ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ผู้ประกันตนชาย ม.33,39 กรณีมีบุตร รับสิทธิค่าฝากครรภ์-สงเคราะห์บุตรได้

สังคม
19 ก.ย. 66
08:31
70,699
Logo Thai PBS
ผู้ประกันตนชาย ม.33,39 กรณีมีบุตร รับสิทธิค่าฝากครรภ์-สงเคราะห์บุตรได้
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ประกันสังคม ให้สิทธิผู้ประกันตนชายมาตรา 33 และ 39 ที่มีภรรยาไม่เป็นผู้ประกันตนเบิกสิทธิค่าตรวจและฝากครรภ์ คลอดบุตร และสงเคราะห์บุตร ได้

วันนี้ (19 ก.ย.2566) นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ผู้ประกันตนมีภาระในการดูแลบุตร ทำให้สถานะทางการเงินในครอบครัวได้รับผลกระทบ ซึ่งจากสภาพดังกล่าว กระทรวงแรงงาน สำนักงานประกันสังคมได้เล็งเห็นความจำเป็น จึงได้ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายโดยผู้ประกันตนหญิง หรือชายซึ่งเปรียบเสมือนหัวหน้าของครอบครัว ที่ต้องดูแลลูก สามารถขอรับสิทธิตั้งแต่ค่าตรวจและฝากครรภ์ คลอดบุตรและสงเคราะห์บุตรได้

โดยสำนักงานประกันสังคม ให้สิทธิผู้ประกันตนชายมาตรา 33 และมาตรา 39 (ในกรณีที่ภรรยาไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39) ผู้ประกันตนชายสามารถใช้สิทธิจากกองทุนประกันสังคม แบ่งเป็น 3 กรณีตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการขอรับสิทธิประโยชน์จากสำนักงานประกันสังคมดังนี้

1. กรณีค่าตรวจและฝากครรภ์ ผู้ประกันตนชายสามารถเบิกเท่าที่จ่ายจริงจำนวน 5 ครั้ง ไม่เกิน 1,500 บาท ดังนี้
- อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 500 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 32 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 200 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ถึง 40 สัปดาห์ขึ้นไป จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 200 บาท

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนชายต้องแนบใบรับรองแพทย์ หรือสำเนาสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก ใบเสร็จรับเงินจากสถานพยาบาลที่ตรวจและฝากครรภ์ สำเนาทะเบียนสมรส สำหรับกรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีใบทะเบียนสมรส ยื่นกับสำนักงานประกันสังคมเพื่อใช้สิทธิด้วย

2. ผู้ประกันตนชายมาตรา 33 มาตรา 39 สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร จะต้องมีการส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนที่ภรรยาคลอดบุตร จะได้รับเงินเหมาจ่ายค่าคลอด จำนวน 15,000 บาท เบิกได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง

3. ผู้ประกันตนชายที่จดทะเบียนสมรสกับภรรยาหรือจดทะเบียนรับรองบุตรว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย และมีการจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ผู้ประกันตนชายสามารถขอรับสิทธิกรณีสงเคราะห์บุตรได้เดือนละ 800 บาท ตั้งแต่บุตรแรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์ อีกด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ฟรี เริ่ม 1 พ.ค.นี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง