ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"เอลนีโญ" พ่นพิษ "ฝนแล้ง-น้ำลด " กระทบพืชผลเกษตร

เศรษฐกิจ
14 พ.ย. 66
15:09
3,682
Logo Thai PBS
 "เอลนีโญ" พ่นพิษ  "ฝนแล้ง-น้ำลด " กระทบพืชผลเกษตร
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) หน่วยงานด้านสภาพอากาศ ภูมิอากาศ และทรัพยากรน้ำของสหประชาชาติ ระบุว่าปรากฏการณ์ "เอลนีโญ"รุนแรงขึ้นและความร้อนที่เกิดจากมนุษย์ด้วยการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ทำให้ปี 2559 กลายเป็นปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ อาจผลักดันให้ปี 2566 หรือ 2567 ทำลายสถิติความร้อนของปี 2559 และมีความเป็นไปได้ร้อยละ 90 ที่ปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" จะเกิดขึ้นต่อไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2566

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า โลกเผชิญปรากฎการณ์ "เอลนีโญ" มาแล้ว 5 ครั้ง ตั้งแต่ ปี 2515-2516, ปี 2525-2526,ปี 2534-2535, ปี 2540-2541, ปี 2558-2559, ปี 2566-2567

เดือน ต.ค. 2566 มีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้น คาดสร้างความเสียหายต่อภาคเกษตรไทยรวมราว 48,000 ล้านบาท

และในปี 2024 อาจทำให้เกิดสภาพอากาศที่แปรปรวนมากกว่าส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร เนื่องจากปริ มาณน้ำฝนที่น้อยลงทำให้การเพาะปลูกพืชผลได้ผลผลิตไม่ตามเป้า

พิษ"เอลนิโญ"ฝนแล้ง-น้ำลด

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า ผลผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญปีนี้หลายชนิดมีแนวโน้มลดลง สาเหตุหลักมาจากปรากฎการณ์เอลนีโญ ทำให้ฝนมาล่าช้า และปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยในช่วงเดือนมิ.ย.ถึงส.ค. 2566 เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำฝนน้อยลง ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผย ผลกระทบจากปรากฎการณ์เอลนีโญ ทำให้ฝนมาล่าช้า และปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีที่แล้ว บางพื้นที่พบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาดส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง นอกจากนี้ ในช่วงเดือนก.ย. 2566 มีฝนตกหนักมากในบางพื้นที่ซึ่งทำให้ผลผลิตบางสินค้าได้รับความเสียหาย

อ่านข่าว:

หักดิบคุมราคา “น้ำตาลทราย” ใคร? ได้-เสีย ประโยชน์

ชี้ 8 พืชผลผลิตเกษตรเสียหายหนัก

นางธัญธิตา กล่าวว่า ผลผลิตสินค้าเกษตรหลายตัวมีปริมาณลดลง เช่น ข้าวนาปี พื้นที่เพาะปลูกทั้งประเทศ 61.928 ล้านไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว ร้อยละ 1.45 และผลผลิตต่อเนื้อที่เพาะปลูกทั้งประเทศ 413 กิโลกรัมต่อไร่ ลดลงร้อยละ 2.82 ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 25.569 ล้านตันข้าวเปลือก ลดลง ร้อยละ 4.28

จากการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญในช่วงเดือนมิ.ย.ถึงส.ค. 2566 ทำให้ฝนทิ้งช่วง เกิดความแห้งแล้ง ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าว นอกจากนี้ยังเสี่ยงพบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น โรคไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น รวมทั้งปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช ยังคงมีราคาสูง เกษตรกรจึงปรับลดปริมาณการใช้

ข้าว

ข้าว

ข้าว

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พื้นที่เพาะปลูกทั้งประเทศ 6.844 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ร้อยละ 5.72 แต่ผลผลิตต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยวทั้งประเทศ 723 กิโลกรัมต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.90 ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 4.892 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.84

เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของเนื้อที่เพาะปลูก จากการที่เกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แทนมันสำปะหลังโรงงานและอ้อยโรงงาน แม้ว่าผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากฝนทิ้งช่วงและกระทบแล้งในระยะการเจริญเติบโตทำให้ฝักลีบ ขนาดเล็กไม่สมบูรณ์

มันสำปะหลัง

มันสำปะหลัง

มันสำปะหลัง

มันสำปะหลังโรงงาน พื้นที่เก็บเกี่ยวทั้งประเทศ 9.049 ล้านไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว ร้อยละ 3.22 และผลผลิตต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 3,088 กิโลกรัมต่อไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว ร้อยละ 6.05 โดยผลผลิตรวมทั้งประเทศ 27.941 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 9.08

ทั้งนี้ เนื่องจากช่วงต้นปี 2566 ประสบภาวะแล้งทำให้ต้นมันสำปะหลังโรงงานได้รับความเสียหาย จึงต้องปลูกซ้ำหลายรอบ และการขาดแคลนท่อนพันธุ์จากสถานการณ์หัวมันเน่าในปีที่ผ่านมาและภาวะแล้งช่วงต้นปี 2566 เกษตรกรบางรายจึงปล่อยพื้นที่บางส่วนให้เป็นพื้นที่ว่างเปล่าหรือปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น

ส่วนผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากภาวะแล้งตั้งแต่ต้นปีจนถึงพ.ค. 2566 ทำให้ต้นมันสำปะหลังโรงงานเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ประกอบกับสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ทำให้ต้นมันสำปะหลังเสี่ยงต่อการเกิดโรคใบด่าง เพลี้ยไฟ และเพลี้ยแป้ง

สับปะรด

สับปะรด

สับปะรด

สับปะรดปัตตาเวีย พื้นที่เก็บเกี่ยว 351,841 ไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว ร้อยละ 21.28 และผลผลิตต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 3,690 กิโลกรัมต่อไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว ร้อยละ 3.78 โดยผลผลิตรวมทั้งประเทศ 1.298 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 24.27

เนื่องจาก เกษตรกรได้ลดเนื้อที่ปลูกใหม่จากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น การขาดแคลนแรงงาน และราคาสับปะรดที่ตกต่ำ ประกอบกับบางพื้นที่ประสบภาวะแล้ง เกษตรกรบางรายจึงชะลอการบังคับออกดอกในปีนี้

ส่วนผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากในบางพื้นที่ประสบกับภาวะแล้ง ปุ๋ยเคมียังคงมีราคาสูง และราคาสับปะรดยังคงทรงตัว เกษตรกรขาดแรงจูงใจในการบำรุงรักษาจึงปรับลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลง ทำให้ต้นสับปะรดไม่สมบูรณ์ ผลมีขนาดเล็ก

ปาล์ม

ปาล์ม

ปาล์ม

ปาล์มน้ำมัน พื้นที่ให้ผลรวมทั้งประเทศ 6.248 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ร้อยละ 1.85 ส่วนผลผลิตต่อเนื้อที่ให้ผลทั้งประเทศ 2,912 กิโลกรัมต่อไร่ ลดลงร้อยละ 3.89 โดยผลผลิตรวมทั้งประเทศ 18.197 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 2.10

เนื่องจากช่วงต้นปีจนถึงเม.ย. ปี 2566 ต้นปาล์มน้ำมันได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศร้อนแล้ง ปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ทางใบบางส่วนพับ ต้นปาล์มน้ำมันไม่สมบูรณ์ ทะลายที่จะเก็บเกี่ยวในช่วงต้นปีแห้งฝ่อคาต้น

ยางพารา พื้นที่กรีดได้ 22.082 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ร้อยละ 0.24 และผลผลิตต่อเนื้อที่กรีดได้ 213 กิโลกรัมต่อไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว ร้อยละ 1.84 โดยผลผลิตรวมทั้งประเทศ 4.707 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 1.64

เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปรากฎการณ์เอลนีโญ ทำให้ฝนทิ้งช่วง เกิดภาวะแล้ง สภาพอากาศร้อนจัด เกษตรกรจึงเปิดกรีดช้า และแหล่งผลิตที่สำคัญทางภาคใต้เกิดโรคระบาดใบร่วง ส่งผลให้น้ำยางออกน้อยกว่าปีปกติ

ต้นกาแฟ

ต้นกาแฟ

ต้นกาแฟ

กาแฟ พื้นที่ปลูก 189,644 ไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว ร้อยละ 7.13 และผลผลิตต่อเนื้อที่ให้ผล 78 กิโลกรัมต่อไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว ร้อยละ 3.70 ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 14,713 ตัน ลดลงร้อยละ 11.23

เนื่องจากพื้นที่ให้ผลลดลงตามการลดลงของพื้นที่ให้ผลกาแฟพันธุ์โรบัสต้าซึ่งปลูกมากในภาคใต้ แม้กาแฟพันธุ์อาราบิก้าในแหล่งผลิตทางภาคเหนือเพิ่มขึ้น ส่วนผลผลิตต่อพื้นที่ลดลง เนื่องจากแหล่งผลิตทางภาคใต้ในช่วงปลายเดือนก.พ.ถึงต้นเดือนมี.ค. 2566 มีภาวะแล้งยาวนาน สภาพอากาศที่ร้อนจัด ทำให้ติดผลน้อย และผลที่ติดแล้ว แห้งคาต้น

มะพร้าว

มะพร้าว

มะพร้าว

มะพร้าวผลแก่ พื้นที่ให้เพาะปลูก 834,471 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ร้อยละ 2.37 และผลผลิตต่อพื้นที่ให้ผล 808 ผลต่อไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว ร้อยละ 2.65 ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 673.845 ล้านผล ลดลงร้อยละ 0.37
ตั้งแต่ช่วงต้นปี2566 จนถึงช่วงต้นฤดูฝน หลายพื้นที่ในแหล่งผลิตสำคัญของมะพร้าว มีสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย เกิดภาวะฝนแล้งต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นมะพร้าวไม่สมบูรณ์ ผลมีขนาดเล็ก และมีการสลัดผลอ่อนทิ้ง

ต้นทุนอาหารสูงกระทบ "สัตว์น้ำ"

ปรากฎการณ์เอลนิโญนอกจากจะส่งผลกระทบต่อพืชผลด้านการเกษตรแล้ว น้ำที่ลดลด เพราะฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ยังทำให้สัตว์น้ำ เช่น ปลาธรรมชาติและปลาเลี้ยงได้รับผลกระทบตามไปด้วย 

เช่น ปลานิล มีเนื้อที่เลี้ยงรวมทั้งประเทศ 533,066 ไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว ร้อยละ 1.59 ส่วนผลผลิตต่อไร่ต่อปี 481 กิโลกรัมต่อไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว ร้อยละ 3.22 ปริมาณการผลิตรวมทั้งประเทศ 256,484 ตัน ลดลงร้อยละ 4.79

โดยราคาที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงจากปีที่ผ่านมา สภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการเลี้ยง เกิดภาวะแล้งตั้งแต่ต้นปีถึงกลางปี 2566 ทำให้ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำตามธรรมชาติมีไม่เพียงพอในการเลี้ยง เกษตรกรบางรายลดปริมาณการปล่อยลูกพันธุ์ปลาเพราะต้นทุนอาหารสูงขึ้น และน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง

ปลาดุก เนื้อที่เลี้ยงรวมทั้งประเทศ 78,831 ไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว ร้อยละ 1.51 ส่วนผลผลิตต่อไร่ต่อปี 1,136 กิโลกรัมต่อไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว ร้อยละ 2.91 ปริมาณการผลิตรวมทั้งประเทศ 89,525 ตัน ลดลงร้อยละ 4.36

ทั้งนี้ราคาปัจจัยการผลิต และต้นทุนในการเลี้ยงที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรลดพื้นที่การเลี้ยงลง ส่วนผลผลิตต่อไร่ และในหลายพื้นที่ของภาคเหนือประสบปัญหาอุทกภัย ทำให้แหล่งเลี้ยงปลาดุกเสียหาย ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง

นางธัญธิตา กล่าวว่า หลังจากนี้สศก.จะติดตามสถาน การณ์การผลิต ภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง สภาพภูมิอากาศ โรคระบาดในพืชและสัตว์ ในช่วงการเจริญเติบโต จนถึงช่วงเก็บเกี่ยว ซึ่งอาจส่งผลต่อทั้งปริมาณและคุณภาพของผลผลิต เพื่อนำมาปรับค่าพยากรณ์ต่อไป

อ่านข่าว:

หนุน WTO รับมือสภาวะโลกร้อน พาณิชย์ถกเวทีเอเปคมะกัน 14-15 พ.ย.

"มันสำปะหลัง" ราคาพุ่ง แนะรัฐหาท่อนพันธุ์ทนโรค

นัดหอการค้าทั่ว ปท. ถก17-19 พ.ย.นี้ ก่อนชงสมุดปกขาวเสนอ "เศรษฐา"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง