ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

นักวิจัย มข.พบ “บึ้งประกายสายฟ้า” ชนิดใหม่ของโลก ในป่าชายเลนไทย

สิ่งแวดล้อม
21 ก.ย. 66
12:23
2,413
Logo Thai PBS
นักวิจัย มข.พบ “บึ้งประกายสายฟ้า” ชนิดใหม่ของโลก ในป่าชายเลนไทย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ดร.นรินทร์ ชมภูพวง อาจารย์ประจำสาขากีฏวิทยาและโรคพืชวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำทีมนักวิจัย ลงพื้นที่สำรวจพบ “บึ้งประกายสายฟ้า” ชนิดใหม่ของโลก สวยระดับอัญมณีแห่งป่า ทั้งยังเป็นบึ้งชนิดแรกของไทยที่พบในบริเวณที่เป็นป่าชายเลน

วานนี้ (20 ก.ย.2566) ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดยของ ดร.นรินทร์ ชมภูพวง อาจารย์ประจำสาขากีฏวิทยาและโรคพืชวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, นายชวลิต ส่งแสงโชติ นายปฏิภาณ ศรีรานันท์ และนายปวีณ ปิยะตระกูลชัย ร่วมกับ "โจโฉ" ยูทูปเบอร์ชื่อดัง ลงพื้นที่สำรวจและศึกษาวิจัยนำมาสู่การค้นพบบึ้งที่สวยและดึงดูดความสนใจชนิดใหม่ของโลก คือ “บึ้งประกายสายฟ้า” 

บึ้งประกายสายฟ้า Chilobrachys natanicharum มีลักษณะประกายของสีน้ำเงินและสีม่วง

บึ้งประกายสายฟ้า Chilobrachys natanicharum มีลักษณะประกายของสีน้ำเงินและสีม่วง

บึ้งประกายสายฟ้า Chilobrachys natanicharum มีลักษณะประกายของสีน้ำเงินและสีม่วง

ดร.นรินทร์ กล่าวว่า จากการศึกษาและสำรวจทีมวิจัยที่ จ.พังงา ในพื้นที่ป่าชายเลนไปจนถึงป่าไม่ผลัดใบในพื้นที่เนินเขา ส่งผลให้ทีมวิจัยค้นพบ “บึ้งประกายสายฟ้า” ซึ่งถือได้ว่าเป็นบึ้งชนิดแรกของไทยที่พบในบริเวณที่เป็นป่าชายเลน โดยบึ้งชนิดนี้จัดอยู่ในสกุล Chilobrachys ในวงศ์ย่อย Selenocosminae

ป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเป็นพื้นที่พบบึ้งประกายสายฟ้า

ป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเป็นพื้นที่พบบึ้งประกายสายฟ้า

ป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเป็นพื้นที่พบบึ้งประกายสายฟ้า

ความยากของการสำรวจบึ้งตัวนี้ คือ การอาศัยอยู่บนต้นไม้สูงในป่าชายเลน ทั้งยังอยู่ในโพรงต้นไม้ลึกและซับซ้อน ทำให้จับลำบากมาก วันที่สำรวจเราพบตัวอย่างเพียง 2 ตัวเท่านั้น หลังจากนั้นจึงไปพบเพิ่มเติมในพื้นป่าที่สูงขึ้นและพบว่ามันอาศัยได้ทั้งในดินและบนต้นไม้
แหล่งที่อยู่อาศัยที่พบบึ้งประกายสายฟ้า Chilobrachys natanicharum พบอาศัยเฉพาะบนต้นไม้ในพื้นที่ป่าชายเลน (ภาพซ้าย) และพบในโพรงดินและโพรงต้นไม้ในป่าไม่ผลัดใบในพื้นที่ลักษณะเนิน (ภาพขวา)

แหล่งที่อยู่อาศัยที่พบบึ้งประกายสายฟ้า Chilobrachys natanicharum พบอาศัยเฉพาะบนต้นไม้ในพื้นที่ป่าชายเลน (ภาพซ้าย) และพบในโพรงดินและโพรงต้นไม้ในป่าไม่ผลัดใบในพื้นที่ลักษณะเนิน (ภาพขวา)

แหล่งที่อยู่อาศัยที่พบบึ้งประกายสายฟ้า Chilobrachys natanicharum พบอาศัยเฉพาะบนต้นไม้ในพื้นที่ป่าชายเลน (ภาพซ้าย) และพบในโพรงดินและโพรงต้นไม้ในป่าไม่ผลัดใบในพื้นที่ลักษณะเนิน (ภาพขวา)

สำหรับที่มาของชื่อ “บึ้งประกายสายฟ้า” มาจากชื่อทั่วไปภาษาอังกฤษว่า “Electric-blue tarantula” ซึ่งเป็นลักษณะสีของบึ้งที่เมื่อสะท้อนกับแสงไฟแล้วมีประกายสีน้ำเงินคล้ายกับสีของ สายฟ้าสีน้ำเงิน ซึ่งตามหลักวิทยาศาสตร์แล้วสีน้ำเงินนับเป็นสีที่หายากในธรรมชาติ อันเนื่องมาจากสีน้ำเงินเป็นสีที่มีพลังงานสูง 

ด้านหน้าของบึ้งประกายสายฟ้า Chilobrachys natanicharum

ด้านหน้าของบึ้งประกายสายฟ้า Chilobrachys natanicharum

ด้านหน้าของบึ้งประกายสายฟ้า Chilobrachys natanicharum

แต่ความลับของ “บึ้งประกายสายฟ้า” คือ สีน้ำเงินที่เป็นประกายงดงามสลับกันบริเวณขาเกิดจากโครงสร้างระดับนาโนของเส้นขนบึ้ง ซึ่งมาจากการหักเหของแสงทำให้แสงสะท้อนพลังงานที่ในช่วงความถี่ของแสงสีน้ำเงิน โดยไม่ได้เกิดจากกลไกที่รงควัตถุดูดซับพลังงานเหมือนกับการเกิดสีของพืชหรือสัตว์ในธรรมชาติโดยทั่วไป

ลักษณะของสีประกายน้ำเงินปนม่วงเกิดจากโครงสร้างทางนาโนของเส้นขนของบึ้งประกายสายฟ้า

ลักษณะของสีประกายน้ำเงินปนม่วงเกิดจากโครงสร้างทางนาโนของเส้นขนของบึ้งประกายสายฟ้า

ลักษณะของสีประกายน้ำเงินปนม่วงเกิดจากโครงสร้างทางนาโนของเส้นขนของบึ้งประกายสายฟ้า

ไม่เพียงเท่านั้น “บึ้งประกายสายฟ้า” ยังปรากฏสีม่วงในบางส่วนของร่างกายด้วย ซึ่งสีม่วงเป็นสีที่มีพลังงานมากกว่าสีน้ำเงินและมีช่วงในสเปกตรัมแสงที่แคบมาก นับเป็นสีที่พบได้ยากที่สุดในสิ่งมีชีวิต

บึ้งประกายสายฟ้า Chilobrachys natanicharum

บึ้งประกายสายฟ้า Chilobrachys natanicharum

บึ้งประกายสายฟ้า Chilobrachys natanicharum

ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ของบึ้งชนิดนี้ได้ตั้งชื่อว่า Chilobrachys natanicharum  เพื่อเป็นเกียรติกับ คุณณฐกร แจ้งเร็ว และคุณนิชดา แจ้งเร็ว ผู้บริหารกลุ่มบริษัทนิชดาธานี ซึ่งเป็นผู้ประมูล เพื่อนำรายได้ทั้งหมดโดยไม่หักค่าใช้จ่ายในการสมทบทุนบริจาคช่วยเหลือเด็กที่ขาดแคลนทางการศึกษาบนดอยในโรงเรียนบ้านมูเซอและผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งที่ยากไร้

ลักษณะของสีประกายน้ำเงินพบมากบริเวณด้านข้างของขาบึ้งประกายสายฟ้า Chilobrachys natanicharum

ลักษณะของสีประกายน้ำเงินพบมากบริเวณด้านข้างของขาบึ้งประกายสายฟ้า Chilobrachys natanicharum

ลักษณะของสีประกายน้ำเงินพบมากบริเวณด้านข้างของขาบึ้งประกายสายฟ้า Chilobrachys natanicharum

บึ้งชนิดนี้นอกจากเป็นการค้นพบทางวิทยาศาสตร์แล้วยังช่วยต่อลมหายใจของผู้คนและหยิบยื่นโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กที่ห่างไกลความเจริญอีกด้วย

ลักษณะของสีประกายสีม่วงมองจากด้านบน เกิดจากโครงสร้างทางนาโนของเส้นขนของบึ้งประกายสายฟ้า Chilobrachys natanicharum ซึ่งสีม่วงคือสีที่พบได้ยากที่สุดในสิ่งมีชีวิต

ลักษณะของสีประกายสีม่วงมองจากด้านบน เกิดจากโครงสร้างทางนาโนของเส้นขนของบึ้งประกายสายฟ้า Chilobrachys natanicharum ซึ่งสีม่วงคือสีที่พบได้ยากที่สุดในสิ่งมีชีวิต

ลักษณะของสีประกายสีม่วงมองจากด้านบน เกิดจากโครงสร้างทางนาโนของเส้นขนของบึ้งประกายสายฟ้า Chilobrachys natanicharum ซึ่งสีม่วงคือสีที่พบได้ยากที่สุดในสิ่งมีชีวิต

ทั้งนี้ “บึ้งประกายสายฟ้า” นั้น ถูกนำมาเลี้ยงในกลุ่มคนนิยมเลี้ยงบึ้งมาก่อนแล้ว โดยก่อนหน้านี้มีชื่อว่า Chilobrachys sp Electric-blue โดยยังไม่มีใครจัดจำแนกและบรรยายลักษณะ รวมถึงการสำรวจว่าบึ้งชนิดนี้อาศัยอยู่ที่ไหน หรือใช้ชีวิตอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบแล้วทำให้ได้รู้ว่าเป็นบึ้งชนิดใหม่ จึงได้มีการศึกษาวิจัยก่อนที่งานวิจัยจะถูกตีพิมพ์ลงในวารสารวิจัยนานาชาติ Zookeys เมื่อวันที่ 18 ก.ย.2566 ที่ผ่านมา https://zookeys.pensoft.net/article/106278/ 

ทีมวิจัยลงพื้นที่สำรวจภาคสนามที่จังหวัดพังงา ป่าชายเลนด้านหลังคือตำแหน่งพบบึ้งประกายสายฟ้า

ทีมวิจัยลงพื้นที่สำรวจภาคสนามที่จังหวัดพังงา ป่าชายเลนด้านหลังคือตำแหน่งพบบึ้งประกายสายฟ้า

ทีมวิจัยลงพื้นที่สำรวจภาคสนามที่จังหวัดพังงา ป่าชายเลนด้านหลังคือตำแหน่งพบบึ้งประกายสายฟ้า

นอกจากนี้ ดร.นรินทร์ ยังระบุว่า บึ้งในสกุลนี้มีรายงานการพบในประเทศไทยเพียง 2 ชนิดเท่านั้น “บึ้งประกายสายฟ้า” ถือได้ว่าเป็นชนิดที่ 3 จากการค้นพบในไทยครั้งล่าสุดเมื่อ 27 ปีที่แล้ว แต่ชนิดที่พบในอดีตไม่ปรากฏความแวววาวของสีที่เป็นประกายเหมือนกับ “บึ้งประกายสายฟ้า” นับเป็นบึ้งที่มีความพิเศษลักษณะสวยงามและยังพบได้ในพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ ดังนั้น จึงควรหาแนวทางอนุรักษ์พื้นที่ป่า ให้บึ้งที่พบในป่าชายเลนตัวแรกและตัวเดียวของประเทศไทยในตอนนี้ ยังคงอยู่เป็นอัญมณีแห่งผืนป่าต่อไปในอนาคต

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

ไม้เถาล้มลุก "ดองดึง" ดอกสวยเป็นไม้ประดับ หัว-รากเป็นสมุนไพร  

“พญาแร้ง" ฮันนีมูนกลางป่าห้วยขาแข้ง รอลุ้นลูกตัวแรก  

เปิดภาพ "ปลานกแก้วหัวโหนก" ใหญ่ - หายากสุดในทะเลไทย  

น่ารัก "พิศวงตานกฮูก" พรรณไม้ที่พบเพียงปีละ 1 ครั้ง  

ค้นพบ “ระฆังอัครา” กระดังงาชนิดใหม่ของโลก 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง