ปลาตะเพียนขาว หรือ ปลาตะเพียนเงิน ที่เรียกติดปากกันสั้น ๆ ว่า "ปลาตะเพียน" ภาคอีสาน เรียกว่า "ปลาปาก" เป็นปลาพื้นเมืองของไทย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus gonionotus พบชุกชุมได้ในทุกแหล่งน้ำทุกภาคของไทย
ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาพื้นเมืองน้ำจืดของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาพื้นเมืองของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ นับเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยรู้จักดี และอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่มาแต่โบราณ
อ่านข่าว : One Day Trip นั่ง "รถไฟลอยน้ำเที่ยวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์" ปี 2566
เชื่อกันว่าปลาตะเพียนอยู่คู่กับ แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ในแถบภูมิภาคส่วนนี้มานานหนักหนาแล้ว นับตั้งแต่สมัยสุโขทัยหรืออาจจะก่อนกว่านั้น
ปลาตะเพียน ปลาพื้นเมืองคู่ครัวไทย อดีตเคยหวงห้าม ใครกินต้องโทษปรับ
"สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ" โปรดเสวย "ปลาตะเพียน"
ในสมัยอยุธยาตอนปลาย จากพงสาวดาร ฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรสและฉบับพระราชหัตถเลขา มีข้อความต้องกันอยู่ว่า สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ชอบเสวยปลาตะเพียน ถึงกับตั้งกำหนดโทษแก่คนที่กินปลาตะเพียนว่า จะต้องถูกปรับถึง 5 ตำลึง และในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร (เจ้าฟ้ากุ้ง) ได้พรรณนาถึงฝูงปลามีความว่า
"เทโพและเทพา ตะเพียนกาพาพวกจร
อ้ายบ้าปลาสลุมพอน ผักพร้าเพรี้ยแลหนวดพราหมณ์
เทโพพาพวกพ้อง เทพา
ปลาตะเพียนปลากาพา คู่เคี้ย
สลุมพอนอ้ายบ้าปลา หลายหมู่
ปลาผักพร้าม้าเพรี้ย ว่ายไล่หนวดพราหมณ์"
ขุนหลวงท้ายสระ โปรดเสวยปลาตะเพียน
นับว่า ปลาตะเพียน เป็นปลาน้ำจืดคู่บ้านคู่เมืองโดยแท้และเป็นปลาที่สามารถนำมาเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์ได้ง่าย จึงเป็นปลาพื้นเมืองที่ได้รับการคัดเลือก ให้ส่งเสริมในการเพาะเลี้ยงอีกชนิดหนึ่ง การเพาะเลี้ยงปลาตะเพียนนั้น ได้ดำเนินการเป็นครั้งแรก ก่อนปี พ.ศ.2503 ที่สถานีประมง (บึงบอระเพ็ด) นครสวรรค์ ต่อมาการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้รับการพัฒนา ทั้งวิธีเลียนแบบธรรมชาติและผสมเทียม ซึ่งสามารถเผยแพร่และจำหน่ายอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
อ่านต่อ : หนาวนี้เที่ยว "ทุ่งดอกบัวตอง 2566" บนดอยแม่อูคอ จ.แม่ฮ่องสอน
รูปร่างลักษณะปลาตะเพียน ปลาน้ำจืดคู่ครัวไทยมาอย่างยาวนาน
รูปร่างลักษณะปลาตะเพียน
ปลาตะเพียน มีลักษณะลำตัวแบนข้าง หัวเล็ก ปากเล็ก ริมฝีปาก ขอบส่วนหลังโค้งยกสูงขึ้นความยาวจากสุดหัวจรดปลายหาง 2.5 เท่าของความสูง จะงอยปากแหลม มีหนวดเส้นเล็กๆ 2 คู่ มีเกล็ด ตามแนวเส้นข้างตัว 29 -31 เกล็ด ลำตัวมีสีเงินแวววาว ส่วนหลังมีสีคล้ำเล็กน้อย ส่วนท้องมีสีขาว ที่โคนของเกล็ดมีสีเทาจนเกือบดำ ปลาตะเพียน ซึ่งขนาดโตเต็มที่จะมีลำตัวยาวสูงสุดถึง 50 เซนติเมตร
ปลาตะเพียน มากประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการ
ประโยชน์-คุณค่าทางโภชนาการ
ปลาตะเพียนสดน้ำหนัก 100 กรัม จะให้คุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้
- พลังงาน 110 กิโลแคลอรี
- น้ำ 74.7 กรัม
- โปรตีน 20.4 กรัม
- ไขมัน 3.2 กรัม
- กรดไขมันโอเมก้า 3 0.24 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 0.1 กรัม
- แคลเซียม 117 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 236 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 5.6 มิลลิกรัม
- ไทอะมิน (วิตามินบี 1) 0.03 มิลลิกรัม
- ไรโบฟลาวิน (วิตามินบี 2) 0.01 มิลลิกรัม
- ไนอะซิน (วิตามินบี 3) 2.7 มิลลิกรัม
อ่านข่าว : รู้จัก "ทุ่งลาวามอส" สิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติแห่งไอซ์แลนด์
ปลาตะเพียนเงินสามารถรักษาอาการ ความอ่อนแอของม้าม และกระเพาะอาหาร สูญเสียความกระหาย อ่อนแอและท้องเสีย ดับความร้อนในท้อง ให้ความชุ่มชื่นของไต และความชุ่มชื่นผิวและบำรุงผิว
เติมพลังของไต ขับปัสสาวะและบรรเทาอาการไอ หอบหืดและโรคอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถรักษาอาการปวดท้อง หรือโรคกระเพาะเรื้อรังที่เกิดจากอาหารไม่ย่อย
ปลาตะเพียนเงินอุดมไปด้วยโปรตีน และกรดอะมิโนมีผลอย่างชัดเจน ในการส่งเสริมพัฒนาการทางจิตใจ ลดคอเลสเตอรอล ลดความหนืดของเลือด และป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมอง ป้องกันมะเร็ง และส่งเสริมพัฒนาการของสมอง
ปลาตะเพียนเงินมีโอเมกา 3 ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สามารถ ยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้ ดังนั้นการบริโภคปลาตะเพียนเงินในระยะยาว จึงช่วยป้องกันมะเร็งได้อย่างมาก ดูแลผิวสวย เมื่อรับประทานปลาตะเพียนเงิน ผสมน้ำมันงา จะมีผลต่อการรักษาอาการผิวหยาบกร้าน ผมแห้ง และหลุดร่วงง่าย
เมนูยอดฮิต
- ปลาตะเพียนต้มเต้าเจี้ยว
- ต้มยำปลาตะเพียน
- ปลาตะเพียนนึ่ง
- ปลาตะเพียนต้มเค็ม
- ปลาตะเพียนทอดกระเทียม
- ปลาตะเพียนทอดขมิ้น
- ปลาส้ม
ต้มยำปลาตะเพียนรสเด็ด
ปลาตะเพียนแปรรูปเป็นเมนูปลาส้ม
ที่มา : กรมประมง , โรงเรียนบ้านควนตม , สำนักโภชนาการ กรมอนามัย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ลาบปลาตะเพียน สูตรเด็ดของไมค์ ภิรมย์พร
เปิดสูตร "ต้มยำปลาตะเพียน" ทำตามง่ายๆ
ปลาตะเพียนต้มเค็ม ทำอย่างไร ใส่เครื่องปรุงอะไรบ้าง
ปลาส้มปลาตะเพียนอินทรีย์ จ.ยโสธร
สายแซ่บถูกใจเมนูนี้ "ก้อยปลาตะเพียนใส่มดส้ม"