ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เสียงชาวบ้านมูโนะ "ค่าของคน" คนของใคร

ภูมิภาค
9 ต.ค. 66
18:38
1,440
Logo Thai PBS
เสียงชาวบ้านมูโนะ "ค่าของคน" คนของใคร
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
คนตาย ตายไปแล้ว แต่คนที่ยังต้องอยู่ต่อเหมือนตายทั้งเป็น

อาซีซะห์ เจ๊ะหะ มารดาเด็กหญิงวัย 12 ขวบ นูรูลกัสมี เจ๊ะอารง นักเรียนชั้น ป.6 โรงเรียนบ้านมูโนะ ที่ได้รับบาดเจ็บจากเศษกระจกตากระเด็นใสดวงตาข้างซ้าย เล่าพลางชี้มือไปที่ลูกสาว

ช่วงสายวันนี้ ( 9 ส.ค.) ชาวชุมชนมูโนะจัดงานเมาลิดนบี ร่วมกันละหมาดอาญัต เพื่อแสดงความขอบคุณชาวบ้านใกล้เคียงและชุมชนที่ให้ความช่วยเหลือหลังเกิดเหตุโกดังเก็บดอกไม้ไฟบ้านมูโนะระเบิด เมื่อวันที่ 29 ก.ค.ที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่านานกว่า 2 เดือน

อาซีซะห์ เจ๊ะหะ ชาวบ้าน บ้านมูโนะ

อาซีซะห์ เจ๊ะหะ ชาวบ้าน บ้านมูโนะ

อาซีซะห์ เจ๊ะหะ ชาวบ้าน บ้านมูโนะ

หลังเสร็จพิธีละหมาดอาญัต อีกมุมหนึ่งของปากทางเข้าหมู่บ้านมูโนะ มีเพิงพักของชาวบ้านกลุ่มหนึ่ง นั่งปรับทุกข์ถึงความช่วยเหลือจากภาครัฐที่ยังล่าช้า แม้จะมาถึงบ้าง แต่เหมือนฝนตกไม่ทั่วฟ้า บางคนได้รับ ขณะที่บางราย และหลายราย รับแล้วรับอีกอาซีซะห์ เป็นชาวบ้านมูโนะ อาศัยอยู่ในบ้านเช่า เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ลูกสาวต้องตาบอด แม้จะได้รับการเยียวยา และได้รับการดูจากเจ้าหน้าที่ในช่วงระยะสั้นๆ แต่ในระยะยาวจะทำอย่างไร หากยังไม่มีบ้านอยู่และไม่สามารถทำงานได้

"ครอบครัวมี 6 คน มีอาชีพขายข้าวแกง ตอนนี้รัฐจ่ายเงินค่าเช่าบ้านให้ 6 เดือน และมกราคม 2567 จะครบกำหนด แม้เจ้าหน้าที่จะบอกว่า หากบ้านยังสร้างไม่เสร็จก็จะออกค่าเช่าให้อยู่ต่อ ขณะที่เราต้องใช้จ่ายทุกวัน ไม่ได้ค้าขาย ไม่มีอาชีพ จะอยู่อย่างไร" อาซีซะห์ตั้งคำถาม

สุนันท์ ยูโซ๊ะ ชาวบ้านหมู่ 5 ต.มูโนะ

สุนันท์ ยูโซ๊ะ ชาวบ้านหมู่ 5 ต.มูโนะ

สุนันท์ ยูโซ๊ะ ชาวบ้านหมู่ 5 ต.มูโนะ

ขณะที่ สุนันท์ ยูโซ๊ะ เสริมว่า บ้านพัก 2 ชั้นในหมู่ 5 ต.มูโนะ เพิ่งสร้างเสร็จได้ 3 เดือนถูกแรงระเบิดสั่นสะเทือนทำให้กำแพงบ้านและหลังคาบ้าน พังและมีรอยร้าว จำเป็นต้องทุบทิ้ง ส่วนร้านจำหน่ายโทรศัพท์มือถือของตนเองในตลาดก็ถูกระเบิดกวาดเรียบ

"สร้างบ้าน 2 ชั้นหมดไป 3 ล้านกว่า ได้รับค่าประเมินความเสียหาย 45,000 บาท ส่วนร้านขายโทรศัพท์ พังยับ ได้ชดเชยมา 27,000 บาท แล้วทุกอย่างก็เงียบไป ไม่มีเข้ามาถามว่าจะอย่างต่อ บ้านต้องทุบทิ้ง กลัวถล่มลงมา ส่วนในชุมชนปรับพื้นที่แล้ว ลงเสาเอกแล้ว ถ่ายรูปเสร็จก็กลับกัน ไม่มีเรียกประชุม แจ้งความคืบหน้าให้ชาวบ้านรู้เลยว่า จะทำอะไรต่อ เมื่อไหร่จะสร้าง"

ในช่วงเวลา 2 เดือน แม้จะมีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งชาวมาเลเซีย เข้ามาบริจาคสิ่งของ เงินทอง อุปกรณ์การซ่อมแซมบ้าน ผ่านตัวแทนชุมชน คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำทางศาสนา โดยจุดหรือศูนย์รับรองบริจาค เพื่อกระจายให้ผู้ประสบภัยพิบัติในพื้นที่ อย่างต่อเนื่อง หากข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่ง คือ

มะหามะอาซือมี อารง ชาวบ้านหมู่ 1 บ้านมูโนะ กล่าว

มะหามะอาซือมี อารง ชาวบ้านหมู่ 1 บ้านมูโนะ กล่าว

มะหามะอาซือมี อารง ชาวบ้านหมู่ 1 บ้านมูโนะ กล่าว

"การแจกของบริจาคทำได้ไม่ทั่วถึง โดยเครือญาติและกลุ่มที่มีความสนิทสนมกับกลุ่มผู้นำในพื้นที่ จะได้รับแจกก่อนเสมอ และบ่อยกว่าชาวบ้านคนอื่นๆ หลายๆ ราย รับแล้วรับอีก มีคำถามว่า เขาเลือกแจกคนที่โดนระเบิด หรือเลือกแจกคนของเขา เพราะเราเสียหาย เขาไม่โทรแจ้ง ทั้งๆ ที่เบอร์โทรศัทพ์ของทุกคนที่เสียหายได้ลงทะเบียนไว้ที่เดียวกัน "มะหามะอาซือมี อารง ชาวบ้านหมู่ 1 บ้านมูโนะ กล่าว

เขาบอกว่า สิ่งที่ชาวบ้านในชุมชนต้องการมากที่สุดในขณะนี้ คือ การเร่งสร้างบ้านให้เสร็จเพื่อจะได้เข้าพักอาศัยและกลับไปประกอบอาชีพหากินตามเดิม การเทียวไปเทียวมาระหว่างบ้านเช่า ที่บางคนต้องไปเช่าที่อยู่ถึงสุไหง-โกลก หรือในตัวเมืองลำบากและมีค่าใช้จ่ายสูง ยิ่งช้า ชาวบ้านก็ยิ่งเดือดร้อน

นิฟารา เปาะอาเดะ ชาวบ้านหมู่ 1

นิฟารา เปาะอาเดะ ชาวบ้านหมู่ 1

นิฟารา เปาะอาเดะ ชาวบ้านหมู่ 1

สอดคล้องกับ นิฟารา เปาะอาเดะ ชาวบ้านหมู่ 1 ซึ่งต้องสูญเสียบ้าน ในขณะที่น้าสาวต้องสังเวยชีวิตจากแรงระเบิดในวันนั้น บ้าน 2 ชั้น ได้รับเงินเยียวยาจาก ปภ.เพียง 61,000 บาท ขณะนี้มีเพียงการถมที่ดินกับการลงเสาเอก 4 ต้น และยังไม่มีความชัดเจนถึงโครงการก่อสร้าง และผู้รับเหมาว่า ใครจะเป็นผู้ดำเนินการ

"หากเป็นไปได้อยากให้รัฐคำนวณค่าเสียหายตามความเป็นจริง เพราะเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและเงินที่ได้รับบริจาคมาก็มีพอที่จะตั้งต้น สร้างบ้านพักเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของชาวบ้านได้แล้ว บ้านหลังไหนซ่อมได้ ก็ให้ของบริจาคที่เป็นอุปกรณ์สังกะสี กระเบื้อง หรือให้เงินไปทำเอง หลังไหนต้องทำใหม่ ก็ต้องจัดสรรอย่างยุติธรรม ไม่เลือกว่า เป็นคนใกล้ชิด หรือว่าเป็นญาติ คนสนิท" หญิงสาววัย 26 ปีกล่าว

ในขณะที่ข้อมูลการให้ความช่วยเหลือของ จ.นราธิวาส จากเหตุการณ์ในวันนั้น-ปัจจุบัน ยังอยู่ที่บ้านเรือนราษฎร 649 หลัง มูลค่ารวมกว่า 147 ล้านบาท ซ่อมแซมบางส่วนแล้ว 285 หลัง ส่วนที่เหลือยังไม่มีการดำเนินการใดๆ

นาเซ วาเต๊ะ ชาวบ้านหมู่ 5 ต.มูโนะ ได้รับความเสียหายจากแรงระเบิดของโกดังเก็บพลุ ทำให้กระเบื้องหลังคาบ้านแตก แต่เนื่องจากเสียหายน้อยกว่าครอบครัวอื่นๆ แม้จะไปลงทะเบียนในฐานะผู้เสียหาย แต่ก็ยอมให้ผู้เดือดร้อนได้รับความช่วยเหลือก่อน ตัวเองจะขอใช้สิทธิคนหลังๆ

"ผมแจ้งขึ้นทะเบียนผู้เสียหาย ให้หลักฐานทั้งกับ อบต.และโรงพัก พอไปขอรับสังกะสีมาซ่อมบ้าน เขาแจ้งว่า ไม่พบรายชื่อให้ไปลงชื่อใหม่ เวลาผ่านไปครบเดือนแล้ว ตอนนี้สังกะสีสักแผ่นก็ยังมาไม่ถึงบ้านผม เขาเลือกให้คนที่ชอบพอก่อน ใครสนิทกับคนของรัฐก็ได้ไป " ชาวบ้านสะท้อนความรู้สึก

แม้ตามระเบียบกระทรวงการคลังได้อนุมัติงบประมาณจ่ายเงินให้เจ้าของบ้านที่ได้รับความเสียหาย 346 หลัง จำนวน 6,400,000 บาทเศษ เหลืออีกกว่า 300 หลัง ที่ยังไม่ได้รับเงินส่วนนี้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรอสำนักนายกรัฐมนตรีโอนเงินให้กับ จ.นราธิวาส เพื่อให้การช่วยเหลือเพิ่มเติมอีก ประมาณ 107 ล้านบาท

ส่วนสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ได้จ่ายเงินค่าเช่าบ้าน 6 เดือนให้ครอบครัวละ 3,000 บาท จำนวน 87 ครอบครัว รวมเป็นเงินกว่า 260,000 บาท ขณะที่เงินบริจาคผ่านทางจังหวัด 31 ล้านบาทได้เบิกจ่ายไปกว่า 3,900,000 บาท เหลืออีก 27,100,000 บาท

ชาวบ้านมูโนะ ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกัน คือ อยากให้เจ้าหน้าที่ทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง แจ้งความคืบหน้าในทุกสัปดาห์ หรือทุกวันศุกร์ที่มีการละหมาดใหญ่ ให้ชาวบ้านในชุมชนรับทราบว่า จะสร้างบ้านให้เสร็จได้เมื่อไหร่ และมอบหมายให้ใคร หรือหน่วยงานไหนเข้ามารับเหมาก่อสร้าง ไม่ใช่อยู่แบบไม่รู้อนาคตของตนเอง

และเหตุใดจึงคำสั่งห้ามโพสต์ข้อมูลๆ ของคนในชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อนลงโซเชียล ทั้งๆ ที่ปัญหาความเดือดร้อนยังไม่ความคืบหน้า อย่างที่ควรจะได้รับ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ขนมโบราณ 100 ปี "ตลาดยะกัง" ดินแดนปลายด้ามขวาน

เร่งซ่อมแซมบ้านเรือนชาวมูโนะ หลังเสียหายจากเหตุโกดังพลุระเบิด

"ตะโละมาเนาะ" จ.นราธิวาส มัสยิดเรือนไม้เก่าแก่ อายุเกือบ 4 ศตวรรษ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง