ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

SMEs เข็นไม่ขึ้น 11 เดือน แห่เลิกกิจการส่งท้ายปี ทะลุ 17,858 ราย

เศรษฐกิจ
26 ธ.ค. 66
12:16
2,596
Logo Thai PBS
SMEs  เข็นไม่ขึ้น 11 เดือน  แห่เลิกกิจการส่งท้ายปี ทะลุ  17,858  ราย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมพัฒน์ฯ เผย 11 เดือน เอสเอ็มอี เจ๊งแล้วกว่า17,858 ราย มูลค่า 107,728.90 ล้านบาท เหตุแข่งขันสูง สายป่านสั้น ปรับตัวไม่ทันกับพฤติกรรมผู้บริโภค ยอดขายหด-เลิกสัญญา 3 ธุรกิจเลิกสูงสุด ก่อสร้าง -ร้านอาหาร-อสังหาฯ ขณะที่ธุรกิจขายส่งข้าวเปลือกน่าจับตาเติบโตสูง

วันนี้ (26 ธ.ค.2566 ) นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า แม้สถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อโควิด-19จะคลี่คลาย และมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้ประกอบการและธุรกิจหลายแห่งได้รับกระทบต่อเนื่องตามมา โดยเฉพาะกลุ่มที่มีเงินทุนน้อยยังไม่สามารถกลับมาฟื้นกิจการได้ตามปกติ ประกอบกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป มีการใช้บริการออนไลน์มากขึ้น ขณะที่บางธุรกิจตั้งขึ้นเฉพาะกิจเท่านั้น เมื่อหมดสัญญาก็เลิกกิจการโดยจะเห็นชัดในช่วงปลายปี

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

เดือนพ.ย.มีการจดทะเบียนเลิกธุรกิจจำนวน 2,608 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา 16.43% ซึ่งธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก คือ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 194 ราย รองลงมา  ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 131 ราย และธุรกิจภัตตาคารและร้านอาหาร จำนวน 80 ราย

การเลิกประกอบธุรกิจปีนี้ ถือว่าปกติ เพราะสอดคล้องกับการจัดตั้งธุรกิจใหม่ที่สูงขึ้น สาเหตุที่มีการเลิกกิจการสูงเพราะเป็นการตั้งบริษัทย่อย ๆ เพื่อทำกิจการเฉพาะในช่วงเวลาที่กำหนด และปิดตัวลงเมื่อโครงการสำเร็จหรือไม่ได้ประกอบกิจการแล้ว

ในขณะที่กลุ่มธุรกิจอื่น ๆ ที่มีจำนวนการจดทะเบียนยกเลิกค่อนข้างมาก เช่น ธุรกิจการขนส่ง และขนถ่ายสินค้า ธุรกิจกิจกรรมให้คำปรึกษา ธุรกิจขายปลีกสินค้า และ ธุรกิจที่เกี่ยวกับกิจกรรมของบริษัทโฆษณา ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคไปจากเดิม ส่งผลให้ธุรกิจกลุ่มเหล่านี้ต้องมีการปรับตัว และแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่

โดยผู้ประกอบการที่มีเงินทุนไม่เกินไม่เกิน 1,000,000 ล้านบาท เลิกกิจการมากที่สุด จำนวน 1,841 ราย คิดเป็น 70.59 % รองลงมา มีเงินทุนมากกว่า 1,000,000- 5,000,000 ล้านบาท จำนวน 635 ราย คิดเป็น 24.35%  และมีเงินทุนมากกว่า 5,000,000-100 ล้านบาท จำนวน 124 ราย คิดเป็น 4.75% และทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 8 ราย คิดเป็น 0.31%

อ่านข่าวอื่น:

"ทองคำขาขึ้น"คาดปี 67 ฉุดไม่อยู่ แนะนักลงทุนถือยาวข้ามปี

สัญญาณบวก "สินค้าเกษตรขยายตัว" พณ.เร่งดัน ส่งออกเพิ่มปี 67

รอบ11 เดือนมีธุรกิจเลิกกิจการไป 17,858 ราย คิดเป็นมูลค่า 107,728.90 ล้านบาท ธุรกิจเลิกสูงสุด ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจภัตตาคาร ร้านอาหาร สาเหตุเพราะอาจถูกเลิกสัญญา ลูกค้าไม่มี และเงินทุนน้อย

นางอรมน กล่าวอีกว่า สำหรับธุรกิจที่ยกเลิกกิจการส่วนใหญ่จะมีเม็ดเงินลงทุนไม่เกิด 1,000,000 บาท มากถึง 12,516 ราย คิดเป็น 70.09% รองลงมามีเงินทุนมากกว่า 1,000,000- 5,000,000 ล้านบาท จำนวน 4,530 ราย คิดเป็น 25.37% เงินทุนมากกว่า 5,000,000 -100 ล้านบาท จำนวน 731 ราย คิดเป็น 4.09% และมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 81 ราย คิดเป็น 0.45%

ส่วนธุรกิจที่ยังเติบโตสูงอย่างต่อเนื่องได้รับแรงสนับสนุนจาก ภาคการท่องเที่ยวเป็นหลัก โดยเฉพาะการสนับสนุน Soft Power ของรัฐบาล และนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว อื่นๆ สะท้อนจากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง

เช่น ธุรกิจตัวแทนการเดินทาง เติบโต 1.04 เท่า ธุรกิจจัดนำเที่ยว เติบโต 69.35% จากการจัดงานเทศกาลที่สำคัญในทุกพื้นที่ของประเทศ รวมทั้ง ธุรกิจภัตตาคารและร้านอาหาร เติบโต 36.34% จากการผลักดันอาหารไทยที่เป็นเอกลักษณ์และให้ชาวต่างประเทศ ได้รู้จักอาหารไทยมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ยังมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น ธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เติบโต 1.56 เท่า ธุรกิจโรงแรม รีสอร์ทและห้องชุด เติบโต 30.69% โดยใน 11 เดือนแรกปี 2566 มีจำนวน การจัดตั้งธุรกิจเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึง 45.58% มีสัดส่วนคิดเป็น 8.59% ของจำนวนธุรกิจ ที่จัดตั้งทั้งหมดใน 11 เดือนแรกปี 2566

นาอรมน ยังกล่าวถึง ภาพรวมในการจัดตั้งธุรกิจใหม่ 11 เดือนของปี 2566 มีจำนวน 81,291 ราย เพิ่มขึ้น จากปี 2565 ถึง 12.16% โดยการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในเดือนพ.ย. 2566 ยังคงเป็นไปตามช่วงเวลาของ การจดทะเบียนจัดตั้งที่จะมีแนวโน้มการจดจัดตั้งสูงในช่วงต้นปีและลดลงในช่วงปลายปี

การขอจดทะเบียนตั้งธุรกิจใหม่เดือนพ.ย. มี5,979 ราย เพิ่มขึ้น 3.57 สอดคล้องกับมูลค่าทุนจดทะเบียนจัดตั้งใหม่ มีมูลค่า 25,272.84 ล้านบาท ซึ่งได้อานิสงส์จากมาตรการของภาครัฐโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว

นางอรมน กล่าวอีกว่า การเปลี่ยนแปลงในภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจส่งผลให้หลายธุรกิจมีการเติบโตที่สูงและน่าจับตามอง เช่น ธุรกิจขายส่งข้าวเปลือกและธัญพืช เติบโต 1.58 เท่าจากนโยบาย BCG Model เช่น การสนับสนุนต้นทุนการผลิตข้าวรักษ์โลก ธุรกิจผลิต แผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เติบโต 2.2 เท่า จากความต้องการในกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า และกลุ่ม สินค้าเทคโนโลยี รวมทั้งธุรกิจ e-Commerce เติบโต 18.95% จากช่องทางการซื้อขาย สินค้าที่เปลี่ยนแปลงไป

คาดว่าปี 2566 อยู่ที่ประมาณ 84,000 – 86,000 ราย และมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจัดตั้งอยู่ที่ประมาณ 550,000 – 600,000 ล้านบาท ส่วนธุรกิจเลิกกิจการคาดว่าน่ามีเกือบ 20,000 ราย

 อ่านข่าวอื่นๆ:

พณ.ขู่ผู้ค้าฯ เติมน้ำมันขาด ติด 2 ครั้ง สั่งหยุดใช้หัวจ่ายน้ำมันทันที

“ภูมิธรรม” โบ้ยคมนาคมคุมราคาตั๋วเครื่องบินช่วงปีใหม่

"พาณิชย์" หนุนเจรจา FTAไทย-อียู เน้นสวล.-การค้าสีเขียว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง