วันนี้ (2 พ.ย.2566) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษการปฏิรูปเศรษฐกิจไทยท่ามกลางวิกฤตรอบด้าน จัดโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่า ช่วงหลายปีที่ผ่านมาไทยเผชิญปัญหาเศรษฐกิจโลกซบเซา การแพร่ระบาดของโควิด-19 การพัฒนาด้านเทคโนโลยี ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา GDP ของไทยเติบโต เฉลี่ยเพียง 1.8% ต่อปี หนี้ครัวเรือนยังเพิ่มขึ้นจาก 76% ในปี 2555 เป็น 91.6% ในปี 2566 เศรษฐกิจไทย จึงยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่
สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เร่งด่วนของรัฐบาล คือการทําให้เศรษฐกิจกลับมาเดินหน้า และเตรียมพร้อมไทยให้ประสบความสําเร็จในระยะยาว ผ่านการลดค่าครองชีพ ส่งเสริมการใช้จ่ายภายในประเทศ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน สร้างโอกาสให้คนไทย และขยายการลงทุนและธุรกิจ
อ่านข่าว : "เศรษฐา" โรดโชว์ "แลนด์บริดจ์" เวที APEC สหรัฐฯ 11-17 พ.ย.นี้
นโยบายที่เป็น quick wins รัฐบาลได้ดำเนินการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ระงับการชําระหนี้ชั่วคราวสําหรับเกษตรกร และอยู่ในขั้นตอนของการพักหนี้ให้ SMEs ที่ได้รับผลกระทบช่วงโควิด-19
ประชุมมื้อเที่ยง เตรียมโครงการแลนด์บริดจ์ สำหรับการประชุม APEC ที่สหรัฐฯ
ดันแลนด์บริดจ์ ภายใน 10 ปี
นายเศรษฐา กล่าวว่า สำหรับมาตรการระยะกลางและระยะยาว เช่น การทูตทางเศรษฐกิจเชิงรุก เพื่อเปิดประตูสู่ตลาดใหม่สําหรับสินค้าและบริการของไทย การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและระเบียงเศรษฐกิจทั่วประเทศ การเร่งการเจรจา FTA และ Visa Free สําหรับผู้ถือหนังสือเดินทางไทย นอกจากนี้ รัฐบาลยังวางแผนปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น สนามบิน เพื่ออํานวยความสะดวกด้านการค้าระหว่างประเทศและการท่องเที่ยว
อีกหนึ่งโครงการที่สำคัญ คือ โครงการแลนด์บริจด์ เพื่อเชื่อมต่อทะเลอันดามันกับอ่าวไทย ลดระยะการเดินทางผ่านช่องแคบมะละกา เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ให้ประเทศไทย เพื่อเป้าหมายทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าและโลจิสติกส์ ระดับภูมิภาคภายในทศวรรษนี้
อ่านข่าว "สุริยะ" ยันเดินหน้าต่อ "แลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง" แต่ต้องรอ สนข.ศึกษาให้เสร็จ
นอกจากนี้ นายเศรษฐา ทวิตX Srettha Thavisin ระบุว่ามื้อเที่ยงวันนี้ เชิญนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม พร้อมด้วยปลัดกระทรวงคมนาคม พร้อมทีมงาน มาทานข้าวเที่ยง พร้อมประชุมเตรียมข้อมูลโครงการ Landbridge สำหรับการประชุม APEC ที่กำลังจะเกิดขึ้นครับ
เชื่อว่าโครงการนี้จะสามารถดึงดูดนักลงทุน และยกระดับการพัฒนาประเทศไทยไปข้างหน้าอีกขั้นหนึ่งครับ
มีรายงานว่า ในการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ระหว่างวันที่ 11-17 พ.ย.นี้ ที่ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา ของนายกรัฐมนตรี และคณะ จะนำโครงการแลนด์บริจด์ โปรโมทในเวทีประชุมดังกล่าว
สำหรับโครงการ แลนด์บริดจ์ เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน มูลค่าการลงทุนกว่า 1 ล้านล้านบาท ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ 16 ต.ค.ที่ผ่านมามีมติรับทราบในหลักการของโครงการแลนด์บริดจ์ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
มื้อเที่ยงวันนี้ ผมเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงคมนาคม พร้อมทีมงาน มาทานข้าวเที่ยง พร้อมประชุมเตรียมข้อมูลโครงการ Landbridge สำหรับการประชุม APEC ที่กำลังจะเกิดขึ้นครับ ผมเชื่อว่าโครงการนี้จะสามารถดึงดูดนักลงทุน และยกระดับการพัฒนาประเทศไทยไปข้างหน้าอีกขั้นหนึ่งครับ pic.twitter.com/HIR86SqwfS
— Srettha Thavisin (@Thavisin) November 2, 2023
ไทยลดก๊าซเรือนกระจก 15%
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065 ด้วยการลดการใช้พลังงานจากฟอสซิล โดยการเพิ่มพื้นที่ป่า และลงทุนในพลังงานหมุนเวียน
ปีที่ผ่านมาไทยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 15% ในภาคพลังงานและการขนส่ง นับเป็นโอกาสดีที่ไทยและภาคเอกชนจะร่วมมือกัน เพื่อก้าวไปสู่ความยั่งยืนและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ปาฐถกาพิเศษพูดถึงนโยบายแลนด์บริดจ์
นายกรัฐมนตรีกล่าวชักชวนให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุน รวมถึงส่งเสริมเทคโนโลยี องค์ความรู้ โดยรัฐบาลพร้อมทํางานอย่างใกล้ชิดกับ BOI และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงความสะดวกในการทําธุรกิจ สิทธิประโยชน์ กิจกรรมทางเศรษฐกิจ และโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล เพื่อให้ไทยเป็นจุดหมายปลายทางการลงทุนของภูมิภาค
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 มีการยื่นขอรับลงทุนจาก BOI เพิ่มขึ้น 70% จากปีก่อนหน้า โดยคิดเป็นมูลค่า 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และหวังว่าจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :
แลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง "ใครได้ ใครเสีย ใครคุ้มสุด"