ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ยากันยุงเถื่อน เกลื่อนออนไลน์ "ยุงดื้อยา"ป่วยไข้เลือดออกพุ่ง

สังคม
3 ธ.ค. 66
12:58
1,608
Logo Thai PBS
ยากันยุงเถื่อน เกลื่อนออนไลน์ "ยุงดื้อยา"ป่วยไข้เลือดออกพุ่ง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

หลังจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับ ตำรวจ ปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) บุกทลายแหล่งผลิตยาจุดกันยุงเถื่อน ที่มีการผสมสารต้องห้าม เมเพอร์ฟลูทริน (Meperfluthrin) และ ไดมีฟลูทริน (Dimefluthrin โดยสามารถยึดสินค้าได้มากถึง 227,000 กล่อง มูลค่ากว่า 4,540,000 บาท

นพ.ณรงค์ อภิกุลวาณิช เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยความคืบหน้าหลังจากขยายผลการจัดกุมผลิตภัณฑ์ยากันยุงเถื่อนที่ ผสมสารต้องห้าม meperfluthrin และ dimefluthin  โดยจากการประสานข้อมูลไปยังตำรวจสอบสวนกลาง กก.4 บก. ปคบ. ยังไม่พบเบาะแสเพิ่มเติม แต่ได้มีการประสานกับแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อปิดกั้นการมองเห็นและดำเนินคดีกับผู้ขายออนไลน์ จำนวน 200 ร้าน พร้อมทำหนังสือแจ้งสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศให้มีการเฝ้าระวัง

ยากันยุงในท้องตลาด

นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช เลขาธิการอย.

นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช เลขาธิการอย.

นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช เลขาธิการอย.

ปัจจุบัน มียาจุดกันยุงในท้องตลาดที่ได้รับอนุญาตถูกต้อง 40 รายการ แบ่งเป็น ผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุงที่มีสารออกฤทธิ์ไล่ยุงเป็นสารเคมีกลุ่มไพรีทรอยด์ ซึ่งจัดเป็นวัตถุ อันตรายชนิดที่ 3 ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อย. มีการขึ้นทะเบียน 188 รายการ และผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุงที่มีน้ำมันตะไคร้หอมเป็นสารออกฤทธิ์ไล่ยุง ซึ่งจัดเป็นวัตุอันตรายชนิดที่ 1 ต้องแจ้งข้อเท็จจริงของผลิตภัณฑ์ต่อ อย.หรือ สสจ. มี 21 รายการ

ปริมาณสารกำจัดยุงเกินมาตรฐาน

นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ส่วนสารเคมีที่ตรวจพบในยาจุดกันยุงเถื่อนได้แก่ สาร meperfluthirin, สาร dimefluthrin ซึ่งเป็น สารในกลุ่มไพรีทรอยด์ (pyrethroids) ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อย. และไม่ผ่านการประเมินประสิทธิภาพ ความปลอดภัยในการใช้รวมถึงอัตราการใช้ที่เหมาะสม จึงอาจก่อให้เกิดอันตราย กับผู้ใช้ และไม่สามารถ สืบค้นข้อมูลด้านความปลอดภัยต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมของสารดังกล่าวได้ และพบว่ายังไม่เคยมีการอนุมัติ ให้ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป

• สาร meperfluthrin ไม่อยู๋ในรายการสารที่แนะนำให้ใช้โดยองค์การอนามัยโลก (WHO)

• สาร dimefluthrin องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำความเข้มข้นในยาจุดกันยุงที่ 0.004 - 0.03%  แต่ตัวอย่างยาจุดกันยุงเถื่อนตรวจพบว่า ใช้มากถึง 0.131-0.144 % ซึ่งมากกว่าที่ WHO แนะนำ 5 - 36 เท่า

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :  เปิด 3 กลไก แปลงร่างจาก ”ยุง” เป็น ”ซูเปอร์ยุง”

 "ยุงดื้อสารเคมี"ป่วยไข้เลือดออกพุ่ง 

นพ.บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

นพ.บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

นพ.บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

นพ.บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า สถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดที่ เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหนึ่งมาจากการดื้อต่อสารเคมีกำจัดแมลง ของยุงลาย โดยเฉพาะสารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มไพรีทรอยด์ ที่มีการใช้ในการควบคุมยุงลายและป้องกันโรคไข้เลือดออกในทุก ภูมิภาคของประเทศ

ในปัจจุบันจึงมีรายงานยุงลายดื้อต่อสารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มไพรีทรอยด์หลายชนิด เช่น แอลฟาไซเพอร์ , เมทริน (alpha-cypermethrin) ,ไบเฟนทริน (bifenthrin) ,เดลทาเม-ทริน (deltamethrin) ไซฟลูทริน (cyfluthrin) ,ไซเพอร์เมทริน (cypermethrin) ,แลมป์ดา-ไซฮาโลทริน (lambda-cyhalothrin) และ เพอร์เมทริน (permethrin) ในหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย

แนะสลับสารเคมีกำจัดป้อง "ยุง" ดื้อยา

ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดยุงที่มีจำหน่ายในท้องตลาด เช่น สเปรย์กำจัดยุง ยาจุดกันยุง ธูป ไล่ยุง และผลิตภัณฑ์กันยุงใช้กับเครื่องไฟฟ้า ชนิดของเหลว และชนิดแผ่น ฯลฯ ที่มีสารสำคัญหรือสารออกฤทธิ์ดังกล่าวข้างต้น จะไม่สามารถใช้ในการควบคุมยุงลายดื้อสารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มไพรีทรอยด์และป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้แนะนำให้ใช้สารเคมีกำจัดแมลงตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)ในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต เช่น 1% เฟนนิโตรไธออน (fenitrothion) และกลุ่มไพรีทรอยด์ เช่น 0.1% ทรานส์ฟลูทริน (transfluthrin) ในผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดยุง

การแก้ปัญหายุงดื้อสารเคมีกำจัดแมลงนั้น ควรสลับสับเปลี่ยนกลุ่มสารเคมีกำจัดแมลงในการควบคุมยุงลายทุก ๆ 2-3 ปี เพื่อชะลอการดื้อต่อสารเคมีกำจัดแมลง

ไข้เลือดออกคร่าชีวิตแล้ว 151 คน 

ขอบคุณกิจกรรมรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โรงเรียนนันทาราม

ขอบคุณกิจกรรมรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โรงเรียนนันทาราม

ขอบคุณกิจกรรมรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โรงเรียนนันทาราม

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่ 1 มกราคม - 29 พฤศจิกายน 2566 พบว่า มีผู้ป่วยแล้ว 139,719 คน คิดเป็นอัตราป่วย 211.28 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 151 คน คิดเป็นอัตราการเสียชีวิต ร้อยละ 0.11

แบ่งผู้ป่วยเป็นเพศชาย ร้อยละ 50.9% เพศหญิง ร้อยละ 49.1% ส่วนอาชีพที่พบป่วยมากสุด ได้แก่ นักเรียน 65,144 คน , รับจ้าง 28,477 คน และช่วงอายุที่พบอัตราป่วยมากสุด คือ 5-14 ปี จำนวน 48,010 คน ,กลุ่มอายุที่เสียชีวิตมากสุดได้แก่ 25-34 ปี จำนวน 42 คน

ส่วนปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิต ในผู้ใหญ่ พบว่า มาจากเข้ารับการรักษาในรพ.ช้า ถึง ร้อยละ 34.5 ส่วนเด็กอายุน้อยต่ำกว่า 15 ปี มาจาก ภาวะอ้วน ร้อยละ 25.6 และเมื่อผลสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย House index พบกว่าเกินมาตรฐานถึง ร้อยละ 50.5%

โลกร้อนทำวงจรชีวิตยุงเปลี่ยน 

พญ. ฉันทนา ผดุงทศ ผอ.กองโรคติดต่อนำโดยแมลง

พญ. ฉันทนา ผดุงทศ ผอ.กองโรคติดต่อนำโดยแมลง

พญ. ฉันทนา ผดุงทศ ผอ.กองโรคติดต่อนำโดยแมลง

พญ.ฉันทนา ผดุงทศ ผอ.กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ยอมรับว่า สถาน การณ์โลกร้อนทำให้วงจรชีวิตของยุงเติบโต เร็วมากขึ้น ปัจจัยการเกิดยุง เกี่ยวข้องกับทางอุตุนิยมวิทยา ทั้ง ความชื้นสัมพัทธ์ ,ปริมาณน้ำฝน และอุณหภูมิ การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ทำให้จำนวนยุงเพิ่มมากขึ้น บางประเทศที่เคยหนาวก็อุ่นขึ้น แต่ประเทศไหนที่ร้อนอยู่แล้ว ยุงก็ไม่สามารถวางไข่ได้

พญ.ฉันทนา กล่าวว่า ในปีนี้ประเทศไทยเผชิญปัญหากฝนหลงฤดู ทำให้เกิดแหล่งน้ำขังตามบ้านเรือน เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงมากขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง กำจัดน้ำขัง ตามกระถางต้นไม้ ,ขวดพลาสติก

อย่างไรก็ตามพบว่าอัตราการป่วยไข้เลือดออกในปี 2566 เมื่อเทียบกับปี 2565 พบว่า สูงขึ้น 3.4 เท่า และคาดการณ์ว่าแนวโน้มระบาดอาจข้ามปี

ดังนั้น ต้องดำเนินมาตรการต่าง ๆ อย่างเข้มข้น กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย สื่อสารความเสี่ยง เพื่อลดความรุนแรงของการระบาดและจำนวนผู้เสียชีวิต

แม้ไข้เลือดออกจะจัดเป็นโรคประจำถิ่น ในพื้นที่เขตร้อนชื้น การกำจัดวงจรลูกน้ำ-ยุงลาย "ไม่มียุง ไม่มีโรค" คือ แนวทางหนึ่งในการยุติปัญหาไข้เลือดออกที่ดีที่สุด 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง