ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ไร่ละ 1,000 ! ชาวนา 4.68 ล้านครัวเรือน รับเงินช่วยเหลือ พ.ย.นี้

เศรษฐกิจ
10 พ.ย. 66
17:00
15,717
Logo Thai PBS
ไร่ละ 1,000 ! ชาวนา 4.68 ล้านครัวเรือน รับเงินช่วยเหลือ พ.ย.นี้
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นบข. ไฟเขียว เงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ ครัวเรือนละ 20,000 บาท เริ่มจ่ายเงินเดือน พ.ย. เสนอเข้า ครม.14 พ.ย.นี้

วันนี้ (10 พ.ย.2566) นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) ว่าที่ประชุมมีมติเห็นชอบเพิ่มเติมโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ต่อครัวเรือน วงเงิน 56,321.07 ล้านบาท มีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2566/67 ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร 4.68 ล้านครัวเรือน ระยะเวลาโครงการตั้งแต่ 1 ต.ค2566 - 30 ก.ย.2567

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ประธานประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.)

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ประธานประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.)

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ประธานประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.)

สำหรับการให้เงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาทกระทรวงพาณิชย์จะเสนอเพื่อขออนุมัติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันอังคารที่ 14 พ.ย.นี้ และเริ่มจ่ายเงินให้ชาวนาให้ได้ภายในเดือน พ.ย.2566

ปีหน้าจะยกเลิกเงินจ่ายขาด ช่วยชาวนา 1,000 บาทแบบเดิม แต่ละปรับรูปแบบ เน้นการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลผลิตแทน โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปคิดวิธีการมา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ครม.ไฟเขียวออก 2 มาตรการอุ้มชาวนาพยุงราคาข้าว

"สมคิด​" เผย ครม.จ่อถกมาตรการดึงราคาข้าวช่วยชาวนา

นายภูมิธรรม กล่าวต่อว่า นบข.ได้เห็นชอบตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 7 พ.ย.ที่ผ่านมา ในโครงการสินเชื่อชะลอขายข้าวเปลือกนาปี 2566/2667 ได้แก่

  1. เห็นชอบราคารับซื้อข้าวเปลือกหอมมะลิสด ความชื้นไม่เกินร้อยละ 25 จะให้สินเชื่อตันละ 12,000 บาท และให้ค่าเก็บรักษาคุณภาพ ระยะเวลา 5 เดือน ตันละ 1,500 บาท 

    ดังนั้น หากเกษตรกรที่เก็บรักษาผลผลิตด้วยตัวเองจะได้เงินสินเชื่อ 13,500 บาทต่อตัน แต่กรณีชาวนาไม่มีที่เก็บต้องไปฝากสถาบันเกษตรหรือสหกรณ์ช่วยเก็บให้ สหกรณ์จะได้เงิน 1,000 บาท ส่วนเกษตรกรได้ 500 บาท โดยมีเป้าหมายดูดซับเปลือกหอมมะลิ ประมาณ 3,000,000 ตัน

  2. โครงการสินเชื่อสถาบันการเกษตร เข้าไปแทรกแซงตลาดหรือแย่งซื้อข้าวเปลือกในราคานำร่อง สำหรับข้าวเปลือกหอมมะลิความชื้นไม่เกินร้อยละ 25 ตันละ 12,200 บาท เพื่อให้สูงกว่าราคาตลาดและเมื่อนำมาซื้อและขายได้แล้วจะต้องแบ่งกำไรให้กับชาวนา ตันละ 200-300 บาท เป้าหมายดูดซับ 1,000,000 ตัน

โดยทั้ง 2 โครงการใช้งบประมาณจ่ายขาด 10,600 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นสินเชื่อ 44,437 ล้านบาท ซึ่งในส่วนแรก ดอกเบี้ย ธ.ก.ส. รัฐบาลช่วยจ่าย แต่ในโครงการที่ 2 ดอกเบี้ยร้อยละ 4.50-4.85 รัฐบาลจะช่วย ชดเชยร้อยละ 3.50-3.85 ขณะที่สถาบันการเงินจะชดเชยให้ร้อยละ 1 ซึ่ง 3 โครงการ คิดเป็นวงเงินรวม 66,000 ล้านบาท

อ่าน : ไทยส่งออกข้าวเพิ่ม 10% ยังติดหล่มพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ช้า 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง