ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

อิสราเอลใช้ "ฟอสฟอรัสขาว" ตามแนวปฏิบัติ กม.ระหว่างประเทศ

ต่างประเทศ
12 ธ.ค. 66
12:44
1,333
Logo Thai PBS
อิสราเอลใช้ "ฟอสฟอรัสขาว" ตามแนวปฏิบัติ กม.ระหว่างประเทศ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
รัฐบาลสหรัฐฯ แสดงความกังวลต่อกรณีที่เลบานอนกล่าวหาอิสราเอลว่าใช้ฟอสฟอรัสขาวในการโจมตี ซึ่งถือเป็นอาวุธเคมีต้องห้ามตามกฎหมายระหว่างประเทศ ในขณะที่อิสราเอลยืนยันว่าการปฏิบัติของกองทัพเป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ

เมื่อวันที่ 11 ธ.ค.2566 โฆษกของกองทัพอิสราเอลแถลงถึงกรณีที่มีการอ้างว่า กองทัพใช้ "ฟอสฟอรัสขาว" ในปฏิบัติการโจมตีทางตอนใต้ของเลบานอน โดยระบุว่ากองทัพอิสราเอล ปฏิบัติงานตามแนวทางที่ชัดเจน คือยึดมั่นความถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นแนวทางของกองทัพ ทั้งในปฏิบัติการทางตอนเหนือและตอนใต้ และเป็นสิ่งที่จะยึดมั่นต่อไป

กลุ่มควันที่ขาวที่คาดว่าเกิดจากการระเบิดของฟอสฟอรัสขาวในกาซา

กลุ่มควันที่ขาวที่คาดว่าเกิดจากการระเบิดของฟอสฟอรัสขาวในกาซา

กลุ่มควันที่ขาวที่คาดว่าเกิดจากการระเบิดของฟอสฟอรัสขาวในกาซา

ด้านหนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสต์ รายงานการพบหลักฐานว่าอาวุธที่กองทัพอิสราเอลใช้โจมตีตอนใต้ของเลบานอน เป็นกระสุนซึ่งมีหมายเลขที่ระบุว่าอาวุธดังกล่าว ผลิตในสหรัฐฯ ในช่วงปี 1989-1992 สอดคล้องกับข้อมูลจากฝั่งเลบานอนที่ระบุว่าเมื่อวันที่ 31 ต.ค. ที่ผ่านมา อิสราเอลใช้อาวุธดังกล่าวก่อเหตุโจมตีซ้ำๆ

สหรัฐฯ กังวลข้อกล่าวหาอิสราเอลใช้ "ฟอสฟอรัสขาว"

ด้าน จอห์น เคอร์บี โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ ยอมรับว่า กังวลเกี่ยวกับข้อกล่าวหาที่ระบุว่าอิสราเอลใช้ฟอสฟอรัสขาวซึ่งผลิตในสหรัฐฯ โดยได้สอบถามเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมแล้ว พร้อมระบุว่าเมื่อใดก็ตามที่สหรัฐฯ ส่งมอบวัตถุอย่างฟอสฟอรัสขาวให้กองทัพอื่นๆ สหรัฐฯ คาดหวังอย่างเต็มที่ว่า อาวุธเหล่านั้นจะถูกนำไปใช้อย่างชอบธรรมและสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการขัดกันด้วยอาวุธ

จอห์น เคอร์บี โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ

จอห์น เคอร์บี โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ

จอห์น เคอร์บี โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ

ทั้งนี้ฟอสฟอรัสขาว ถือเป็นอาวุธเคมีต้องห้ามตามกฎหมายระหว่างประเทศ แต่สามารถนำมาใช้ได้ในกรณีที่ใช้ฟอสฟอรัสขาวเพื่อการอำพรางตัวหรือให้แสงสว่าง ในสมรภูมิรบ

ในขณะที่คณะผู้แทนของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเดินทางเยือนจุดผ่านแดนราฟาห์ ฝั่งประเทศอียิปต์ กล่าวว่าสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเป็นโศกนาฏกรรม ที่ยืดเยื้อยาวนานเกินไป ซึ่งคณะมนตรีความมั่นคงถือว่าสันติภาพและความมั่นคงเป็นความรับผิดชอบอันดับแรก

เจ้าหน้าที่สหประชาชาติให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อพลเรือนในกาซา

เจ้าหน้าที่สหประชาชาติให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อพลเรือนในกาซา

เจ้าหน้าที่สหประชาชาติให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อพลเรือนในกาซา

ประท้วงในสหรัฐฯ เรียกร้องหยุดยิงในกาซา

ส่วนที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ของสหรัฐฯ กลุ่มผู้ประท้วงรวมตัวกันใช้โซ่ตรวนมัดตัวเองติดกับรั้วของทำเนียบขาว เพื่อเรียกร้องให้หยุดยิงในกาซา ยุติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้จัดโดยกลุ่ม "เสียงชาวยิวเพื่อสันติภาพ"

กลุ่มผู้ประท้วงรวมตัวกันใช้โซ่ตรวนมัดตัวเอง เรียกร้องการหยุดยิงในกาซา

กลุ่มผู้ประท้วงรวมตัวกันใช้โซ่ตรวนมัดตัวเอง เรียกร้องการหยุดยิงในกาซา

กลุ่มผู้ประท้วงรวมตัวกันใช้โซ่ตรวนมัดตัวเอง เรียกร้องการหยุดยิงในกาซา

อีกจุดหนึ่งที่มีการประท้วงในกรุงวอชิงตัน ดีซี คืออาคารรัฐสภา ซึ่งผู้ประท้วงพากันตะโกนและชูป้ายที่มีข้อความเรียกร้องให้สหรัฐฯ ยุติการส่งอาวุธให้อิสราเอล และให้หยุดยิงในกาซา ซึ่งในเวลาต่อมาตำรวจของรัฐสภาได้นำตัวผู้ประท้วงออกจากอาคาร

ผู้ประท้วงพากันตะโกนในรัฐสภาสหรัฐฯ

ผู้ประท้วงพากันตะโกนในรัฐสภาสหรัฐฯ

ผู้ประท้วงพากันตะโกนในรัฐสภาสหรัฐฯ

รู้จัก "ฟอสฟอรัสขาว" สารเคมีต้องห้ามในสงคราม

ฟอสฟอรัสขาวถูกจัดว่าเป็นอาวุธที่ก่อให้เกิดไฟลุกภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้อาวุธสงครามบางชนิด (Convention on the Prohibition of Use of Certain Conventional Weapons ; CCW) จากระเบียบข้อ 3 ของอนุสัญญาห้ามการใช้ฟอสฟอรัสขาวต่อเป้าโจมตีที่ใกล้กับพลเรือน แต่ "อิสราเอลไม่ได้ลงนามรับรองอนุสัญญาดังกล่าว"

"ฟอสฟอรัสขาว" เป็นสารเคมีที่มักถูกบรรจุในกระสุนปืนใหญ่ ระเบิด เมื่อสัมผัสกับออกซิเจนจะติดไฟได้ และเกิดความร้อนสูงถึง 815 องศาเซลเซียส มักถูกใช้ในวัตถุประสงค์ทางการทหารเพื่อการอำพรางตัว แต่ฟอสฟอรัสขาวก็ยังทำให้เกิดบาดแผลร้ายแรงได้เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง

ฟอสฟอรัสขาวไม่ถือว่าเป็น "อาวุธเคมี" เพราะมันทำงานได้ต้องอาศัยความร้อนและเปลวไฟเป็นหลัก
ผู้ได้รับบาดเจ็บจากฟอสฟอรัสขาวในสงครามอื่นๆ

ผู้ได้รับบาดเจ็บจากฟอสฟอรัสขาวในสงครามอื่นๆ

ผู้ได้รับบาดเจ็บจากฟอสฟอรัสขาวในสงครามอื่นๆ

แผลที่ถูกฟอสฟอรัสขาวกัด จะมีลักษณะเหมือนแผลไฟไหม้ และรุนแรงถึงกระดูก แผลของผู้ที่สัมผัสจะหายช้าหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี เช่นต้องเอาฟอสฟอรัสขาวออกจากแผลให้หมด ไม่เช่นนั้นจะเกิดบาดแผลเรื้อรัง และสามารถลุกติดไฟได้หากฟอสฟอรัสขาวที่ค้างในผิวหนังเจอกับออกซิเจน  

ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากฟอสฟอรัสต้องทนทุกข์ทรมานตลอดชีวิต จากการหดตัวของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออื่นๆ ทำให้เคลื่อนไหวได้ลำบาก เมื่อเวลาผ่านไป แผลที่ได้รับบาดเจ็บจะเปลี่ยนเป็นแผลเป็นแบบไฟไหม้ และสร้างความเจ็บปวดทางจิตใจได้

สถานะของฟอสฟอรัสขาวตามกฎหมายระหว่างประเทศ

"ฟอสฟอรัสขาว" ถือเป็นอาวุธชนิดหนึ่งในการภาวะสงคราม แม้ว่าอาวุธที่ก่อให้เกิดเพลิงไหม้ จะไม่ได้ถูกห้ามอย่างชัดเจนตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ แต่ตามหลักปฏิบัติสากลถือว่ารัฐต่างๆ ต้องใช้มาตรการป้องกันที่เป็นไปได้ทั้งหมดเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายต่อพลเรือนที่เกิดจากอาวุธเหล่านั้น

นอกจากนี้ อาวุธเพลิงยังอยู่ภายใต้ระเบียบข้อ 3 ของ CCW ปาเลสไตน์และเลบานอนได้เข้าร่วมระเบียบข้อ 3 ในขณะที่อิสราเอลยังไม่ได้ให้สัตยาบันระเบียบข้อ 3 ห้ามการใช้อาวุธเพลิงที่ทิ้งลงทางอากาศใน "ชุมชน" แต่กระนั้น ก็มีช่องโหว่ใหญ่ๆ 2 ช่อง คือ 

  1. มีการจำกัดอาวุธที่ใช้ทำสงครามที่ยิงจากภาคพื้นสู่พื้นที่รวมตัวของคน ไม่ว่าจะเป็นชุมชน แหล่งที่พักอาศัย แหล่งผู้ลี้ภัย "แต่ไม่ใช่ทั้งหมด" 
  2. คำจำกัดความของการใช้อาวุธเพลิง คือ จำกัดเฉพาะสิ่งที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้เป็นหลัก เพื่อป้องกันการจุดไฟและเผาผู้คน ช่องโหว่คือ คำจำกัดความนี้ไม่รวมอาวุธยุทโธปกรณ์อเนกประสงค์ เช่น อาวุธที่มีฟอสฟอรัสขาว ที่ถูกใช้เพื่อการอำพรางตัวทางการทหาร
ควันที่เกิดจากการสัมผัสออกซิเจนของฟอสฟอรัสขาว

ควันที่เกิดจากการสัมผัสออกซิเจนของฟอสฟอรัสขาว

ควันที่เกิดจากการสัมผัสออกซิเจนของฟอสฟอรัสขาว

ผลกระทบเหล่านี้ ทำให้องค์กร Human Rights Watch และ รัฐภาคีของ CCW หลายแห่งแนะนำให้ปิดช่องโหว่ดังกล่าวและพัฒนาข้อจำกัดในการใช้อาวุธเพลิงไหม้ภาคพื้นดินเพิ่มขึ้น

CCW คือ อนุสัญญาว่าด้วยอาวุธธรรมดา ซึ่งปัจจุบันเป็นกฎหมายระหว่างประเทศเพียงฉบับที่ควบคุมอาวุธเพลิง

แนวปฏิบัติในอดีตของอิสราเอลเกี่ยวกับฟอสฟอรัสขาว

Human Right Watch ระบุว่าตั้งแต่ 27 ธ.ค.2551 - 18 ม.ค.2552 หรือราว 23 วัน อิสราเอลยิงกระสุนฟอสฟอรัสขาวกว่า 200 ลูกเข้าไปในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นในกาซา ทำให้เกิดเพลิงไหม้เป็นบริเวณกว้าง กระทรวงการต่างประเทศอิสราเอลระบุว่า กองทัพอิสราเอลใช้กระสุนเพียงเพื่อสร้างม่านควันเท่านั้น

แต่ในมุมมองของ Human Right Watch เห็นว่า ไม่ว่าจุดประสงค์ที่ชัดเจนคืออะไร แต่เหตุการณ์นั้นทำให้พลเรือนในกาซา บาดเจ็บ และ ล้มตายหลายสิบคน นอกจากนี้ ฟอสฟอรัสขาว ยังสร้างความเสียหายให้กับที่อยู่อาศัยและสถานที่สำคัญอีกมาก เช่น โรงเรียน ตลาด ค่ายผู้อพยพ และ โรงพยาบาล

การโจมตีดังกล่าวสร้างความไม่พอใจทั้งในและต่างประเทศ ในปี 2556 "อิสราเอล" ให้คำมั่นต่อศาลสูงสุดระหว่างประเทศว่าจะไม่ใช้ "ฟอสฟอรัสขาว" กับพลเรือนเมื่อโจมตีกาซาอีกต่อไป แต่ก็ยังมีบันทึกท้ายข้อความว่า แม้ว่าคำมั่นสัญญาต่อศาลฯ ว่าจะไม่ใช้ แต่จะไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายอย่างเป็นทางการ 

นอกจากนี้ในปี 2556 กองทัพอิสราเอลยังประกาศว่ากำลังพัฒนาควันเพื่ออำพรางตัวแบบใหม่ที่ปราศจากฟอสฟอรัสขาว แต่ระบุว่าขอสงวนสิทธิ์ในการใช้และสะสมกระสุนฟอสฟอรัสขาวจนกว่าจะมีทางเลือกอื่นเพียงพอ 

อ้างอิง : Human Right Watch 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง