นิยาม Soft Power ของเกาหลี
Soft Power ผ่านมุมมองของประเทศเกาหลีคือ เสน่ห์ที่จูงใจอีกฝ่ายหนึ่ง หรือสามารถทำให้ผู้อื่นกระทำตามได้โดยไม่จำเป็นต้องบังคับ
ความหมายที่ฟังแล้วกระชับ เข้าใจ และเห็นภาพ โดย อ.ไพบูลย์ ปีตะเสน ประธานศูนย์เกาหลีศึกษา ที่ปรึกษาสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เปรียบ Soft Power เป็นเสน่ห์ และเกาหลีก็เลือกใช้เสน่ห์เพื่อขายสินค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุตสาหกรรม เช่น อาหาร และเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือสินค้าวัฒนธรรม เช่น K-POP, ซีรีส์, ภาพยนตร์, อนิเมะ รวมถึง Webtoon แอปพลิเคชันอ่านการ์ตูนชื่อดัง
โดยสิ่งที่เกาหลีต้องทำคือ การบริหารเสน่ห์ตลอดเวลา เพื่อให้ผู้คนรู้สึกว่าอยากซื้อสินค้าเหล่านี้
อ่านข่าว : Soft Power สาย "มูเตลู" ดันเศรษฐกิจไทยกระฉูด 10,800 ล้าน
ความต่อเนื่องคือ Key Point ของ Soft Power
ในยุค 90 เกาหลีเริ่มต้นด้วยซีรีส์เกาหลี เช่น Winter Sonata, Autumn in my heart หรือ แดจังกึม ซีรีส์เหล่านี้ถือเป็นทรัพยากรที่รัฐบาลนำมาใช้เป็นอำนาจ ที่ก่อให้เกิดเป็น Soft Power ฉะนั้นซีรีส์เกาหลีเพียงหนึ่งเรื่องไม่สามารถเรียกว่า Soft Power ได้ แต่จะเป็นทรัพยากรที่รัฐบาลนำมาบริหหารให้เกิดเป็น Soft Power
และสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งคือ จะต้องผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่การผลิตออกมาชิ้นเดียวแล้วหายไป ไม่เช่นนั้นจะเหมือนกับเสน่ห์ที่มีเพียงครั้งเดียวแล้วหายไปตามกาลเวลา ทำให้ผู้ติดตามผลงานลดลงตามไปด้วย
ถ้าพูดถึง Soft Power ของวงการภาพยนตร์ สหรัฐฯ เองก็มี HollyWood ส่วนอินเดียมี BollyWood รวมถึงฮ่องกงมีเฉินหลงที่ทั่วโลกรู้จัก ขณะที่ญี่ปุ่นพยายามบริหารงานในแบบฉบับของญี่ปุ่น หรือ Soft Power ไต้หวันที่รู้จักกันเป็นอย่างดีอย่างชานม
อ่านข่าว : กระแสไทยฟู้ด "Soft Power" ดัน Thai Select รุกตลาดจีน
ซีรีส์เกาหลีในยุคเริ่มต้น
อ่านข่าวอื่น : จับกระแสการเมือง:วันที่ 7 พ.ย.2566 รัฐบาลซานตาคลอสจัดหนัก "ลดแลก แจกไม่อั้น"
"สัปเหร่อ" เรียกว่า Soft Power ได้หรือไม่
มุมมองภาพยนตร์ "สัปเหร่อ" จากสายตา อ.ไพบูลย์ มองว่า "สัปเหร่อ" เป็นทรัพยากรที่สามารถนำมาบริหารให้กลายเป็น Soft Power ได้ แต่ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า Soft Power คือสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ แต่เป็นเสน่ห์ที่จูงใจผู้อื่นได้
ภาพยนตร์
อย่างภาพยนตร์เรื่องสัปเหร่อ สามารถสะท้อนวัฒนธรรมและเสน่ห์แบบไทยออกมาได้ นอกจากนี้สิ่งสำคัญคือ จะต้องผลิตภาคต่อออกมาเรื่อยๆ จนกระทั่งต่างชาติเห็นว่าสิ่งนี้คือ Soft Power ของไทย
ฉะนั้นแล้วผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียวไม่สามารถประกอบสร้างเป็น Soft Power ระยะยาวได้ เพราะเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น หากจะทำให้คนรู้จักเมืองไทยจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อดึงดูดชาวต่างชาติให้ได้ เราต้องทำคนนึกถึงหนังสยองขวัญนึกถึงประเทศไทยเป็นประเทศแรกให้ได้
Soft Power กับ Viral ต่างกันอย่างไร
Soft Power กับ Viral ต่างกันเรื่อง "ความยั่งยืน" อ.ไพบูลย์ยกตัวอย่างความทรงจำในสมัยเด็กว่า เคยดูภาพยนตร์อินเดียเรื่อง "ช้างเพื่อนแก้ว" ที่มีนางเอกขี่ช้าง เป็นเรื่องที่แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 40 ปี ก็ยังคงจดจำเอกลักษณ์นี้ได้
แตกต่างจาก Viral ที่มีผลในระยะสั้นและจะหายไปตามกาลเวลา
Viral คือสิ่งที่บอกกันปากต่อปาก
เพราะฉะนั้นในเชิงระดับประเทศ Soft Power มีความยั่งยืนกว่า รวมถึงสามารถนำไปใช้เป็นกลยุทธ์ด้านอื่นๆ ได้ เช่น แบรนด์ Samsung ที่ก่อนหน้านี้ผู้คนไม่นิยมใช้ แต่เกาหลีใช้ Soft Power เพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ ทำให้ Samsung มีภาพจำที่ดีขึ้น และมีผู้ใช้งานมากขึ้นตามไปด้วย
อ่านข่าวอื่น :
ครั้งแรก! "เศรษฐา" ชื่นมื่นดินเนอร์พรรคร่วม-สยบเกาเหลา
แด่วันคนโสด รู้หรือไม่ ทำไม "ควีนเอลิซาเบธที่ 1" ถือพรหมจรรย์