ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สธ.สั่งทุกกรมเช็ก ขรก.รวยผิดปกติ หวั่นซ้ำรอย ซี 7 ทุจริตจัดซื้อ

สังคม
8 ธ.ค. 66
14:08
1,632
Logo Thai PBS
 สธ.สั่งทุกกรมเช็ก ขรก.รวยผิดปกติ หวั่นซ้ำรอย ซี 7 ทุจริตจัดซื้อ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"หมอชลน่าน" ลั่น เตรียมสังคายนาระบบจัดซื้อจัดจ้างใหม่ ไม่ใช่คน ไม่ใช่ดุลยพินิจ แต่ใช้เทคโนโลยี อุดช่องโหว่ทุจริต พร้อมจับตาขร้าราชการร่ำรวยผิดปกติ อาจส่อทุจริต หลัง 2 แม่ลูกข้าราชการกรมวิทย์ฯทุจริต

วันนี้ (8 ธ.ค.2566) นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข กล่าวถึงกรณี สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ป.) พร้อมสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)

จับกุม ข้าราชการซี 7 พร้อมลูกสาว ที่รับราชการอยู่ในสังกัดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ฐานทุจริตปลอมแปลงเอกสารเบิกจ่าย งบประมาณจัดซื้อจัดจ้าง และมีลูกเขยร่วมกระทำผิดด้วย

ว่า ได้รับรายงานจาก นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์วานนี้ ซึ่งการดำเนินการจากนี้ จะต้องแยกความผิดตามกฎหมายอาญา กับวินัยราชการ เนื่องจาก ผอ.กองคนเดิมได้รับแจ้งจาก ป.ป.ท.ว่า มีผู้ร้องเรียนเรื่องนี้ ติดตามเรื่อยมา จนส่งต่อให้อธิบดีคนใหม่ เริ่มทำงานร่วมกับ ป.ป.ท.ตรวจสอบ จนได้ข้อมูลที่ชัดเจน และดำเนินการตามกฎหมาย

ลดการใช้คน ใช้เทคโนโลยีป้องกันทุจริต

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

นพ.ชลน่าน กล่าวว่า วันนี้เป็นวันต่อต้านทุจริตโลก ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้น ต้องยอมรับระบบกลไกลการทำงานมีปัญหา และมีช่องโหว่ทำให้การทุจริตเกิดขึ้น แน่นนอนว่าแม้จะออกแบบระบบมาดีแค่ไหน แต่หากคนตั้งใจจะโกง ก็ย่อมเก่งกว่าระบบ เพราะไม่ว่าลายเซ็นปลอมได้ สินค้าก็ปลอมได้ ทั้งนี้เตรียมสังคายนาระบบใหม่ นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการแก้ไข มาตรวจสอบ เพื่อลดการใช้คน การใช้ดุลยพินิจมาเป็นตัวตัดสิน

เชื่อว่าในกมลสันดาน ว่าไม่มีใครอยากโกง แต่เหตุผลความจำเป็นส่วนตัว ครอบครัว จังหวะ โอกาสเอื้อ ย่อมโน้มน้าวชักจูงให้เค้าเข้าสู่ตรงนั้นได้ ถ้าระบบไม่เอื้อ มีระบบที่ชัดเจน มันสามารถที่จะป้องกันทุกขั้นตอน

ส่วนเรื่องของมูลค่าความเสียหาย นพ.ชลน่านกล่าวว่า ก็ต้องตรวจสอบว่ามีการนำเงินของหลวงไปใช้ผิดประเภทหรือไม่ ถ้าพบผิดประเภทก็ต้องเรียกคืน ถ้ามีหลักฐานชัดก็ต้องนำมาคืนหลวงให้ได้ สำหรับบทลงโทษ ต้องว่าไปตามกฎหมาย คือ ความผิดทางอาญาก็ว่าไปอยู่ศาลทุจริต กระทรวงสาธารณสุข ดูเรื่องวินัย ซึ่งจะรีบเร่งรัดดำเนินการให้เร็วที่สุด แต่ไม่สามารถกำหนดกรอบเวลาได้

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

นำข้อมูล ป.ป.ท.มาตั้งสอบวินัยข้าราชการ

นพ.โอกาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สำหรับขั้นตอนการดำเนินการจากนี้ ในส่วนของข้าราชการ ซี 7 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์นั้น เป็นอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของอธิบดี ตามระบบการตรวจสอบไม่เกี่ยวข้องกับสำนักปลัดกระทรวงฯ

แต่เมื่อมีลักษณะเช่นนี้ ก็ให้รายงานผลกลับมาเพื่อให้ รมว.สาธารณสุข รับทราบ ระหว่างนี้การดำเนินการตามกฎหมายจะดำเนินการคู่ขนานในทางกฎหมายอาญา และการตรวจสอบทางวินัยข้าราชการ

ซึ่งต้องดูว่า มีมูลความผิดหรือไม่ หากมีมูลความผิดก็สามารถดำเนินการตามระเบียบข้าราชการได้ทันที หรือ หากข้อมูลของป.ป.ท.แน่นหนา ก็สามารถเอาผลตรงนี้มาเป็นตัวตั้งเพื่อตรวจสอบทางวินัยได้ทันที

สั่งจับตา "พฤติกรรมร่ำรวย" อาจส่อทุจริต

นพ.โอภาส กล่าวว่า เพื่อเป็นการอุดช่องโหว่ของระบบเตรียมเรียกสำนักตรวจสอบ ของทั้งกระทรวง ในทุกกรมกองมาหารือกัน เพื่ออุดช่องโหว่ และขอให้ตรวจตราใน 2 ข้อคือ

1 พฤติกรรมของดำเนินการตรวจสอบของข้าราชการผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อ หรือ ตรวจสอบ ว่า มีความร่ำรวยผิดปกติหรือไม่ หากว่ามีก็อาจเข้าข่าย เหมือนเช่นข้าราชการรายนี้ ที่มีรถยนต์มากถึง 10 คัน ไม่ได้ร่ำรวยแต่กำเนิด

2.ให้เร่งรายงานทันทีหากมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ส่วนปกติขั้นตอนการตรวจสอบรับพัสดุ ในระบบข้าราชการจะหมุนเวียนกัน นั้น ก็ทราบจากข่าวว่ามีปลอมลายเซ็น ผอ.กอ. ต้องเข้าไปดูแล เพราะการจัดซื้อในวงเงิน 1 แสนบาทเป็นอำนาจของผอ.กอง จากนั้น เป็นอำนาจของ รองอธิบดี และอธิบดี ตามลำดับขั้นตอน

จุดที่แม่ลูกคู่อยู่ คือการจัดซื้อจัดจ้างในจุดเดียวกัน จึงเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา อย่าให้เกิดแบบนี้ขึ้น เพราะจะเหมือนกับฮั้วกันในตัว ก็คงจะกำชับประเด็นนี้เพิ่มเติม คนมีอำนาจอนุญาตจัดซื้อจัดจ้าง ต้องมีการบาลานซ์ ไม่ใช่คนใดคนหนึ่งกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ครอบครัวเดียวกันก็ไม่น่าเหมาะสม

ยังไม่ถึงคราวเรียกสอบ อดีตอธิบดีย้อนหลัง 

ส่วนกรณีเหตุการณ์ทุจริตที่เกิดขึ้น ทำมาเป็นขบวนการนับ 10 ปีนั้น ต้องเชิญอดีต อธิบดีมาร่วมตรวจสอบด้วยหรือไม่ นพ.โอภาสกล่าวว่า ขณะนี้ ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตรวจสอบ ทวนข้อมูล ขึ้นอยู่กับหลักฐาน ว่าไปถึงจุดไหน ไล่ระดับ ผอ.มาก่อน ว่าความเกี่ยวพันแค่ไหน มีส่วนรู้เห็นหรือไม่ ก็ต้องว่ากันไปเป็นตอนๆ เพราะเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรง

ทั้งนี้ การดำเนินการทางวินัยข้าราชการ ตามปกติจะมีการตั้งคณะกรรการสืบสวนข้อเท็จจริง หากพบว่ามีมูลตามข้อกล่าวหาก็จะตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย ซึ่งโทษทางวินัยราชการจะมี 2 ระดับ คือ โทษวินัยไม่ร้ายแรง ได้แก่ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน และโทษวินัยร้ายแรง คือ มีการปลดออก และไล่ออก

 อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : แถลงจับข้าราชการ ซี 7 ทุจริตจัดซื้อวัสดุ ทำมา 10 ปี สูญ 51 ล้าน  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง