ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"นกตบยุงยักษ์" สัตว์หายากหลงตึก ถึงมือสัตวแพทย์กรมอุทยานฯ

สิ่งแวดล้อม
28 ธ.ค. 66
15:50
70,155
Logo Thai PBS
"นกตบยุงยักษ์" สัตว์หายากหลงตึก ถึงมือสัตวแพทย์กรมอุทยานฯ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สาวช่วย รปภ.-แม่บ้าน จับ "นกหน้าตาประหลาด" สุดท้ายคือ "นกตบยุงยักษ์" สัตว์ป่าคุ้มครองหายาก ล่าสุดถึงมือสัตวแพทย์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช แล้ว พบอ่อนเพลีย แนะไม่ควรเลี้ยง

หลังจากโลกออนไลน์แชร์เรื่องราวน่ารักเกี่ยวกับนกหายากผ่านเฟซบุ๊ก Katry Somsaman ขณะกำลังช่วยกันนกตัวหนึ่งที่หน้าตาคล้ายมังกรดำในการ์ตูนออกจากระเบียงห้องลูกบ้าน หลังแม่บ้านและ รปภ. คอนโดพยายามจับแต่ไม่สำเร็จ กระทั่งผู้ใช้เฟซบุ๊กรายนี้เข้ามาช่วยปืนจับได้สำเร็จ พร้อมทั้งประสานมาที่สายด่วน กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

อ่านข่าว : ทั่วโลกจัดเคาท์ดาวน์ปีใหม่ 2567 ไทม์สแควร์เตรียมปล่อยลูกบอลคริสตัลยักษ์ฉลอง

นกตบยุงยักษ์ ภาพ : Morn Kritsachai Somsaman

นกตบยุงยักษ์ ภาพ : Morn Kritsachai Somsaman

นกตบยุงยักษ์ ภาพ : Morn Kritsachai Somsaman

วันนี้ (28 ธ.ค.2566) ล่าสุด ดร.กฤษฎ์ชัย สมสมาน เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊ก "Morn Kritsachai Somsaman" ได้อัปเดตว่า ส่งมอบน้องเขี้ยวกุด (นกตบยุงยักษ์) สัตว์ป่าคุ้มครองหายากให้อยู่ในมือสัตวแพทย์ คลินิกสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่าเรียบร้อยแล้ว สัตวแพทย์ตรวจสภาพแล้ว นกตัวดังกล่าวไม่ได้ป่วย แต่น่าจะอ่อนเพลียมาจากการเผชิญสภาพแวดล้อมท่ามกลางตึกสูงใน กทม.

อ่านข่าว : ที่สุด 10 ข่าวสิ่งแวดล้อมแห่งปี 2566 "พลายศักดิ์สุรินทร์" กลับไทย

นกตัวดังกล่าวได้สารอาหารที่สัตวแพทย์ป้อนให้ได้ คาดจะแข็งแรงพอที่จะกลับคืนสู่ธรรมชาติในเวลาอีกไม่นาน น้องน่ารักมาก นั่งรถมาด้วยกันเงียบ ๆ เพิ่งจะได้เห็นน้องในแสงชัด ๆ น่ารักเหมือนตุ๊กตา หูใหญ่เหมือนเขามังกร สมกับชื่อภาษาอังกฤษว่า Great Eared Nightjar ขนน้องนุ่มนวลละเอียด มองจากด้านบนเหมือนเศษใบไม้มาวางกองอยู่ น่าจะใช้พรางตัวได้ดี

อ่านข่าว : ที่สุดแห่งปี 2566 “ก้าวไกล” ชนะเลือกตั้ง “ลิซ่า” ผู้ทรงอิทธิพล

นกตบยุงยักษ์ ภาพ : Morn Kritsachai Somsaman

นกตบยุงยักษ์ ภาพ : Morn Kritsachai Somsaman

นกตบยุงยักษ์ ภาพ : Morn Kritsachai Somsaman

อ่านข่าว : จ่าฝูงแยกเขี้ยวขู่ "ย้ายลิงเขาวัง" เข้าบ้านใหม่-หลังอาละวาดหนัก

อ่อนเพลีย-กระดูกไม่หัก แนะไม่ควรเลี้ยง

สัตวแพทย์หญิงธชพรรณ ลีลาพตะ สัตวแพทย์ประจำคลินิกสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ ว่า จากการตรวจอาการนกตบยุงยักษ์ตัวนี้ หลังถูกส่งมาคลินิกสัตว์ป่าตั้งแต่ช่วงเที่ยง พบว่าเป็นนกตัวเต็มวัยไม่สามารถจำแนกเพศได้

เบื้องต้นไม่มีบาดแผลตามร่างกาย กระดูกไม่หัก แต่มีลักษณะเพลียอ่อนแรง และไม่ได้กินอาหารตั้งแต่เจอ โดยลองให้กินพวกแมลงหนอนที่มีป้อนให้ก็กินได้ และวิตามินตามินสารน้ำ

โดยพบว่านกยังนอนนิ่ง ๆ ซึ่งปกตินกสายพันธุ์นี้จะนอนตอนกลางวันและหากินแมลงตอนกลางคืน จากการสอบถามผู้นำมาส่งบอกว่า รปภ.เห็นแต่ไม่คิดว่าเป็นนกและพยายามแหย่ไล่ให้ลงมา ซึ่งไม่รู้ว่าตอนนั้นน้องหลับกลางวันอยู่หรือไม่

นกตบยุงยักษ์ ภาพ : Morn Kritsachai Somsaman

นกตบยุงยักษ์ ภาพ : Morn Kritsachai Somsaman

นกตบยุงยักษ์ ภาพ : Morn Kritsachai Somsaman

อ่านข่าว : "โนบิตะ-ชิซุกะ-ไบรอัล” ถึงศูนย์ลิงอุรังอุตังอินโดฯ อย่างปลอดภัย

สัตวแพทย์หญิงธชพรรณ กล่าวอีกว่า ปกตินกตบยุงยักษ์จะนอนกลางวัน หากินแมลงตอนกลางคืน จึงต้องสังเกตอาการที่ช้าว่าแค่หลับหรือป่วย ไปอีกสักระยะ หากแข็งแรงถึงจะปล่อยคืนธรรมชาติ โดยเจ้าตัวนี้ถือเป็นเคสแรกที่นำมาส่งใน กทม. ไม่ค่อยพบนกชนิดนี้ แต่ในต่างจังหวัดยังสามรถเจอตัวได้เพราะนกชอบออกกลางคืนเวลาโฉบกินแมลงจะอยู่นิ่งกับพื้นและหางที่ยาวจะพรางตัวกับพื้นได้ดี

ในมุมสัตวแพทย์นกตบยุงยักษ์เหมือนตัวมังกร เจ้าเขี้ยวกุด และพอโฉบแมลงแล้วมาพักเหมือนใบไม้แห้ง มองว่าน่ารักแต่ก็ไม่ควรนำมาเลี้ยง และถ้าวางอาหารเฉย ๆ ก็จะไม่กิน เพราะต้องล่าแมลงหนอนเอง ตัวนี้เป็นตัวแรกที่พบเข้ามาคลินิกสัตว์ป่า ที่ผ่านมามีเพียงนกตบยุงเล็ก 2-3 ครั้งเท่านั้น

อ่านข่าว : ไขความลับ "มูลเสือโคร่ง" ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่กินอะไร

นกตบยุงยักษ์ ภาพ : Morn Kritsachai Somsaman

นกตบยุงยักษ์ ภาพ : Morn Kritsachai Somsaman

นกตบยุงยักษ์ ภาพ : Morn Kritsachai Somsaman

สำหรับนกตบยุงยักษ์ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Great Eared Nightjar และชื่อวิทยาศาสตร์ Lyncornis macrotis ถือว่านกหายากออกหากินตอนกลางคืน พวกมันอยู่ในตระกูล Caprimulgidae กินแมลงเป็นอาหาร

ถิ่นกำเนิดอยู่ในป่าเขตร้อนพบได้ตั้งแต่อินเดียตะวันตกเฉียงใต้ แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือในประเทศไทยเองก็มีรายงานการพบเห็นทางภาคเหนือตอนล่างเช่นกัน

จุดเด่นของนกตบยุงยักษ์ก็คือหูขนาดใหญ่ที่ตั้งเด่นขึ้นมา จงอยปากสั้น มีขนาดตัวอยู่ระหว่าง 31 - 41 เซนติเมตร เพศผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 131 กรัม และตัวเมียมีน้ำหนักเฉลี่ย 151 กรัม และด้วยความที่มีหูใหญ่และหางยาวขณะบินทำให้ถูกนำไปเทียบกับมังกรชื่อเขี้ยวกุด (นกตบยุงยักษ์) ในภาพยนตร์เรื่อง How to Train Your Dragon

อ่านข่าวอื่น ๆ

นายกฯ คุยพรรคร่วมกำชับถกงบ 67 มอบ "ภูมิธรรม" นั่ง ปธ.กมธ.

อัยการส่งคืนสำนวน เด็ก15 ปี คดียิงพารากอน ไม่ชอบด้วย กม.

รวบหนุ่มใช้มีดฟันหัวเด็กอนุบาลบาดเจ็บสาหัส อ้างมีคนสั่งให้ทำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง