การอยู่อาศัยของ "แรงงานไทย" ในอิสราเอล ส่วนใหญ่ไปทำงานในภาคเกษตร ด้วยลักษณะของการที่ตั้งชุมชน อาจทำให้การติดต่อขอความช่วยเหลือมีความยากขึ้น หากไม่มีไฟฟ้า หรือสัญญาณโทรศัพท์
พื้นที่ส่วนใหญ่ของอิสราเอล เป็นดินแดนที่ค่อนข้างแห้งแล้ง จุดที่มีการทำเกษตร จะอยู่รวมกันเป็นชุมชนในรูปแบบนิคมเกษตร ที่เรียกว่า คิบบุตซ์ (Kibbutz) กับโมชาฟ (Moshav)
คิบบุตส์ เป็นฟาร์มเกษตรที่มีลักษณะเหมือนบริษัทที่มีทั้งรัฐและเอกชนเป็นเจ้าของ มีลักษณะเป็นนิติบุคคล โดยทำการผลิตและแบ่งปันผลกำไรให้สมาชิก หากดูอย่างภาพแผนผังของคิบบุตซ์ จะเห็นว่ามีชุมชนที่รวมอยู่ด้วยกันตรงจุดเดียว และมีพื้นที่ทำการเกษตรที่แผ่ขยายออกไป
โมชาฟ เป็นการตั้งชุมชนเกษตรกรรมที่มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจน คือ ตั้งชุมชนในรูปแบบวงกลมแล้วขยายออกไป ส่วนพื้นที่ซึ่งล้อมอยู่จะเป็นพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด
ยกตัวอย่างโมชาฟ นาฮาลาน ชุมชนออกแบบมาเพื่อการทำเกษตรกรรม ไม่ได้ออกแบบในการตั้งรับการโจมตี เพราะหากฝ่ายตรงข้ามล้อมได้ คนอาจหนีออกจากเมืองได้ยาก เพราะอยู่ห่างชุมชนข้างเคียง และถูกล้อมไว้ด้วยพื้นที่การเกษตร
ปัจจุบันคิบบุตซ์ มีอยู่ประมาณ 270 แห่งในอิสราเอล หากรวมโมชาฟ คาดว่าอาจอยู่ที่ 600-700 แห่ง ซึ่งแรงงานไทยจะเข้าไปทำงานในพื้นที่เหล่านี้ บางแห่งมีร้านอาหารไทย หรือร้านขายของชำ ที่ขายสินค้าจากไทยด้วย
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
กต.รายงานคนไทยตาย 12 คน "อิสราเอล" ยืนยัน 2 ข้อมูลจากนายจ้าง 10 คน
24 ชั่วโมงสงครามกลางเมือง “อิสราเอล-ฮามาส”