ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

อิสราเอลเตรียมรบรอบใหม่กับคู่แค้นเก่า "ฮิซบอลเลาะห์"

ต่างประเทศ
23 ต.ค. 66
18:48
1,806
Logo Thai PBS
อิสราเอลเตรียมรบรอบใหม่กับคู่แค้นเก่า "ฮิซบอลเลาะห์"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ศึกทางใต้กับฮามาสยังไม่มีทีท่าว่าจะจบ แต่ด้านเหนือพรมแดนติดกับเลบานอน กำลังเริ่มคลุ้งไปด้วยกลิ่นดินปืน จนอิสราเอลต้องประกาศกร้าวปราม "ฮิซบอลเลาะห์" อย่าแม้แต่คิดที่จะรบ เพราะนั่นจะเป็นการตัดสินใจที่พลาดที่สุดอย่างแน่นอน

สงครามอิสราเอล-ฮามาส ดำเนินมากว่า 2 สัปดาห์ คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วว่า 6,000 คน หลายฝ่ายประเมินกันว่าท่าทีของสงครามครั้งนี้ไม่มีทีท่าจะยุติในเร็ววัน เมื่อเบนจามิน เนทันยาฮู นายกฯ อิสราเอลประกาศกร้าว "ถอนรากถอนโคน" ฮามาส แต่ก็ใช่ว่า กลุ่มฮามาสเองจะประหวั่นพรั่นพรึง ทั้งได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มประเทศอาหรับ อิหร่าน ซีเรีย และการประกาศร่วมรบกับอิสราเอลของ "กลุ่มฮิซบอลเลาะห์" ที่มีเป้าหมายหลักอันดับหนึ่งคือ "ทำลายล้างอิสราเอล" 

สงครามปาเลสไตน์ 1948

หลังจากที่อังกฤษและประเทศสัมพันธมิตรชนะในสงครามโลกครั้งที่ 1 พวกเขาขีดพื้นที่แบ่งแยกดินแดนเป็นประเทศต่างๆ สลายมหาจักรวรรดิออตโตมัน รวมถึงให้ชาวยิวกลับเข้าสู่พื้นที่ปาเลสไตน์ในขณะนั้น สิ่งที่ตามมาคือ ความขัดข้องใจของคนที่อยู่ในพื้นที่เดิม ที่จู่ๆ ต้องมีคนอื่นเข้ามาแชร์พื้นที่ร่วมกับตน จึงเกิดความขัดแย้งเรื่อยยาวกันมาของคนในพื้นที่

อ่าน : ปูมหลังปมขัดแย้ง "อิสราเอล-ปาเลสไตน์"

เรื่อยยาวจนจบสงครามโลกครั้งที่ 2 สหประชาชาติแบ่งพื้นที่ปาเลสไตน์เป็น 2 ส่วน ชาวอาหรับปาเลสไตน์และกลุ่มสมาชิกสันนิบาตอาหรับไม่พอใจ และยื่นคำร้องปฏิเสธไม่ยอมรับข้อบังคับของ UN ในวันที่ 13 พ.ค.1948 หนึ่งวันก่อนการประกาศเอกราชรัฐอิสราเอล และไม่กี่วันต่อมา 4 ใน 7 ประเทศสันนิบาตอาหรับ อันได้แก่ อียิปต์ อิรัก จอร์แดน ซีเรีย บุกเข้าทำสงครามกับอิสราเอล

และบังคับชาวอาหรับปาเลสไตน์จำนวน 700,000 คน อพยพหนีสงครามไปอยู่ในจอร์แดน 

รบกันอย่างไม่มีใครยอมใคร แต่ทุกฝ่ายก็ได้รู้ถึงพละกำลังของอิสราเอล ที่แม้ต้องทำสงครามอย่างโดดเดี่ยว แต่ก็สามารถต้านทานกองกำลังจากหลายฝ่ายไว้ได้ จนปี 1949 อิสราเอล ลงนามข้อตกลงสงบศึกกับอียิปต์ เลบานอน ซีเรีย และ จอร์แดน เป็นอันสิ้นสุดสงครามปาเลสไตน์ 1948 อิสราเอลได้พื้นที่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 77 ของดินแดนปาเลสไตน์ทั้งหมด และแน่นอนพวกเขาออกกฎหมายทำให้พื้นที่ทุกตารางวาเป็นสิทธิโดยชอบธรรม  

ส่วนชาวปาเลสไตน์ 700,000 คนในจอร์แดน กลับมีสถานะเป็น "ผู้ลี้ภัย"

สงครามเลบานอนครั้งที่ 1

นานวันเข้ากลุ่มผู้ลี้ภัยเริ่มมีแนวความคิดที่จะทวงคืนพื้นที่บ้านเกิดตัวเองกลับคืนมา ในปี 1964 จึงก่อตั้ง "องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ หรือ Palestine Liberation Organization : PLO" พร้อมผู้นำที่ชื่อ "ยัสเซอร์ อาราฟัต (Yasser Arafat) เน้นการสู้รบแบบกองโจร เข้ามาสร้างความวุ่นวายในเขตประเทศอิสราเอลนานหลายปี

อดีตผู้นำกลุ่ม PLO ยัสเซอร์ อาราฟัต

อดีตผู้นำกลุ่ม PLO ยัสเซอร์ อาราฟัต

อดีตผู้นำกลุ่ม PLO ยัสเซอร์ อาราฟัต

จนอิสราเอลต้องออกคำเตือนไปยังจอร์แดนว่า กำลังให้ความสนับสนุนกลุ่ม PLO ซึ่งขัดต่อสัญญาสงบศึกที่ตกลงกันไว้ จอร์แดนจึงขับไล่กลุ่ม PLO และชาวปาเลสไตน์ในพื้นที่ออกไป ชาวปาเลสไตน์ต้องย้ายไปกรุงเบรุต ประเทศเลบานอน โดยความช่วยเหลือจากชาวมุสลิมในเลบานอน และคัดค้านเสียงต่อต้านของชาวเลบานอนที่นับถือศาสนาคริสต์ 

จนเกิดเป็นสงครามกลางเมืองเลบานอนระหว่างชาวเลบานอนที่นับถือศาสนาอิสลาม และ ศาสนาคริสต์ อิสราเอลเข้ามาให้ความร่วมมือกับคริสเตียนเลบานอน ส่วนซีเรียสนับสนุนมุสลิมเลบานอน 

สหประชาชาติเข้ามาไกล่เกลี่ย เป็นตัวกลางขอให้ยุติสงครามกลางเมือง  

สงครามกลางเมืองในเลบานอนปี 1982

สงครามกลางเมืองในเลบานอนปี 1982

สงครามกลางเมืองในเลบานอนปี 1982

แต่สงครามยุติได้ในปี 1983 เพราะมีมือมืดระเบิดฆ่าตัวตาย สร้างความสูญเสียต่อเจ้าหน้าที่ทหารทั้งของสหรัฐฯ ฝรั่งเศสร่วม 300 คน เหตุการณ์นั้นทำให้ทุกฝ่ายต่างถอยและถอนทหารออกมา

อิสราเอล-ฮิซบอลเลาะห์

การทำสงครามขับไล่ชาวปาเลสไตน์ในพื้นที่เลบานอนนั้น ดูไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับอิสราเอล และต้องไม่ลืมอีกหน้าที่หนึ่งคือการสร้างประเทศของตัวเองด้วย หลังจากสถาปนาเอกราชในปี 1948 ก็เท่ากับว่าอิสราเอลเองยังเป็นประเทศใหม่อยู่ อิสราเอลจึงย้ายฐานรบจากกรุงเบรุต มายังพื้นที่ทางใต้ของเลบานอน (ซึ่งติดกับทางเหนือของอิสราเอล) และยึดเอาพื้นที่ 15 กม.จากชายแดนไว้เป็นฐานทัพ

แต่ทุกที่ย่อมมีคนอยู่

ที่นั่นมีชาวมุสลิมนิกายชีอะห์อาศัยอยู่ และแน่นอนว่า ไม่มีใครยอมรับกับการถูกรุกล้ำพื้นที่โดยคนพื้นที่อื่น ชาวเลบานอนที่อยู่ที่นั่นจึงลุกขึ้นต่อต้านกองทัพอิสราเอล โดยการรวมกลุ่มกันชื่อว่า "ฮิซบอลเลาะห์ หรือ กลุ่มของพระเจ้า" 

กองกำลังฮิซบอลเลาะห์

กองกำลังฮิซบอลเลาะห์

กองกำลังฮิซบอลเลาะห์

ฮิซบอลเลาะห์-ทำลายล้างอิสราเอล

คือกองกำลังปกครองตนเองที่ได้รับการฝึกและสนับสนุนอาวุธจากอิหร่านและซีเรีย ซึ่งเป็นประเทศที่ปกครองโดยชาวมุสลิม นิกายชีอะห์ เช่นเดียวกัน ฮิซบอลเลาะห์เริ่มก่อตั้งในปี 1982 จากเหตุที่อิสราเอลบุกรุกเลบานอน โดยมีจุดประสงค์เพื่อขับไล่กองกำลังป้องกันอิสราเอลที่ยึดครองเลบานอน จนสามารถต่อสู้และขับไล่ทัพอิสราเอลออกจากเลบานอนได้ในปี 2000 ซึ่งถือเป็นผลงานสร้างชื่อให้ทั่วโลกรู้จัก "ฮิซบอลเลาะห์" อย่างเป็นทางการ 

แม้ว่าอิสราเอลจะยอมถอนกำลังทหาร แต่ฮิซบอลเลาะห์ก็ประกาศชัดว่าจะไม่ยอมวางอาวุธต่อหน้าอิสราเอล "ทำลายล้างอิสราเอล" คือประกาศิตสำคัญ 

การขับไล่กองทัพอิสราเอลไปได้ ทำให้เลบานอนให้ความยกย่อง กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ ขึ้นมาทันที และทำให้ กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ได้รับการสนับสนุนจากชาวมุสลิมในเลบานอน

ความแข็งแกร่งและบารมี

แม้จะวางตัวเป็น Non-state actor หรือ กลุ่มติดอาวุธไร้รัฐ แต่ ฮิซบอลเลาะห์ ยังขยายขีดความสามารถไปทุกมิติ สร้างอำนาจการต่อรองทุกด้าน ปัจจุบันมีเก้าอี้ในรัฐสภาเลบานอน 23 ที่นั่ง จากทั้งหมด 128 ที่นั่ง ฮิซบอลเลาะห์มีนโยบายสาธารณะหลักๆ คือการสร้างโรงพยาบาล สร้างสถานศึกษา และให้บริการด้านสังคมอื่นๆ

ปัจจุบันนี้กองทัพของฮิซบอลเลาะห์มีศักยภาพเหนือกว่ากองทัพของประเทศเลบานอน

สหรัฐอเมริกาและอิสราเอล ระบุว่า กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ได้รับความช่วยเหลือทางด้านการเงินและการเมือง รวมทั้งด้านอาวุธและการฝึกฝนจากอิหร่านและซีเรีย ซึ่งทางซีเรียเองก็ยอมรับว่าให้การสนับสนุนฮิซบอลเลาะห์จริง แต่ปฏิเสธเรื่องการส่งอาวุธให้ 

(ซ้าย) อดีต รมว.ต่างประเทศอิหร่าน และ (ขวา) เลขาธิการใหญ่พรรคฮิซบอลเลาะห์ ปี 2015

(ซ้าย) อดีต รมว.ต่างประเทศอิหร่าน และ (ขวา) เลขาธิการใหญ่พรรคฮิซบอลเลาะห์ ปี 2015

(ซ้าย) อดีต รมว.ต่างประเทศอิหร่าน และ (ขวา) เลขาธิการใหญ่พรรคฮิซบอลเลาะห์ ปี 2015

ใครที่จะตัดสินใจผิดพลาดที่สุดในชีวิต

13 ต.ค. ที่ผ่านมา ฮิซบอลเลาะห์ ประกาศยืนหยัดสู้เคียงข้างกับกลุ่มฮามาส CNN ระบุว่า ยังไม่รู้เหตุผลที่ชัดเจนที่ฮิซบอลเลาะห์เข้าแทรกแซงสงครามอิสราเอล-ฮามาส 

ยังไม่รู้ว่า ฮิซบอลเลาะห์ จะรบในนามชาวปาเลสไตน์หรือไม่ แต่สิ่งที่เหมือนกับ ฮามาส คือการทำลายรัฐยิว 

ฉากทัศน์สงคราม ความสูญเสียที่เกิดขึ้นในกาซา อาจเป็นภาพที่อิสราเอลใช้เตือนฮิซบอลเลาะห์ ว่าการโจมตีด้วยกองทัพที่ทรงอานุภาพของอิสราเอล และการหนุนหลังของสหรัฐฯ และชาติยุโรป สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างมากเพียงใด

ขณะเดียวกัน อิสราเอลก็ต้องมองเกมให้ขาด หากฮิซบอลเลาะห์ตัดสินใจร่วมรบจริง นั่นหมายถึงอิสราเอลต้องรับศึกหนักทั้ง 2 ด้าน ใต้ที่รบกับฮามาส และเหนือที่ต้องรบกับฮิซบอลเลาะห์ ที่มีทั้งซีเรีย และ กองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม ซึ่งเป็นกองกำลังชั้นยอดของอิหร่าน หนุนหลังอยู่ เท่ากับเปิดความขัดแย้งที่ไม่ใช่แค่ระหว่างประเทศ แต่ผลักให้ตะวันออกกลางเข้าสู่สมรภูมิสงคราม กับความสูญเสียที่ยากจะคาดเดา

ความสูญเสียที่มิอาจประเมินได้

ความสูญเสียที่มิอาจประเมินได้

ความสูญเสียที่มิอาจประเมินได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง