ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รพ.จุฬาฯใช้หุ่นยนต์บริการผู้ป่วยนอก ลดขั้นตอนทำบัตรใหม่

สังคม
17 ม.ค. 67
14:29
902
Logo Thai PBS
รพ.จุฬาฯใช้หุ่นยนต์บริการผู้ป่วยนอก ลดขั้นตอนทำบัตรใหม่
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สุดเจ๋ง รพ.จุฬาลงกรณ์ ให้หุ่นยนต์ Mr.SAM ช่วยงานบริการผู้ป่วยนอกครั้งแรก ลงทะเบียนผู้ป่วย ยืนยันตัวตน ทำบัตร วางอนาคตถึงขั้นคัดกรองอาการผู้ป่วยกรณีนัดเพื่อลดขั้นตอน และลดเวลารอคอย

วันนี้(17 ม.ค.2567) นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดตัวหุ่นยนต์ Mr.SAM เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่ประชาชนผู้มารับบริการภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยการนำหุ่นยนต์มาให้บริการผู้ป่วยนอก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ

ยกระดับการให้บริการทางการแพทย์ให้ก้าวล้ำทันสมัย มีมาตรฐานสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของโรงพยาบาล รวมถึงเป็นการลดขั้นตอนการบริการต่าง ๆ เพื่อให้มีความสะดวกและรวดเร็วขึ้น ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ได้มีเวลาดูแลผู้ป่วยที่เร่งด่วนได้อย่างต่อเนื่องใกล้ชิด

นพ.ม.ล.กรเกียรติ์ สนิทวงศ์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ฝ่ายบริการ กล่าวว่า ในปัจจุบันวิวัฒนาการและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการหุ่นยนต์ เข้ามามีบทบาทในชีวิตมนุษย์และมีความสำคัญมากขึ้นหลายด้าน จะเห็นได้ชัดเจนในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) พบว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ช่วยอำนวยความสะดวก ลดความเสี่ยง สร้างความปลอดภัย ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ป้องการแพร่ระบาดของเชื้อโรค  

สำหรับการทำงานของ "หุ่นยนต์ให้บริการผู้ป่วยนอก Mr.SAM" ที่มีจำนวน 5 ตัว นี้ จะช่วยงาน OPD โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทั้งทำหน้าที่ ลงทะเบียนสร้างเลขประจำตัวผู้ป่วย (HN) ใหม่ พร้อมถ่ายรูปเพื่อยืนยันตัวตน กับหุ่นยนต์ให้บริการผู้ป่วยนอก Mr.SAM ได้ด้วยตนเองเลย โดยไม่ต้องพบเจ้าหน้าที่

สามารถทำได้ด้วยตนเองเบ็ดเสร็จ ลดขั้นตอนในการรอคิวเพื่อลงทะเบียนผู้ป่วยใหม่ นอกจากนี้หุ่นยนต์ให้บริการผู้ป่วยนอก Mr.SAM ยังสามารถเคลื่อนย้ายให้บริการลงทะเบียนนอกสถานที่โรงพยาบาลได้ด้วยเช่นกัน

พร้อมกันนี้ Mr.SAM ยังช่วยแนะนำบริการ หากไม่เข้าใจขั้นตอนการบริการหรือไม่ทราบเส้นทาง สามารถค้นหาข้อมูลได้ เช่น สอบถามเส้นทาง, ห้องน้ำ, สถานที่ต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาล และในอนาคต กรณีที่ผู้ที่มารับบริการครั้งแรกหรือมาผิดนัดพบแพทย์ ซึ่งเดิมผู้มารับบริการจะต้องพบพยาบาลเพื่อทำการซักประวัติ และคัดกรองอาการเบื้องต้นก่อนส่งขึ้นชั้นตรวจทุกราย

ในอนาตจะเริ่มทดลองใช้งานให้หุ่นยนต์ช่วยคัดกรองอาการและ triage อาการเร่งด่วนฉุกเฉินได้ จะช่วยลดระยะเวลาการรอคอยของผู้ป่วยในเคสที่ไม่ซับซ้อนจะสามารถส่งขึ้นพบแพทย์ได้เลย ทำให้การบริการรวดเร็วขึ้น

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

เมืองพริบพรี สู่ "เขาพนมขวด" แลนด์มาร์คฮีลใจ รพ.พระจอมเกล้า

กกพ.คาดค่าไฟฟ้า "พ.ค.-ส.ค." อยู่ที่ 4.20-4.25 บาทต่อหน่วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง