ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"กิจการร่วมค้า-ไชน่า เรลเวย์" คว้า 20 โครงการรัฐ มูลค่า 1.2 หมื่นล้าน

อาชญากรรม
2 เม.ย. 68
17:24
511
Logo Thai PBS
"กิจการร่วมค้า-ไชน่า เรลเวย์" คว้า 20 โครงการรัฐ มูลค่า 1.2 หมื่นล้าน
อ่านให้ฟัง
09:10อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

ยังพบความผิดปกติต่อเนื่อง หลังอาคารสตง.มูลค่า 2,136 ล้านบาท ถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว ล่าสุด กิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซีนัมเบอร์เทน (ไทย) หรือ ITD - CREC NO.10 ในฐานะผู้รับจ้างก่อสร้างได้ ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 ยืนยันว่า วัสดุก่อสร้างตึก สตง.เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาโครงการ (TOR) ผ่านกรรมการตรวจรับวัสดุเข้มงวด และพร้อมฟื้นฟูเยียวยาเต็มที่ ขอทุกฝ่ายรอผลตรวจสอบทางวิศวกรรมอย่างเป็นทางการ

CREC NO.10 หรือ China Railway No.10 Engineering Group Co., Ltd. คือ บริษัทรับเหมารายใหญ่จากจีน พันธมิตรร่วมในกิจการร่วมค้า "ไอทีดี–ซีอาร์อีซี" ร่วมกับบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)

เหตุการณ์ผ่านมาแล้ว เกือบหนึ่งสัปดาห์ สื่อหลายสำนักพยายามคลี่ปมปริศนาโครงการก่อสร้างดังกล่าว โดยเฉพาะการรับเหมาก่อสร้างของ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ ฯ ซึ่งเป็นของทุนจีน และเข้าข่ายใช้คนไทยเป็นนอมินีถือหุ้น คือ นายโสภณ มีชัย (49 % ของ 51 ล้านบาท), นายประจวบ ศิริเขตร (40.8 % ของ 51 ล้านบาท) และนายมานัส ศรีอนันท์ (10.2 % ของ 51 ล้านบาท) ให้เกิน 50% เพื่อไม่ให้ขัดกฎหมายไทยว่าด้วย พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 2542

โดยมีการตามไปยังจุดที่ตั้งสำนักงานฯ ซึ่งมีการเคลื่อนย้ายเอกสาร รื้อป้าย สำนักงานออก ขณะที่บ้านพักของ "ผู้ถือหุ้นชาวไทย" ในบริษัทต่าง ๆ รวมทั้งบริษัทไชน่า เรลเวย์ฯ  และบริษัทอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ซึ่งพบว่าไม่อาจอยู่ในสถานะที่จะเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวได้

นอกจากนี้ ยังพบความเชื่อมโยงในประเด็น วัสดุ อุปกรณ์ก่อสร้าง โดยเฉพาะเหล็กประเภทต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการก่อสร้างที่มาจาก 3 บริษัท คือ บริษัททาทา สตีล จำกัด (อินเดีย) และบริษัท ที วาย สตีล จำกัด (บริษัทร่วมทุนไทยและจีน) และบริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด (จีน) แต่จากการสุ่มตัวอย่างเพื่อนำไปตรวจสอบพบ 2 ไซส์ที่ตกมาตรฐานเป็นเหล็กของบริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล ซึ่งตั้งอยู่ใน จ.ระยอง ด้วย

คว้า 20 โครงการ "กิจการร่วมค้า-ไชน่า ฯ" รับงานภาครัฐ

สำหรับบริษัทไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) แม้จะจดทะเบียนจัดตั้งเมื่อปี 2561 ด้วยทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท แต่สามารถประกอบกิจการในนามเครือข่ายกิจการร่วมค้า และเป็นผู้ชนะการประกวดราคาโครงการก่อสร้างภาครัฐได้ถึง 20 โครงการ ตั้งแต่ปี 2562-2565 ดังนี้

ปี 2562 มี 4 โครงการ

  • อาคารเรียนและสิ่งปลูกสร้างของโรงเรียนวัดอมรินทร์อมรินทราฯ มูลค่า 160 ล้านบาท
  • อาคารที่ทำการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ มูลค่า 716 ล้านบาท
  • ทาวน์โฮม 2 ชั้น และโครงการเคหะชุมชนแห่งชาติ มูลค่า 343 ล้านบาท
  • อาคารคลังพัสดุสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ มูลค่า 146 ล้านบาท

ปี 2563 มี 4 โครงการ

  • เปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ถนนอรุณอมรินทร์ การไฟฟ้านครหลวง มูลค่า 1,257 ล้านบาท
  • หอพักนักศึกษา ตำบลรัษฎา อำเภอเมืองภูเก็ต มูลค่า 132 ล้านบาท
  • อาคารศูนย์บริการลูกค้า-สำนักงานอาคารอบรมของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มูลค่า 210 ล้านบาท
  • ศูนย์ราชการจังหวัดแพร่ ตำบลน้ำซำ อำเภอเมืองแพร่ มูลค่า 540 ล้านบาท

ปี 2564 มี 7 โครงการ

  • อาคารกองบังคับการ กรมพลาธิการทหารเรือ มูลค่า 179 ล้านบาท
  • ระบบบำบัดน้ำเสียเพิ่มเติมริมคลองแสนแสบ กทม. มูลค่า 541 ล้านบา
  • หอพักบุคลากรทางการแพทย์ ตำบลท่าสุด อำเภอแม่ฟ้าหลวง มูลค่า 468 ล้านบาท
  • อาคารสถาบันวิชาการ กฟภ.ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มูลค่า 606 ล้านบาท
  • วางท่อประปาสัญญา PLT-902 การประปานครหลวง มูลค่า 347 ล้านบาท
  • อาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ ท่าอากาศยานนราธิวาส มูลค่า 639 ล้านบาท
  • อาคารชุดที่พักอาศัยข้าราชการตุลาการ ศาลยุติธรรม มูลค่า 386 ล้านบาท

ปี 2565 มี 3 โครงการ

  • อาคารผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุโรงพยาบาลสงขลาฯ มูลค่า 426 ล้านบาท
  • ถนนสาย สพ.3043 แยกทางหลวงหมายเลข 333 กรมทางหลวงชนบท มูลค่า 10.7 ล้านบาท
  • ถนนสาย สพ.4033 แยกทางหลวงหมายเลข 3502 กรมทางหลวงชนบท มูลค่า 9.9 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังมีอาคารศูนย์ฝึกกีฬามวยมาตรฐานระดับสากลสนามของการกีฬาแห่งประเทศไทย มูลค่า 608 ล้านบาท รวมทั้ง อาคาร สตง.ที่ถล่มไปมูลค่า 2,136 ล้านบาท  ทั้งหมดเป็นโครงการอยู่ระหว่างดำเนินการทั้งสิ้น ด้วยวงเงินงบประมาณมูลค่ากว่า 12,314 หมื่นล้านบาท และมีราคากลางอยู่ที่ 11,445 หมื่นล้านบาท 

โดยราคาที่ตกลงตามสัญญา อยู่ที่ 9,868 ล้านบาท ซึ่งมูลค่าความแตกต่างระหว่างวงเงินงบประมาณกับราคาที่ตกลงตามสัญญา 2,446 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 19.86 ของวงเงินงบประมาณทั้งหมด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า มีการตัดราคาในการเสนอราคากับคู่แข่งอย่างเข้มข้นและดุเดือดมาก

อย่างไรก็ตาม หากจำแนกการรับงานของ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) พบมีงานโครงการก่อสร้างภาครัฐ 4 โครงการ

และในรูปกิจการร่วมค้า AKC (อัครกร ดีเวลอปเม้นท์- ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำนวน 3 โครงการ

  • กิจการร่วมค้า CREC (China Railway Engineering Group ) จำนวน 1 โครงการ
  • กิจการร่วมค้า AKC (อัครกร ดีเวลอปเม้นท์- ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย)

คือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 2 โครงการ และศูนย์ราชการจังหวัดแพร่ 1 โครงการ

  • กิจการร่วมค้า CREC (อิตัลไทย-ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) คือ อาคาร สตง.

ดังจะเห็นว่า โครงการที่ "กิจการร่วมค้า" คว้าชัยในการประกวดราคาจัดจ้าง 20 โครงการทั้งหมดยังอยู่ระหว่างดำเนินการ รวมทั้งโครงก่อสร้างตึก สตง. ในความรับผิดชอบของ "ITD-CREC" บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเมนต์ และบริษัท China Railway No.10 Engineering Group ในฐานะผู้รับเหมาหลัก

และหลังจากดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษแล้ว ปมปริศนาจะกระจ่างชัดขึ้นว่า เหตุใด "แผ่นดิน" จึงต้องฟ้องให้สิ่งที่ซุกซ่อนอยู่ภายในตัวอาคารแห่งนี้ เปิดเผยออกมา 

อ่านข่าว : ดีเอสไอรับคดีตึก สตง.ถล่มเป็นคดีพิเศษ ชี้ความผิดนอมินีชัดสุด

กกร. ชี้ ทรัมป์ขึ้นภาษี ฉุด GOP ร่วง 0.2-0.6%

ทรัมป์ ขึ้นภาษี ไทยสูญ 8 พันล้าน เอกชนจี้ "เพิ่มนำเข้า-เจรจา FTA"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง