ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

จี้สธ.เปิดความจริง COVID-19 ภาวะ "ลองวัคซีน" ขี้ลืม-สมองเสื่อม

สังคม
15 ม.ค. 67
19:01
21,892
Logo Thai PBS
 จี้สธ.เปิดความจริง COVID-19 ภาวะ "ลองวัคซีน" ขี้ลืม-สมองเสื่อม
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
หมอธีระวัฒน์-ปานเทพ เผยมีผู้ได้รับผลกระทบจากการรับวัคซีน หรือ "ภาวะลองวัคซีน" อาจไม่ต่างลองโควิด จี้หน่วยงานรัฐ- สปสช.เปิดเผยความจริง หลังข้อมูลทางแพทย์ระบุฉีดวัคซีนไปไม่ได้ป้องกัน

วันนี้ (15 ม.ค.2567) นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมมือด้านวิชาการและการวิจัยกับ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการศึกษาวิจัยผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19 แล้วเกิดผลกระทบจากปัญหาสุขภาพ ทั้งภาวะสมองเสื่อม หลอดเลือดสมอง ลิ่มเลือด และผลข้างเคียงอื่น ๆ

อ่านข่าว : ชื่นชม! แท็กซี่เก็บเงินได้กว่า 100,000 บาท ประสานส่งคืนเจ้าของชาวมองโกเลีย

อ่านข่าว : "ราชทัณฑ์" หวั่นตีตรานักโทษ ไม่ใช้ น.ช.กับ "ทักษิณ ชินวัตร"

ยืนยันว่า ไม่ได้ต้องการต่อต้านวัคซีนโควิด แต่ต้องการให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสถาบันการศึกษาออกมาเปิดเผยข้อมูล ที่ได้รับผลกระทบจากวัคซีน พร้อมเรียกร้อง สปสช.และหน่วยงานภาครัฐ เร่งความหาความจริง เกี่ยวกับผู้ที่มีอาการสงสัยอาจได้รับผลกระทบจากวัคซีน และให้การช่วยเหลือ

ไม่ได้ต่อต้านการฉีดวัคซีน หรือการจัดซื้อวัคซีนของ กระทรวงสาธารณสุข เข้าใจระบบที่ต้องมีแผนสำรวจไว้ แต่เห็นว่าทุกนโยบายควรมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อได้รับข้อมูลที่เหมาะสม และประชาชนต้องได้รับข้อมูลรอบด้านเกี่ยวกับวัคซีน
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา และนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา และนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา และนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

จี้ สธ.-สปสช.เปิดข้อมูลเสี่ยงวัคซีน 

ด้านศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า นับตั้งแต่มีปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีผู้ป่วยจำนวนมากได้รับผลกระทบจากวัคซีนโควิด เกิดภาวะคล้ายลองโควิด แต่เป็นลองวัคซีน ภาวะหลงลืม หรือภาวะสมองเสื่อม แม้แต่ตนเองได้รับผลกระทบ ทั้งที่รับวัคซีน 4 เข็ม แต่ในการรับวัคซีนเข็มที่ 3 เริ่มมีอาการ ต้องหยุดงานไป 3-4 วัน ส่วนวัคซีนตัวที่ 4 เป็นชนิด m-RNA มีอาการป่วย เกิดภาวะหลงลืม จนต้องทำการรักษาด้วยตนเอง ด้วยการใช้การแพทย์ทางเลือก หรือกัญชา

อ่านข่าว : ครม.ไฟเขียวต่ออายุสินค้าควบคุม 5 ชนิด นาน 5 เดือน

อย่างไรก็ตาม เมื่อทราบข่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ประกาศให้มีการมารับการฉีดวัคซีนโควิด -19 ในคนกลุ่มเสี่ยง 608 ก็อยากให้มีการฉุกคิดพิจารณา และนำข้อมูลทางการแพทย์ของคนที่ได้รับผลกระทบจากวัคซีนมาเปิดเผย

โดยศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพฯ ได้ให้การดูแลเด็กที่ได้รับวัคซีนโควิด ที่เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง หลังรับวัคซีน และได้ให้การรักษาด้วยการถ่ายน้ำเหลือง จนถึงขณะนี้แม้อาการดีขึ้น แต่ก็มีสภาพติดเตียง

การฉีดวัคซีนโควิด-19

การฉีดวัคซีนโควิด-19

การฉีดวัคซีนโควิด-19

เปิดภาวะลองโควิด ขี้ลืม-สมองเสื่อม-อารมณ์แปรปรวน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า ภาวะลองวัคซีน คล้ายกับลองโควิดทุกประการ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะสั้นเวลา 2 สัปดาห์ เกิดจากโควิดหรือ หลังการรับวัคซีน อาจจะเสียชีวิตได้ ด้วยภาวะลิ่มเลือด หรือสมองอักเสบ ส่วนระยะกลาง 2 สัปดาห์ ถึง 3 เดือน มีปัญหาผลกระทบตั้งแต่หัวจนเท้า มีตั้งแต่ระบบหัวใจและปอด ความแข็งแรงของร่างกายไม่เท่าเดิม

อ่านข่าว : ช่วย "ลูกช้างป่า" จมแอ่งโคลน ล่าสุดกลับเข้าโขลงปลอดภัย

นอกจากนี้ ยังมีระบบทางสมองและจิตใจ คนอายุเพียง 30-40 ปี คิดอะไรไม่ออก ตัดสินใจอะไร ไม่ได้ เกิดภาวะอารมณ์แปรปรวน หดหู่ เชื่อมโยงกับโรคที่เคยควบคุมได้ในอดีต

ขณะเดียวกันในการติดตามผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ในการติดตามประสิทธิภาพการทำงาน พบว่า ภายหลังจากติดโควิด หรือวัคซีนโควิดเข็มที่ 1-3 มีภาวะสมองเสื่อมปรากฎอย่างชัดเจนรุนแรง และช่วยตัวเองไม่ได้

เช่นเดียวกับภาวะพาร์กินสัน มีอาการเด่นชัดขึ้น ต้องนั่งรถเข็น หรือคนประคอง และยังปรากฎภาวะสมองอักเสบ และยังรวมไปถึงการมีอารมณ์ทางเพศลดลงในผู้ชาย ผู้หญิงประจำเดือนผิดปกติ หรือแม้แต่เกิดภาวะลำไส้แปรปรวน ซึ่งภาวะเหล่านี้มักพบเกิด 3 เดือนขึ้นไป

คนปกติดีกลับมีภาวะสมองเสื่อม ไม่เคยเป็นมาก่อน แต่เกิดขึ้นหลังรับวัคซีน และยังเกิดภาวะการอักเสบของร่างกาย เกิดการอักเสบของผิวหนัง มีตุ้มขึ้น และโรคถูกควบคุมด้วยกลไกร่างกาย อย่าง เริม งูสวัดเกิดขึ้น ในคนอายุน้อยมากขึ้น จากปกติเกิดในผู้สูงอายุ

อ่านข่าว "หมอธีระวัฒน์-ปานเทพ" แถลง 7 ประเด็น กังขาฉีดวัคซีนโควิด

ชุดตรวจ ATK

ชุดตรวจ ATK

ชุดตรวจ ATK

ประสิทธิภาพวัคซีนโควิดลดป้องกัน 3 เดือน

ผศ.พิเศษ พญ.อภิญญ์เพ็ญ สาระยา วสันติวงศ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ จุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า จากการติดตามข้อมูลของเชื้อไวรัสโควิด-19 พบว่า มีการพัฒนาสายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง และความรุนแรงของโรคก็ลดลง

จนล่าสุดเป็นสายพันธุ์ย่อย JN1 ซึ่งการตอบสนองของวัคซีนโควิด ล่าสุดก็ไม่ได้มีประสิทธิดี สอดคล้องกับข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ที่พบว่าประสิทธิภาพของวัคซีนจะคงอยู่เพียง 3 เดือนเท่านั้น

อ่านข่าว "กรมควบคุมโรค" เปิด 3 อาการเสี่ยง โยงวัคซีนโควิด-19 รุนแรง 260 คน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง