ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เปิด "เบื้องหลัง-เบื้องลึก" แรงงานไทย เก็บเบอรี่ในฟินแลนด์

เศรษฐกิจ
11 ม.ค. 67
14:36
3,437
Logo Thai PBS
เปิด "เบื้องหลัง-เบื้องลึก" แรงงานไทย เก็บเบอรี่ในฟินแลนด์
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เปิดสถิติแรงงานไทยเก็บ "เบอร์รี่" ในฟินแลนด์ ส่วนใหญ่เป็นแรงงานการเกษตรจากภาคอีสาน สร้างรายได้สูงสุดนับแสนบาทต่อปี แต่สถานะยังไม่ถูกนับเป็นแรงงาน

กรณีกระแสข่าว กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ส่งสำนวนอดีตรัฐมนตรีและข้าราชการระดับสูงในกระทรวงแรงงาน ให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบต่อ หลังพบหลักฐานโยงขบวนการค้ามนุษย์ หักค่าหัวคิวส่งแรงงานไทย 12,000 คน ไปทำงานในประเทศฟินแลนด์ รวม 36 ล้านบาท

ไทยพีบีเอสออนไลน์ รวบรวมข้อมูลแรงงานไทยที่ไปทำงานยังเก็บเบอร์รี่ที่ประเทศฟินแลนด์พบมีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้ 

แรงงานไทยในต่างแดนส่งเงินกลับไทย 2 แสนล้าน/ปี

บทความของ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ในวารสาร ประชากรและการพัฒนา เรื่อง แรงงานไทยในต่างประเทศ : ทรัพยากรที่ทรงคุณค่า โดย สักรินทร์ นิยมศิลป์ อ้างอิง ข้อมูล กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน ระบุว่า แรงงานไทยในต่างประเทศ ข้อมูล ณ เดือน ก.ย.2023 มีแรงงานไทยที่ยังทำงานในต่างประเทศ จำนวน 128,982 คน 

ส่วนใหญ่ทำงานในกลุ่มประเทศเอเชีย จำนวน 89,867 คน แบ่งเป็น ไต้หวัน จำนวน 49,820 คน, เกาหลีใต้ จำนวน 18,962 คน และญี่ปุ่น จำนวน 8,570 คน ตามด้วยภูมิภาคตะวันออกกลาง จำนวน 28,364 คน อิสราเอล จำนวน 25,887 คน

อ่านข่าว : DSI กล่าวหา "2 อดีต รมต.-2 ขรก.แรงงาน" หักหัวคิวส่ง "แรงงานไทย" ไปฟินแลนด์

ตารางข้อมูล : บทความของ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ในวารสาร ประชากรและการพัฒนา เรื่อง แรงงานไทยในต่างประเทศ : ทรัพยากรที่ทรงคุณค่า โดย สักรินทร์ นิยมศิลป์

ตารางข้อมูล : บทความของ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ในวารสาร ประชากรและการพัฒนา เรื่อง แรงงานไทยในต่างประเทศ : ทรัพยากรที่ทรงคุณค่า โดย สักรินทร์ นิยมศิลป์

ตารางข้อมูล : บทความของ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ในวารสาร ประชากรและการพัฒนา เรื่อง แรงงานไทยในต่างประเทศ : ทรัพยากรที่ทรงคุณค่า โดย สักรินทร์ นิยมศิลป์

ภูมิภาคยุโรป อเมริกา และโอเชียเนีย จำนวน 9,909 คน ฟินแลนด์ มีแรงงานไทยมากสุด จำนวน จำนวน 1,654 คน, สวีเดน จำนวน 1,500 คน และสหรัฐฯ จำนวน 1,008 คน โดยแรงงานไทยส่วนใหญ่ เน้นไปทำงานในกลุ่มประเทศเอเชีย โดยกระจุกตัวใน 4 ประเทศหลักได้แก่ ไต้หวัน, อิสราเอล, เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น

ขณะที่ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน รายงานว่าในปี 2022 แรงงานไทยในต่างประเทศได้ส่งเงินกลับประเทศ ผ่านระบบธนาคารแห่งประเทศไทยมากถึง 237,917 ล้านบาท และในช่วง ม.ค.-ต.ค.2023 แรงงานไทยในต่างประเทศได้ส่งเงินกลับประเทศมากถึง 205,446 ล้านบาทจะเห็นได้ว่าแรงงานไทย สร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างมหาศาล

"แรงงานไทยในฟินแลนด์" เก็บเบอร์รี่

แต่หากโฟกัสเฉพาะประเทศฟินแลนด์ กรมการจัดหางานเผยข้อมูลการเดินทางไปเก็บผลไม้ป่าในฤดูกาลปี 2022 ระหว่างเดือน ก.ค. - ก.ย.มีแรงงานไทยเดินทางไปฟินแลนด์ จำนวนรวม 3,966 คน แบ่งเป็น แรงงานเก็บผลไม้ป่า จำนวน 3,801 คน และพนักงานสนับสนุน จำนวน 165 คน

ขณะที่ ผลสำรวจความพึงพอใจคนงานเก็บผลไม้ป่าฟินแลนด์ ฤดูกาลปี 2022 ที่มีการตอบแบบสอบถาม จำนวน 3,801 คน พบว่า มีแรงงานไทย รับรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย 100,000 บาทขึ้นไป ร้อยละ 8.15 รับรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย 50,001-99,999 บาท ร้อยละ 38.55 รับรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย 30,000-50,000 บาท ร้อยละ 47.61 รับรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย ต่ำกว่า 30,000 บาท ร้อยละ 5.69 โดยแรงงานไทยที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท ส่วนใหญ่เป็นแรงงานไทยที่เดินทางไปเก็บผลไม้ป่าเป็นครั้งแรก

ขณะที่ ข้อมูลจาก รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ “การศึกษาวิจัยเชิงประจักษ์เพื่อให้การส่งคนไทยไปเก็บผลไม้ป่าในฟินแลนด์ เป็นไปอย่างถูกต้องและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย” โดย นายอุกฤษฎ์ มูสิกพันธุ์ และคณะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ  ระบุว่า  

ข้อมูลภาพรวมของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ระบุถึงจำนวนแรงงานเก็บผลไม้ป่า ที่ผู้ประกอบธุรกิจผลไม้ป่าฟินแลนด์ เป็นผู้ดำเนินการเชื้อเชิญต่อปีจะมีประมาณ 2,500-3,000 คน 

แรงงานทั้งหมดเดินทางด้วยตัวเอง ทำงานกระจายอยู่ในเมืองต่าง ๆ ในประเทศฟินแลนด์ มีจำนวนสูงสุด ในเขต Kainuu คิดเป็นร้อยละ 47.8 ที่เหลือกระจายไปตามเขต Lapland, South Karelia,Poiso,South Savo และอื่น ๆ

ในเชิงปริมาณพบว่า แรงงานไทยเดินทางไปทำงานในประเทศฟินแลนด์ ระหว่างช่วงปี พ.ศ.1998-2022 มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 62.6 และในปี พ.ศ.2022 จำนวนแรงงานเก็บผลไม้ป่า คิดเป็นร้อยละ 81.3 ของจำนวนแรงงานทั้งหมด ในขณะที่แรงงานเก็บผลไม้ในฟาร์มมีเพียงร้อยละ 12.2

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ “การศึกษาวิจัยเชิงประจักษ์เพื่อให้การส่งคนไทยไปเก็บผลไม้ป่าในฟินแลนด์ เป็นไปอย่างถูกต้องและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย” โดย นายอุกฤษฎ์ มูสิกพันธุ์ และคณะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ “การศึกษาวิจัยเชิงประจักษ์เพื่อให้การส่งคนไทยไปเก็บผลไม้ป่าในฟินแลนด์ เป็นไปอย่างถูกต้องและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย” โดย นายอุกฤษฎ์ มูสิกพันธุ์ และคณะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ “การศึกษาวิจัยเชิงประจักษ์เพื่อให้การส่งคนไทยไปเก็บผลไม้ป่าในฟินแลนด์ เป็นไปอย่างถูกต้องและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย” โดย นายอุกฤษฎ์ มูสิกพันธุ์ และคณะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

สำหรับแรงงานเก็บผลเบอร์รี่ป่าในฟินแลนด์จากประเทศไทย ส่วนใหญ่มาจากพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบอาชีพเกษตรกรมาก่อนจึงมีความคุ้นเคยกับการทำงานในภาคการเกษตร สามารถปรับตัวเข้ากับผู้คน และสิ่งแวดล้อมได้ง่าย รวมถึงมีความขยันแม้ว่างานจะหนักและมีความอดทน

ทั้งนี้ ข้อมูลจากสำนักข่าวประชาไท (2012) เผยข้อมูลการประมาณการค่าใช้จ่ายก่อนเดินทางมาทำงานที่ฟินแลนด์ ดังนี้ บริการ 8,700 - 17,000 บ.บริการเพิ่ม 3,000 - 12,000 บ.วีซ่า 3,000 บ.

ตั๋วเครื่องบิน 39,000 - 48,000 บ. ,ฝึกอบรม 700 - 1,000 บ. ,ประกันภัย 2,300 บ. ,เดินทาง (ไทย) 2,000 บ. ,เดินทาง (ฟินแลนด์) 5,000 บ. ,ดอกเบี้ยร้อยละ 3 จำนวน 6,500 บ. ,สัมภาระส่วนตัว 5,000 บ. รวม 75,200 - 101,800 บ.

แรงงานเบอร์รี่ ในฟินแลนด์ถือ "ผู้ประกอบการ" ไม่ใช่ "แรงงาน"

นอกจากนี้ ข้อมูลจากงานวิจัยฉบับดังกล่าว ยังระบุว่า จนถึงปัจจุบันนี้ สถานะของแรงงานเก็บผลเบอร์รี่ป่า ยังคงตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลัก everyman’s right เช่นเดิม ภายใต้นโยบายจูงใจที่รัฐบาลฟินแลนด์ได้เปิดโอกาสให้บุคคลสามารถเก็บผลเบอร์รี่ป่าได้อย่างเสรีและปลอดภาษี

แม้ว่าจะมีการใช้แรงงานเข้าแลกกับผลผลิตธรรมชาติจากป่าแต่การเก็บผลเบอร์รี่ป่า ประเทศฟินแลนด์ ไม่ถือว่าเป็นงาน โดยผู้ที่เก็บเบอร์รี่ป่าเป็นเพียง independent entrepreneur (ผู้แสวงหากำไรทางธุรกิจบนความเสี่ยงส่วนตัว) หรือ self-employed (ผู้ประกอบอาชีพส่วนตัว) ซึ่งมีสถานะในการเข้าเมืองรูปแบบนักท่องเที่ยว (tourist visa) ที่มีรายได้จากการเก็บผลเบอร์รี่ป่าจำหน่ายมิใช่ "ลูกจ้าง"

แรงงานต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังฟินแลนด์ทั้งหมดทำงานเก็บผลไม้ ส่วนใหญ่มาจากประเทศไทย

นอกจาก เป็นแรงงานจากยูเครน รัสเซีย เบลารุส และประเทศกลุ่มบอลติก ซึ่งปกติไม่มีฐานะเป็นลูกจ้าง ของผู้ประกอบธุรกิจการเก็บผลผลิตจากธรรมชาติ แรงงานดังกล่าวจะเดินทางมาทำงานในระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ช่วงเดือน ก.ค. - ต.ค.

เปิดรายชื่อ บริษัทฟินแลนด์ ในอุตสาหกรรมเบอร์รี่ 

สำหรับรายได้ต่อปีในช่วงฤดูกาลระหว่างปี 2020-2022 (พ.ศ.2563-2565) ในส่วนของ ผู้ประกอบธุรกิจเบอร์รี่ฟินแลนด์ที่มีการชักชวนและได้รับโควตาแรงงานไทยไปทำงานจำนวน 22 ราย จำแนกตามกลุ่มรายได้ ได้ดังนี้

กลุ่มที่มีรายได้ไม่ถึง 1 ล้านบาท มีเพียง 1 ราย ได้แก่ บริษัท Siamlife Oy เป็นผู้ประกอบธุรกิจรับซื้อเบอร์รี่ที่มีรายได้จากยอดขายทั้งปีต่ำสุด โดยมีรายได้ในปี 2021 คิดเป็นเงินไทยราว 740, 000 บาท แต่มีข้อสังเกตว่า อาจเป็นเพราะบริษัทดังกล่าวมีจำนวนคนงานตามโควตาทำงานเพียง 50 คน 

กลุ่มที่มีรายได้ 1-10 ล้านบาท มีจำนวน 5 ราย ได้แก่ Tomaki Services Oy, Lauri Kemppainen, Nukain Maja Oy,Scadinavian Berry Oy และ Ykkoshillot Oy ซึ่งมีโควตาแรงงานตั้งแต่ 48-169 คน ที่น่าสังเกต คือ บริษัท Nukain Marja Oy ซึ่งมีแรงงานในโควตาเพียง 40 คน แต่มีรายได้จากยอดการขายทั้งปีในปี 2021 มีมูลค่าถึง 5,217,000 บาท มากที่สุดในกลุ่มนี้

ดังนั้น จำนวนแรงงานในโควตาจึงอาจมิใช่ปัจจัยหลักของรายได้ทั้งหมด เมื่อเทียบกับผู้ประกอบธุรกิจรับซื้อที่มีรายได้ต่ำสุด

กลุ่มที่มีรายได้เกินกว่า 10-100 ล้านบาท มีจำนวน 5 ราย ได้แก่ Korvatunturin Marja Oy Kainuun Tuote Oy, Ber-Ex Oy, Q-Berry Oy Ltdและ Tessacraft Oy ซึ่งมีโควตา แรงงานตั้งแต่ 50-503 คน ที่น่าสังเกต คือ กรณีของ Q-Berry Oy สามารถทำได้รายได้ถึง 39,479,000 บาท ในขณะที่มีโควตาแรงงานเพียง 50 คน

กลุ่มที่มีรายได้เกินกว่า 100 –500 ล้านบาท มีจำนวน 5 ราย ประกอบด้วย Marja Bothnia Berries Oy,Petri Lehtiniemi Oy,Polarica Marjahankinta Oy, Kristo & Kumpp Oyและ Kaskein Marja Oy กลุ่มนี้มีแรงงานในโควตาตั้งแต่ 94-532 คน

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ “การศึกษาวิจัยเชิงประจักษ์เพื่อให้การส่งคนไทยไปเก็บผลไม้ป่าในฟินแลนด์ เป็นไปอย่างถูกต้องและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย” โดย นายอุกฤษฎ์ มูสิกพันธุ์ และคณะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ “การศึกษาวิจัยเชิงประจักษ์เพื่อให้การส่งคนไทยไปเก็บผลไม้ป่าในฟินแลนด์ เป็นไปอย่างถูกต้องและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย” โดย นายอุกฤษฎ์ มูสิกพันธุ์ และคณะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ “การศึกษาวิจัยเชิงประจักษ์เพื่อให้การส่งคนไทยไปเก็บผลไม้ป่าในฟินแลนด์ เป็นไปอย่างถูกต้องและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย” โดย นายอุกฤษฎ์ มูสิกพันธุ์ และคณะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

กลุ่มที่มีรายได้เกินกว่า 500 ล้านบาท มีจำนวน 2 ราย ประกอบด้วย Arctic International Oy และ Kiantama Oy สำหรับบริษัท Kiantama Oy เป็นผู้ประกอบธุรกิจ 20 รับซื้อเบอร์รี่ที่มีรายได้จากยอดขายทั้งปีสูงสุด โดยในปี 2022 มีมูลค่า 627,594,000 บาท โดยผู้ประกอบธุรกิจรายนี้มีคนงานตามโควตา 500 คน

สำหรับผู้ประกอบธุรกิจรายที่มีคนงานสูงสุด 532 คน มีรายได้ 444,074,000 บาท ในปี 2022 และรายที่มีคนงานน้อยที่สุด 40 คน มีรายได้ 5,217,000 บาท ในปี 2021

กลุ่มที่ไม่มีข้อมูล มีจำนวน 4 ราย ประกอบด้วย Tinan Marjakonti Tmi International Berry Oy T: Mi Marja Sarikaและ Oonan Marja Oyกลุ่มนี้มีแรงงานในโควตา ตั้งแต่ 50-95 คน

ย้อนอดีตแรงงานไทยไปเก็บเบอร์รี่ "ฟินแลนด์"

สำหรับการเดินทางไปทำงานเก็บผลเบอร์รี่ป่าในประเทศฟินแลนด์ของแรงงานไทย เกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อนักธุรกิจภาคอุตสาหกรรมเบอร์รี่ฟินแลนด์ เริ่มเชื้อเชิญแรงงานไทยเข้ามาทำงาน จำนวนทั้งสิ้นรวม 88 คน ในปี 2005 โดยมีเหตุผลสำคัญ คือ คนงานเก็บผลเบอร์รี่ชาวฟินแลนด์ลดจำนวนลง

ประกอบกับมาตรฐานการดำรงชีพในยุโรปตะวันออกยกระดับสูงขึ้นเป็นเหตุให้แรงงานเก็บผลเบอร์รี่ จากชาติยุโรปลดลง รวมถึงการเห็นประโยชน์ทางธุรกิจจากตัวอย่างของประเทศสวีเดน ที่มีการจัดหาแรงงานไทย เข้ามาทำงานดังกล่าวนานนับปี

จึงทำให้ความต้องการนำเข้าแรงงานไทยมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ โดยมีจำนวนกว่า 600 คน ในปี 2006 และกว่า 1,000 คนในปี 2007 และกว่า 3,000 คน ในปี 2008

หลังจากนั้นก็มีอัตราค่อนข้างคงที่เนื่องจากการกำหนดจำนวนการอนุญาตเข้าเมือง (visa quota) ของกระทรวงการต่างประเทศและสถานทูตฟินแลนด์ ในปี 2021 จากการระบุของสื่อฟินแลนด์ถึงจำนวนแรงงานไทยเดินทางไปเก็บผลไม้ป่าตามฤดูกาลช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย.ระยะเวลาสั้น ๆ ไม่เกิน 90 วันในฟินแลนด์มีจำนวนราว 3,000 คน

อ่านข่าว : ก.แรงงาน จัดเต็ม มอบของขวัญปีใหม่ 11 ชิ้น ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ - ช่วยปลดหนี้ 

จากข้อมูลของสื่อฟินแลนด์ ที่รายงานเมื่อเดือน ก.ค.2022 ระบุว่า ความต้องการแรงงานเก็บผลเบอร์รี่ชาวไทย ขยับตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้ง จากตัวเลขความต้องการสำหรับผู้ประกอบการฟินแลนด์รายใหญ่ เช่น Polarica Berries and Fruits คาดว่าจะนำแรงงานไทยเข้าไปทำงานถึง 1,100 คน หรือ Marja Bothnia Berries ก็คาดว่า จะมีแรงงานไทยถึง 900 คนโดยรัฐบาลไทยได้อนุญาตให้แรงงานเก็บผลไม้เดินทางมากกว่า 4,000 คน เพิ่มขึ้นมากกว่าปีที่ผ่านมาประมาณ 500 คน ซึ่งเป็นตัวเลขปริมาณความต้องการแรงงานเก็บเบอร์รี่ป่าเฉลี่ยปกติ

จากนั้น ความจูงใจเชิงหลักประกันที่เกิดขึ้นหลังจากรัฐบาลฟินแลนด์ได้ออกกฎหมายใหม่ (Act 487/2021) ขึ้นมาคุ้มครองแรงงานเก็บผลเบอร์รี่ในปี 2021 ที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับแรงงานไทยที่สมัครมาทำงานดังกล่าวได้เพิ่มขึ้น

อ่านข่าว : กมธ.แรงงาน เสนอรื้อสูตรคำนวณค่าแรงขั้นต่ำ-ชงตั้งสภาแรงงานจังหวัด

ทั้งนี้ งานวิจัยดังกล่าวยังคาดการณ์ถึงแนวโน้มของแรงงานไทยที่ต้องการจะเดินทางไปเก็บผลเบอร์รี่ป่าในฟินแลนด์ว่า น่าจะยังคงมีจำนวนคงที่ต่อไปหรืออาจมีจำนวนเพิ่มขึ้นอันเห็นได้จากสถิติของจำนวนแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานเก็บผลไม้ป่าในฟินแลนด์ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เนื่องจากมีโอกาสที่จะสร้างรายได้ที่สูงกว่าการทำงานในไทย

รวมถึงระบบการประกันรายได้ขั้นต่ำซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการจูงใจให้ตัดสินใจเดินทางไปทำงานต่างประเทศ แม้ว่าจะตั้งอยู่บนมาตรฐานขั้นต่ำตามกฎหมายไทยที่ต่ำกว่ามาตรฐานของประเทศปลายทางอย่างประเทศฟินแลนด์ก็ตาม แต่สำหรับแรงงานที่อยู่นอกระบบตลาดแรงงาน ที่ไม่มีรายได้ในช่วงที่ปลอดงาน การทำงานบนเงื่อนไขดังกล่าวในช่วงฤดูกาลสั้น ๆ ถือเป็นหลักประกันรายได้ที่ดี 

อ่านข่าวอื่น ๆ 

แรงงานไทยกลับจากอิสราเอล ทยอยยื่นเอกสารขอรับเงินเยียวยา 50,000 บาท  

เปิดใจ แรงงานไทย ฝ่ากระแสสงคราม กลับไปทำงานอิสราเอล  

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง