ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เปิดภาพแรก ครอบครัวใหม่ "3 แม่ลูกเสือโคร่ง" ป่าสลักพระ

สิ่งแวดล้อม
19 ธ.ค. 66
13:32
562
Logo Thai PBS
เปิดภาพแรก ครอบครัวใหม่ "3 แม่ลูกเสือโคร่ง" ป่าสลักพระ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เปิดภาพครอบครัวใหม่ "3 แม่ลูกเสือโคร่ง" ครั้งแรกของเขตรักษาพันธุ์สัตวป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี หลังติดกล้องดักถ่ายตั้งแต่ต้นปี 2566 เป็นอีกหนึ่งความหวังในการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง

วันนี้ (19 ธ.ค.2566) กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ องค์การแพนเทอรา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ และคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยภาพจากกล้องดักถ่ายที่ติดตั้งเมื่อต้นปี 2566 จนถึงปัจจุบัน พบเสือโคร่ง 3 ตัว โดยเป็นเพศเมียโตเต็มวัย 1 ตัว ซึ่งมีในฐานข้อมูลเสือโคร่ง รหัส TWT128F ซึ่งเป็นแม่เสือโคร่ง และลูกเสือจำนวน 2 ตัว (ให้รหัสไว้ว่า SLT_Unknown003 และ SLT_Unknown004)

ภาพ : กรมอุทยานฯ

ภาพ : กรมอุทยานฯ

ภาพ : กรมอุทยานฯ

ก่อนเหตุการณ์ดังกล่าว เสือโคร่ง TWT128F ถูกถ่ายภาพไว้ได้เมื่อวันที่ 3 ส.ค.2566 เวลา 10.03 น. และวันที่ 8 ส.ค.2566 เวลา 23.38 น. จุดตั้งกล้องดังกล่าวยังเคยถ่ายภาพเสือโคร่งโตเต็มวัยเพศผู้ รหัส HKT270M จำนวน 3 เหตุการณ์ ได้แก่ วันที่ 20 เม.ย.2566 เวลา 18.04 น. วันที่ 6 ก.ค.2566 เวลา 03.00 น. และ 13 มิ.ย.2566 เวลา 03.11 น.

สำหรับเหตุการณ์นี้นับเป็นครั้งแรกของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระที่มีภาพลูกเสือซึ่งถูกถ่ายภาพได้จากกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ และชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของพื้นที่ทั้งในด้านความสมบูรณ์ของสัตว์เหยื่อ และสภาพพื้นที่ป่าที่เอื้อต่อการขยายพันธุ์ของเสือโคร่ง

ภาพ : กรมอุทยานฯ

ภาพ : กรมอุทยานฯ

ภาพ : กรมอุทยานฯ

นอกจากนี้ จากการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติของทีมสำรวจกว่า 420 จุด ใน 7 พื้นที่อนุรักษ์ของกลุ่มป่าทางทิศใต้ของผืนป่าตะวันตก เพื่อสำรวจประชากรเสือโคร่งและสัตว์ตระกูลแมวป่า รวมถึงสัตว์เหยื่อ พบว่าประชากรเสือโคร่งในพื้นที่สำรวจมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสือโคร่งที่ถูกถ่ายภาพได้ครั้งแรกในพื้นที่นี้

นับเป็นก้าวแรกของความสำเร็จในความพยายามส่งเสริมให้ผืนป่านี้เป็นอีกหนึ่งความหวังในการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งได้ในอนาคต โดยสัตว์ตระกูลแมวป่า ที่ถูกสำรวจพบในพื้นที่มีทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่ เสือโคร่ง เสือดาว เสือลายเมฆ แมวลายหินอ่อน เสือไฟ และแมวดาว

ภาพ : กรมอุทยานฯ

ภาพ : กรมอุทยานฯ

ภาพ : กรมอุทยานฯ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ครั้งแรก! "เสือลายเมฆ" เข้าใช้พื้นที่อุโมงค์เชื่อมป่า 304 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง