ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ชี้ฝนถล่ม-ลำน้ำยมแคบ ปมน้ำท่วมสุโขทัย-ตัดยอดน้ำลุ่มเจ้าพระยา

ภัยพิบัติ
3 ต.ค. 66
11:15
1,850
Logo Thai PBS
ชี้ฝนถล่ม-ลำน้ำยมแคบ ปมน้ำท่วมสุโขทัย-ตัดยอดน้ำลุ่มเจ้าพระยา
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ไขคำตอบน้ำท่วมหนัก "สุโขทัย" ปัจจัยฝนถล่มจากร่องมรสุม 3 ระลอกในพื้นที่ภาคเหนือ พื้นที่เกษตรพัง 1 แสนไร่ 4,000 ครอบครัวได้รับผลกระทบ เร่งตัดยอดน้ำเข้าเมืองสุโขทัย พร้อมสั่งรับน้ำเหนือหลากลุ่มเจ้าพระยาอีก 2-3 วัน

วันนี้ (3 ต.ค.2566) นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดแพร่ สุโขทัย ซึ่งมีน้ำท่วมในเขตชุมชนเมืองในช่วงปลายเดือน ก.ย.จนถึงขณะนี้ ปัจจัยสำคัญเนื่องจากฝนตกสะสมจากร่องมรสุมพาดผ่าน 3 ครั้งในพื้นที่ลุ่มน้ำยม ทำให้ฝนตกหนักแถว อ.วังชิ้น จ.แพร่

ทำให้ปริมาณน้ำท่าในลำน้ำยมที่มีความจุของลำน้ำแคบ โดยเฉพาะแถวศรีสำโรงเกินความจุจนล้นตลิ่ง และทำให้คันกั้นน้ำแตกหลายจุด เพราะปริมาณน้ำมากและแรง

ลำน้ำยมผ่านเขตเมืองสุโขทัย อัตราไหล 418 ลบ.ม.ต่อวินาที แนวโน้มต่ำกว่าตลิ่ง

ลำน้ำยมผ่านเขตเมืองสุโขทัย อัตราไหล 418 ลบ.ม.ต่อวินาที แนวโน้มต่ำกว่าตลิ่ง

ลำน้ำยมผ่านเขตเมืองสุโขทัย อัตราไหล 418 ลบ.ม.ต่อวินาที แนวโน้มต่ำกว่าตลิ่ง

นายทวีศักดิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับแผนการบริหารจัดการน้ำท่วมสุโขทัย เพื่อตัดยอดน้ำก่อนเข้าเมืองสุโขทัย กรมชลประทาน จะใช้ประตูระบายน้ำหาดสะพานจันทร์ ผันน้ำออกไปทางลำน้ำน่านผ่านทางคลองหกบาท และลงแม่น้ำน่าน ควบคู่กับการลดการระบายน้ำที่เขื่อนสิริกิตติ์ และอีกส่วนหนึ่งจะระบายน้ำจุดคลองหกบาท มาทางแม่น้ำยมสายเก่า ลงมาทางประตูระบายน้ำบางแก้ว ออกมาทางแม่น้ำน่าน

ส่วนแม่น้ำยมหลังจากตัดน้ำออกทางคลองหกบาทแล้ว จะระบายน้ำ 741 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งตอนนี้ระดับการไหลของแม้น้ำยมในเขตเมืองน้ำ 418 ลบ.ม.ต่อวินาที และมีแนวโน้มต่ำกว่าตลิ่ง ถือว่ามีแนวโน้มลดลง แต่ก็ต้องดูปัจจัยจากมวลน้ำหลากที่กำลังลงมาอีกระลอก

นายทวีศักดิ์ กล่าวอีกว่า ปริมาณน้ำที่แตกจากคันกันน้ำแถวอ.ศรีสำโรง ปากแควน้ำยังบ่าท่วมทุ่ง ต้องประเมินปริมาณน้ำว่าน้ำจะไหลกลับลงแม่น้ำยมและลงแม่น้ำน่าน และบางส่วนตัดยอดน้ำไปที่ทุ่งบางระกำ ที่ชาวบ้านยอมให้ใช้เป็นทุ่งรับน้ำ ซึ่งรองรับไปแล้ว 50% ยังรับปริมาณน้ำได้อีก 200 ล้านลบ.ม.

อ่านข่าว "สุโขทัย" อ่วมมวลน้ำทะลักชุมชน 500 ครัวเรือน

แผนตัดยอดน้ำลุ่มเจ้าพระยา ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเตรียมรับมวลน้ำเหนือ 2-3 วันนี้

แผนตัดยอดน้ำลุ่มเจ้าพระยา ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเตรียมรับมวลน้ำเหนือ 2-3 วันนี้

แผนตัดยอดน้ำลุ่มเจ้าพระยา ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเตรียมรับมวลน้ำเหนือ 2-3 วันนี้

เตรียมรับน้ำเหนือลงเจ้าพระยา 2-3 วัน

นายทวีศักดิ์ กล่าวอีกว่า หลังจากนั้นในอีกไม่เกิน 2-3 วันมวลน้ำจะลงมาที่เขื่อนเจ้าพระยา กรมชลฯเตรียมแผนตั้งรับ และควบคุมปริมาณน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา เป็นตัวในการบริหารตัดการน้ำผันน้ำ ออกซ้าย โดยฝั่งขวามือฝั่ง จะผันออกแม่น้ำท่าจีน แม่น้ำน้อย และคลองมะขามเฒ่าอู่ทอง และฝั่งซ้ายผันน้ำออกทาง ชัยนาท-ป่าสัก คลองระพีพัฒน์ และจะมีการสูบไปอ่างเก็บน้ำบางพระด้วย

ในการระบายน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยายังคงระบายน้ำ 1,224 ลบ.ม. ยังต่ำกว่าระดับตลิ่ง 4 เมตร โดยรองรับปริมาณน้ำสูงสุด 2,500 ลบ.ม.ต่อวินาที

เมื่อถามว่าฝนตกหนักและน้ำท่วมหลายจังหวัด เกินความคาดหมายหรือไม่ เพราะเข้าสู่ช่วงที่เอลนีโญ นายทวีศักดิ์ ยอมรับว่าปีนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ฝนตกน้อยกว่าค่าปกติ 5% ก็จริง แต่จากสภาพอากาศที่เกิดความแปร ปรวน ทำให้ปีนี้ปริมาณฝนตกจากร่องมรสุมตกแช่ในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคอีสาน 3 ครั้งทำให้น้ำมากและเกิดน้ำท่วมในหลายจังหวัด โดยเฉพาะ สุโขทัย ยังยืนยันว่ามาจากปัจจัยฝนตกหนัก

อ่านข่าว น้ำซัด "สะพานวังแขม" กำแพงเพชร ทรุดตัว

ภูมิประเทศท้องกระทะ-ไม่มีเขื่อนรองรับ

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากการลงพื้นที่น้ำท่วมแพร่และสุโขทัย ขณะนี้อ่างเก็บน้ำ และเขื่อนมีการกักเก็บน้ำเกินกว่าร้อยละ 50 ซึ่งปัญหาทางภาคกลางยังมีปัญหาอยู่ และเป็นพื้นที่ที่ต้องติดตามเฝ้าระวัง เพราะ แม่น้ำยมเป็นแม่น้ำสายเดียวที่ไม่มีเขื่อนรองรับ จึงทำให้น้ำเกิดน้ำท่วม

มวลน้ำที่ไหลมามีจำนวนมากถึง 400 ลบ.ม.ต่อวินาที เวลาฝนตกลงแม่น้ำยมไม่ว่าจะผ่านจังหวัดใดก็มีปัญหา สุโขทัยถือว่าได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะเป็นท้องกระทะ เมื่อน้ำจาก จ.กำแพงเพชร พะเยา แพร่ ล้นก็ไหลเข้าสู่สุโขทัย

ผ่านไป 2 วันความเสียหายในสุโขทัยเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว มีพื้นที่การ เกษตรที่เสียหายกว่า 100,000 ไร่ประชาชนได้รับผลกระทบกว่า 4,000 ครอบครัว
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่น้ำท่วมสุโขทัย

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่น้ำท่วมสุโขทัย

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่น้ำท่วมสุโขทัย

ทั้งนี้ได้สั่งการผู้ว่าฯ แพร่ และสุโขทัยให้ป้องกัน แต่หากยังมีน้ำเติมเข้ามาในพื้นที่ก็จะทำให้มีผลกระทบ โดยน้ำไหลผ่านแนวกั้นมาแล้ว 4 แห่ง ทำให้เกิดผลกระทบสุโขทัย แต่ขณะนี้ระบายน้ำไปทางจ.อุตรดิตถ์ แม้โครงการการปรับปรุงคลองยม-น่าน จ.สุโขทัย ยังไม่เรียบร้อยแต่ก็พยายามปล่อยให้เต็มที่

แต่ละจังหวัดที่อยู่รอบ จ.สุโขทัยไม่มีปัญหาเรื่องการปล่อยน้ำ เพราะแม่น้ำยมไม่มีเขื่อน แต่ครั้งนี้ไม่หนักเท่าปี 2554 ที่มีความเสียหาย 1.4 ล้านล้านบาท เนื่องจากแม่น้ำยมไม่มีเขื่อนกั้น ก็ทำให้เกิดความเสียหายทุกปี ทุกรัฐบาลมีความเข้าใจแก้ไขที่จะทำให้เกิดอย่างถาวร 

อ่านข่าวกอนช.คาดระดับน้ำแม่น้ำมูล จ.อุบลราชธานี สูงสุด 3 ต.ค.นี้

ระบายน้ำยมจากประตูระบายบ้านหาดสะพานจันทร์ ไม่เกิน 700 ลบ.ม./วินาทีไม่ให้กระทบชุมชนเหนือประตูระบายน้ำ

ระบายน้ำยมจากประตูระบายบ้านหาดสะพานจันทร์ ไม่เกิน 700 ลบ.ม./วินาทีไม่ให้กระทบชุมชนเหนือประตูระบายน้ำ

มวลน้ำผ่านเขตเมืองสุโขทัยแล้ว

นายโสภัญญ์ ศรีสว่างวรกุล ผอ.โครงการชลประทานสุโขทัย เปิดเผยว่า ล่าสุดมวลน้ำก้อนใหญ่จากสถานีวัดน้ำ Y14A อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ซึ่งมีอัตราการไหล เมื่อ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา 1,341 ลบ.ม.ต่อวินาที ส่วนวันที่ 2 ต.ค.ที่ผ่านมา 1,268 ลบ.ม.ต่อวินาที

โดยไหลผ่านเมื่อ 22.00 น.เมื่อคืนวันที่ 2 ต.ค.ระบายน้ำยมจากประตูระบายบ้านหาดสะพานจันทร์ ไม่เกิน 700 ลบ.ม.ต่อ วินาที คงระดับ 63-63.5 เมตรจากระดับน้ำทะเลไม่ให้กระทบชุมชนเหนือประตูระบายน้ำ

คาด 2-3 วันระดับน้ำยมจะลดลงและดึงน้ำตามทุ่งจุดพนังพัง เช่น อ.ศรีสำโรง และปากแคว ระบายได้เร็ว

แต่ยังต้องเฝ้าระวัง พื้นที่น้ำแม่รำพัน และน้ำจากเขื่อนแม่มอก มาสมทบทุ่งทะเลหลวง และอบต.บ้านกล้วย บริเวณ รพ.สุโขทัย ระดับน้ำยังเพิ่มขึ้น เร่งติดตั้งเครื่องผลักดันระบายน้ำ

อ่านข่าว เช็กเส้นทาง "โคอินุ" ทวีกำลังเป็นพายุไต้ฝุ่น

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง