ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

จิตแพทย์ เสนอบังคับใช้พ.ร.บ.ความรุนแรงฯ ยุติปัญหาถูกทำร้าย

อาชญากรรม
10 ม.ค. 67
15:19
518
Logo Thai PBS
จิตแพทย์ เสนอบังคับใช้พ.ร.บ.ความรุนแรงฯ ยุติปัญหาถูกทำร้าย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
หมอยงยุทธ แนะสังคมช่วยยุติรุนแรงในครอบครัว เสนอบังคับใช้ พ.ร.บ.แก้ไขความรุนแรงฯ เลิกสนใจดราม่า ผู้ก่อเหตุป่วยทางจิตหรือไม่ เหตุกฎหมายมีวิธีการแยก เน้นดูสภาวะจิตการควบคุมตัวเอง

วันนี้ (10 ม.ค.2567) นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงปัญหาความรุนแรงในครอบครัว กรณีลูกฆ่าพ่อและน้องยัดกล่องเหล็กถ่วงน้ำ ที่จ.สกลนคร ว่า ในทางกายภาพผู้ที่ได้รับผลกระทบคงหนีไม่พ้นคนได้รับความรุนแรง ทั้งเด็ก สตรี และผู้สูงอายุ ซึ่งอาจถูกทำร้ายทุบตี

หรือความรุนแรงที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจ การถูกทอดทิ้ง ไม่ให้ได้รับปัจจัย 4 ล้วนเป็นความรุนแรงทั้งสิ้น หรือวิธีการปฏิบัติที่ส่งผลต่อจิตใจ โดยผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัว ส่วนใหญ่ไม่ได้มีปัญหาเจ็บป่วยสุขภาพจิต พบเพียง ร้อยละ 10 เท่านั้นที่มีปัญหา เช่น ผู้ใช้สารเสพติด ผู้ที่มีอารมณ์แปรปรวน หรือ ไบโพล่าร์

ความรุนแรงในครอบครัว

ความรุนแรงในครอบครัว

ความรุนแรงในครอบครัว

นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า ความรุนแรงในครอบครัว มักเป็นปัญหาสะสมที่ไม่ได้รับการแก้ไข เป็นการกระทำซ้ำ ๆ เกิดขึ้นต่อเนื่อง ทุกครั้งที่มีข่าวลักษณะนี้เกิดขึ้น หากลองสืบประวัติของครอบครัวที่ได้รับความผลกระทบจากความรุนแรงต่อเนื่อง ผู้ที่มีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว คือ เพื่อนบ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือ ครูในโรงเรียน

หากเข้าไปให้ความช่วยเหลือ ก็จะช่วยยุติความรุนแรงในครอบครัวได้ เพราะครอบครัวที่ถูกกระทำ จะมีลักษณะเป็นครอบครัวปิด ไม่สุงสิงพูดคุยกับใคร จึงต้องทำให้เรื่องนี้เปิดเผยออกมาก ด้วยการแจ้งให้คนรับรู้ เพื่อเข้าไปให้การช่วยเหลือ

ซึ่งแนวทางแก้ไขคือ การบังคับใช้กฎหมาย พ.ร.บ.แก้ไขความรุนแรงในครอบครัว เข้าไปช่วยเหลือปกป้องไม่ให้ความรุนแรงบานปลาย

การช่วยเหลือ ไม่ได้หมายความว่าเข้าไปห้ามทันทีในครั้งแรก แต่หากเห็นว่า ความรุนแรงเริ่มเกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้น ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ใช้กลไก ของ พ.ร.บ.แก้ไขความรุนแรงในครอบครัว เข้าไประงับเหตุ ทั้งนี้ สาเหตุที่ความรุนแรงในครอบครัวยังมีอยู่ เพราะไม่มีใครทำอะไร ไม่เข้าไปแก้ไข

นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า สำหรับหลักฐานของผู้ก่อเหตุความรุนแรงในครอบครัว ส่วนใหญ่พบว่า ไม่มีอาการป่วย ส่วนผู้ถูกกระทำจะได้รับอันตรายจนถึงชีวิตหรือไม่

หากดูเจตนารมย์ของ พ.ร.บ.แก้ไขความรุนแรงฯ คือ การให้ความช่วยเหลือ ไม่เน้นการลงโทษ แต่หากกรณีเสียชีวิต ถือเป็นคดีอาญาโดยตรง มีทั้งตั้งใจ ประมาท และเจ็บป่วย มีฐานความผิดตามลำดับ

โดยทุกครั้งจะมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่า ขณะก่อเหตุ มีสภาวะจิตที่ควบคุมตนเองได้หรือไม่ และสามารถรับผิดชอบการกระทำของตนเองได้หรือไม่เพื่อรับโทษตามความเหมาะสม

ซึ่งในภาษาของกฎหมาย ไม่ได้มีการระบุว่าป่วยหรือไม่ แต่จะใช้เกณฑ์แยก 3 คำ ได้แก่ วิกลจริต จิตฟั่นเฟื่อน จิตบกพร่อง ไม่นับรวมอาการทางจิตที่เกิดจากการใช้สารเสพติด ติดสุรา เพราะถือเป็นสิ่งที่พาตัวเองเข้าไป

คดีลูกฆ่าพ่อ-น้องยัดกล่องเหล็ก

คดีลูกฆ่าพ่อ-น้องยัดกล่องเหล็ก

คดีลูกฆ่าพ่อ-น้องยัดกล่องเหล็ก

นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า ส่วนข่าวต่างๆ ที่เกิดขึ้น ขอให้คำแนะนำว่า ไม่ควรไปเสพหรือรับรู้ข่าวสารแบบดราม่า ลุ้นกับข่าว หรือตั้งวงถกเถียงกันว่า ผู้ก่อเหตุมีอาการป่วยหรือไม่ป่วย ทางการแพทย์ มองว่าไม่ได้ประโยชน์ แต่ให้รับรู้ข่าวสารแบบเป็นบทเรียน อุทาหรณ์ว่า ความรุนแรงในครอบครัวมีหลากหลาย และต้องเข้าไปช่วยเหลือ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :วิเคราะห์ ปูมหลังผู้ก่อเหตุสะเทือนขวัญ จาก "ไอซ์ หีบเหล็ก - กล่องเหล็กถ่วงน้ำ"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง