนักวิชาการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงกรณีพบสารพิษที่ปะปนในแม่น้ำกก-สาย ถูกตั้งคำถามถึงสาเหตุว่า เกิดจากทำการเกษตรหรือเกิดจากปรับเปลี่ยนภูมิประเทศจากการทำเหมืองแร่หรือไม่ กระทั่งส่งผลกระทบข้ามพรมแดนมาถึงประเทศไทย

ที่ผ่านมาบทบาทของภาคประชาชน มีการเคลื่อนไหวมาโดยตลอด แต่ไม่ค่อยได้รับความสนใจจากรัฐบาลไทยเท่าไหร่นัก เมื่อมีเหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่แม่สาย และ อ.เมือง จ.เชียงราย ทำให้ต้องค้นหาสาเหตุน้ำท่วม ครั้งที่ใหญ่ที่สุดในรอบหลายสิบปี

ความขัดแย้งการเมืองทับซ้อน-การแก้ปัญหาต้นน้ำกก-สาย

ดร.ศิรดา กล่าวว่า ในพื้นที่รัฐฉานทางตอนใต้ บริเวณต้นแม่น้ำสาย-แม่น้ำกก ถ้าการแก้ปัญหามองในมุมมองระหว่างประเทศ “ตัวแสดงทางการเมือง” บริเวณพื้นที่ คาดว่ามีเมืองแร่ที่ภาคเอกชนจากประเทศจีน เข้ามาลงทุนบริเวณรัฐฉานตอนใต้ ไม่ว่าจะเป็นเมืองแร่หรือพื้นที่เขตอุตสาหกรรมพิเศษ หรืออุตสาหกรรมบันเทิงมีความเกี่ยวข้องกับทุนจีน

ซึ่งทับซ้อนไปกับอำนาจทางการเมือง ที่มีการแก่งแย่งชิงพื้นที่ บริเวณรัฐฉานทางตอนใต้ ซึ่งมีหลายกองกำลังชาติพันธุ์ ที่ต้องการครองพื้นที่บริเวณต้นน้ำกก-สาย รวมถึงกองทัพทหารเมียนมา ด้วย
กองทัพเมียนมาอาจมีการใช้อำนาจ ผ่านกองกำลังบางส่วน หรือผ่านตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ด้วย ซึ่งพื้นที่ใกล้กับชายแดนไทย จึงมีความทับซ้อนของอำนาจ ในหลายตัวแสดงทางการเมือง เมื่อมาทับตัวแสดงอย่างกลุ่มทุนจีน ทำให้การแก้ปัญหายากขึ้น และมีความซับซ้อนมากขึ้นไปอีก

ดร.ศิรดา เขมานิฏฐาไท อาจารย์ประจำสำนักวิชาการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ดร.ศิรดา เขมานิฏฐาไท อาจารย์ประจำสำนักวิชาการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ดร.ศิรดา เขมานิฏฐาไท อาจารย์ประจำสำนักวิชาการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การแก้ปัญหากลุ่มทุนจีนและกลุ่มกองกำลังว้า

ดร.ศิรดา ระบุถึงแนวทางการแก้ปัญหาเหมืองแร่ ต้นแม่น้ำกก-แม่น้ำสาย ว่า ที่ผ่านมารัฐบาลมีการลงพื้นที่ของรองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง และนายกรัฐมนตรี มีความพยายามเจรจากับทางการเมียนมา ภายใต้กรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง รัฐไทยหรือรัฐบาล และหน่วยงานต่าง ๆ ยังยึดอยู่แนวทางเจรจารัฐต่อรัฐ

ในขณะที่การติดต่อทางการทูต ในพื้นที่รัฐฉานอาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาสารพิษข้ามพรมแดนที่มาจากเมียนมาได้อย่างเพียงพอ เพราะปัญหาการเมืองภายในทางการเมียนมามีมาโดยตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา

การแก้ปัญหายึดทางการระหว่างรัฐต่อรัฐ ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาได้ เพราะตัวอำนาจกลางของเมียนมา ไม่สามารถเข้าไปจัดการพื้นที่ ที่เป็นพื้นที่ปกครองของกองกำลังสหรัฐว้าได้ ทำให้การแก้ปัญหาบริเวณต้นน้ำยากขึ้นอีก หากพื้นที่เหมืองแร่ อยู่ภายใต้การปกครองของว้า

ซึ่งในทางการเมืองกลุ่มชาติพันธุ์ว้า ก็มีความพยายามสร้างเขตปกครองตนเอง ซึ่งบริเวณรัฐฉานตอนเหนือ กองกำลังว้าสามารถทำได้อย่างชัดเจน แต่ทางตอนใต้ของรัฐฉาน อยู่ระหว่างการต่อสู้และการขยายพื้นที่ เพื่อแข่งขันเอาชนะกลุ่มกองกำลังอื่น ๆ รวมถึงกองทัพพม่าด้วย

ส่วนพื้นที่บริเวณรัฐฉานทางตอนใต้กองทัพทหารเมียนมาก็ไม่สามารถเข้าพื้นที่ไปได้ หรือสั่งการได้โดยตรง ซึ่งเป็นการทับซ้อนของปัญหาที่ประเทศไทยต้องเผชิญ จะต้องออกแบบวิธีการเจรจาระหว่างประเทศ

อย่างไรก็ตามการเจรจาในระดับทางการรัฐต่อรัฐถือ หรือในเจรจาระดับชายแดนพื้นที่ ซึ่งก็ทำให้รัฐไทยขยับลำบากไม่ต่างกัน

ดร.ศิรดากล่าวว่า มีรูปแบบการติดต่อระหว่างรัฐอื่น ๆ ที่ไม่เป็นทางการอาจจะไม่เพียงพอ การจัดการหรือการติดต่อแบบไม่เป็นทางการ หรือทำงานหลังบ้านเยอะๆ ก็เป็นส่วนสำคัญ
การติดต่อไม่เป็นทางการ มีความสัมพันธ์ข้ามพรมแดน มีความสัมพันธ์กับตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐมีอยู่แล้ว ในทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

หรือกับกองกำลังชาติพันธุ์ต่าง ๆ แต่ในระดับทางการ ยึดหลักการทูตระหว่างรัฐต่อรัฐ ทำให้ขยับลำบากในการสั่งการ หรือต้องใช้แค่หลังบ้านเท่านั้น ทำให้การดำเนินนโยบายอาจติดขัด ตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าประเทศไทย จะวางเรื่องความสัมพันธ์หลายหลายชั้นอย่างอย่างไรในระดับต่าง ๆ

เหมืองแร่บ้านแม่โจ๊ก รัฐฉาน ประเทศเมียนมา ตรงข้ามกับ บ้านม้งเก้าหลัง ต.เทอดไทย อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ที่ระบุว่า มีกลุ่มทุนจีนทำเหมืองแร่ทองคำ บริเวณสาขาแม่น้ำสาย

เหมืองแร่บ้านแม่โจ๊ก รัฐฉาน ประเทศเมียนมา ตรงข้ามกับ บ้านม้งเก้าหลัง ต.เทอดไทย อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ที่ระบุว่า มีกลุ่มทุนจีนทำเหมืองแร่ทองคำ บริเวณสาขาแม่น้ำสาย

เหมืองแร่บ้านแม่โจ๊ก รัฐฉาน ประเทศเมียนมา ตรงข้ามกับ บ้านม้งเก้าหลัง ต.เทอดไทย อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ที่ระบุว่า มีกลุ่มทุนจีนทำเหมืองแร่ทองคำ บริเวณสาขาแม่น้ำสาย

เหมืองแร่ทุนจีน มีการเจรจาการจีนได้หรือไม่

ดร.ศิรดา ระบุว่า ปัญหาเหมืองแร่หรือสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้านหรือในประเทศอื่น ในทางการทูตประเทศไทยอาจไม่กล้าขยับสักเท่าไหร่

ถ้าประเด็นนี้มีการตั้งต้นประเทศไทยได้รับผลกระทบโดยตรง ในเรื่องของอุทกภัยหรือสารเคมีสามารถโยงได้ว่าเป็นเรื่องภัยพิบัติจากธรรมชาติหรือมลพิษ ข้ามพรมแดน ซึ่งสามารถทำให้เป็นประเด็นทางการเมืองน้อยลงได้ แต่ก็ไม่มั่นใจว่า รัฐบาลไทยตีประเด็นนี้ เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนส่วนเสียจะไปขอเจรจาได้มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่ที่ทางรัฐไทยหรือรัฐบาลด้วยว่า จะตีความประเด็นเรื่องนี้อย่างไร

ถ้ามองเป็นเรื่องของทุนจีน รัฐบาลจีนจะสนใจประเด็นที่คนจีน ได้รับผลกระทบ หรือประเทศจีนได้รับผลกระทบ กรณีตัวอย่างสแกมเมอร์ หรือว่าอาชญากรรมออนไลน์ ที่ อแม่สอด จ.ตาก ที่ทำให้คนในประเทศจีนได้รับผลกระทบ ทำให้รัฐบาลจีนขอความร่วมมือ ตัวแสดงที่ทั้งเป็นรัฐหรือว่าเป็นกองกำลัง ในการจัดการอาชญากรรมออนไลน์เหล่านั้นและการส่งกลับไปจีน

แต่กรณีทุนจีนที่ไปพัฒนาเหมืองแร่ บริเวณรัฐฉานตอนใต้ ก็ยังไม่มั่นใจว่า ทางรัฐบาลจีนจะมองกลุ่มนี้เป็นภัยคุกคามต่อจีนหรือไม่ หากมองจีนก็จะเข้ามาหาความร่วมมือ หรือแทรกแซงเข้ามาได้หรือไม่ได้ อย่างไร

แต่ถ้ามองว่า เป็นภัยต่อจีน ในส่วนประเทศไทย อาจจะสามารถสร้างอำนาจต่อรองได้แค่ไหน ในการใช้กรอบเจรจาต่าง ๆ ทั้งทวิภาคีหรือว่าพหุภาคี เช่น กรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง ดันเป็นวาระสำคัญได้หรือไม่

ด้าน อ.อริสรา เหล็กคำ รองคณบดี สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้อธิบายกรอบความร่วมมือที่รัฐไทยสามารถทำได้ ในการแก้ปัญหามลพิษแม่น้ำกก-สาย

แม่น้ำสายมีต้นกำเนิดจากประเทศเมียนมา ไหลผ่านประเทศไทย อ.แม่สาย จ.เชียงราย เป็นแม่น้ำระหว่างประเทศที่ผ่านมามีกลไกสำคัญ คือ คณะกรรมการร่วมไทย-เมียนมาเกี่ยวกับเขตแดนคงที่ช่วงแม่น้ำสาย-แม่น้ำรวก หรือ JRC ด้าน อ.แม่สาย -เชียงแสน จ.เชียงราย

ส่วนแม่น้ำกกไม่มีกรอบของความร่วมมือที่พูดถึงเรื่องการแบ่งเขตแดน เพราะเป็นแม่น้ำที่ไหลตรงจากเมียนมา ผ่านประเทศไทย ที่ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่

อ.อริสรา เหล็กคำ รองคณบดี สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

อ.อริสรา เหล็กคำ รองคณบดี สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

อ.อริสรา เหล็กคำ รองคณบดี สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

อ.อริสรา ระบุว่า ในรายละเอียดของกรอบของข้อตกลง ได้พูดถึงเส้นเขตแดนแม่น้ำสาย-แม่น้ำรวก เน้นเรื่องการจัดการน้ำร่วมกัน โดยจัดตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งขึ้นมา มุ่งพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ โดยใช้เป็นกลไกท้องถิ่น ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย หรือรองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานฝ่ายไทย กับผู้ว่าราชการจังหวัดท่าขี้เหล็กเป็นประธานฝ่ายเมียนมา

การดำเนินการต่าง ๆ จะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกัน การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนร่วมกัน อย่างไรก็ตาม หลังมีการจัดตั้งคณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมา จะมีการประชุมเฉพาะเหตุการณ์สำคัญ เช่น กรณีเหตุการณ์น้ำท่วมอาจจะมีการเจรจาเรื่องของการจัดการร่วมกัน หรือกรณีน้ำแล้งจะมีการก่อสร้างฝายชั่วคราวได้หรือไม่

แม่น้ำสายบริเวณบ้านปงถุน เมืองท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ก่อนจะไหลเข้า อ.แม่สาย จ.เชียงราย เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทย-เมียนมา

แม่น้ำสายบริเวณบ้านปงถุน เมืองท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ก่อนจะไหลเข้า อ.แม่สาย จ.เชียงราย เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทย-เมียนมา

แม่น้ำสายบริเวณบ้านปงถุน เมืองท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ก่อนจะไหลเข้า อ.แม่สาย จ.เชียงราย เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทย-เมียนมา

กรณีน้ำท่วมใหญ่ปี 2567 คณะกรรมการชุดนี้ ได้ถูกพูดถึงอีกรอบ โดยเฉพาะการจัดการขุดลอกในแม่น้ำแม่น้ำสาย-แม่น้ำรวก และการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำลำน้ำ

กรณีสารปนเปื้อนไม่เคยถูกนำมาเสนอเป็นประเด็นปรากฎในที่ประชุมเผยแพร่ หรือเพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ คณะทำงานชุดนี้จึงไม่มีการพูดถึง

ทางออกด้านกฎหมาย-ความร่วมมือแก้ปัญหาสารพิษในแม่น้ำกก

ส่วนกรณีแม่น้ำกก ไม่มีความร่วมมือลักษณะนี้เกี่ยวกับแม่น้ำ อ.อริสรา กล่าวว่า แม่น้ำกกเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำโขง มีความตกลงเรื่องแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน แต่มีข้อจำกัด ประเทศสมาชิกปัจจุบันเพียง 4 ประเทศคือ ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม

ส่วนประเทศเมียนมา ที่ต้นแม่น้ำกกไม่ได้อยู่ในความตกลงนี้ ซึ่งทางสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช. ได้ทำจดหมายผ่าน เอ็มอาร์ซี ผ่านไปยังกระทรวงสิ่งแวดล้อมของทางการเมียนมา เพื่อให้รัฐบาลเมียนมาพิจารณาเรื่องสารปนเปื้อนนี้ซึ่งก็ได้ดำเนินการไปแล้ว

การส่งจดหมาย เป็นเพียงแค่ขอความร่วมมือ ยังไม่ได้เห็นท่าทีการเจรจา ซึ่งอาจใช้กลไก ล้านช้าง-แม่โขง ที่มีประเทศจีน เมียนมาอยู่แล้ว กับประเทศลุ่มน้ำโขง ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม การเจรจาหรือตกลงบางอย่างร่วมกัน อาจจะเริ่มจากการตรวจแม่น้ำกก และติดตามต้นน้ำถึงปลายน้ำ ถึงการปนเปื้อนสารพิษมากน้อยแค่ไหนเพื่อประโยชน์ของประชาชนที่อยู่ลุ่มน้ำ

ส่วนจะนำเทคโนโลยีจากจีนหรือภายใต้ความร่วมมือจากจีน เพื่อการพัฒนาเครื่องมือหรือกลไกตรงนี้รัฐบาลไทยก็สามารถใช้ช่องทางนี้ในการแก้ปัญหาลุ่มแม่น้ำโขงได้

แม่น้ำกกช่วงที่ไหลเข้าสู่ประเทศไทย ผ่านพื้นที่เกษตรกรรม บริเวณ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่

แม่น้ำกกช่วงที่ไหลเข้าสู่ประเทศไทย ผ่านพื้นที่เกษตรกรรม บริเวณ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่

แม่น้ำกกช่วงที่ไหลเข้าสู่ประเทศไทย ผ่านพื้นที่เกษตรกรรม บริเวณ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่

นอกเหนือจากความร่วมมือ เฉพาะเรื่องเขตแดนหรือลุ่มน้ำ ในประเทศไทยก็จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการชายแดนระหว่างไทย กับประเทศที่อยู่รอบข้างประเทศ ไทยมีความสัมพันธ์ระหว่างเมียนมาหลายระดับ เช่น ลักษณะความร่วมมือโดยกระทรวงกลาโหม สามารถเป็นประธานเจรจาระหว่างกองทัพสองฝ่ายได้

แต่ถ้าใหญ่เกินไปอาจไม่ทันการ หรือชายแดนความใกล้ชิด เช่นกรณีแม่น้ำสาย-แม่น้ำรวก ก็จะมีคณะกรรมการชายแดนระหว่างแม่สาย-ท่าขี้เหล็กหรือ TBC

ส่วนข้อจำกัดอาจไม่ขยายไปถึงแม่น้ำกก อาจจะใช้กลไกระดับภูมิภาค ซึ่งจะเป็นบทบาทแม่ทัพภาค 3 ในฝ่ายไทย ส่วนเมียนมาก็จะเป็นกองกำลังภาคสามเหลี่ยมทองคำ ที่มีการคุยเรื่องชายแดนในมิติของความมั่นคงอยู่แล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีการคุยความมั่นคงชายแดน มิติของเรื่องยาเสพติดความมั่นคง โควิด

เรื่องภัยพิบัติน้ำท่วม และมลพิษข้ามพรมแดน ถือเป็นภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ ด้านสิ่งแวดล้อมที่ทางคณะกรรมการชายแดน จะต้องมีการยกระดับคุยกันให้มากขึ้น

ปัญหามลพิษข้ามพรมแดนเป็นปัญหาระหว่างประเทศ ดูเหมือนการแก้ปัญหาจะดูมีความซับซ้อน แต่ก็พอมีทางออก เพียงแต่ฝ่ายที่รับผิดชอบเห็นช่องทางและจริงใจแก้ปัญหาหรือไม่ ? เพื่อให้คนลุ่มแม่น้ำกก-แม่น้ำสาย และลุ่มน้ำโขง กลับคืนมามีชีวิต ใช้น้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตรกรรม ได้เหมือนเดิมตามปกติ

รายงาน : โกวิทย์ บุญธรรม ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส ภาคเหนือ

อ่านข่าว : ตร.รวบชาวจีนวัย 50 ปี ลักพาตัวเด็ก 4 คน จ.แม่ฮ่องสอน

วันนี้ ทีมวิศวกรยื่นแบบแก้ไขฉุกเฉิน กรณีถมดินสูง จ.ระยอง

ราคา “ทองคำ” พุ่งแรง 1,150 บาท สูงสุดประวัติการณ์ ดัน “รูปพรรณ” ขายออก 55,150

ข่าวที่เกี่ยวข้อง