ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ม้วนเดียวจบ ! รื้อเส้นทางธุรกิจพันล้าน “กำนันนก”

อาชญากรรม
15 ก.ย. 66
10:18
4,696
Logo Thai PBS
ม้วนเดียวจบ ! รื้อเส้นทางธุรกิจพันล้าน “กำนันนก”
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

1.ธุรกิจกำนันนก กิจการกำนันนก (ประวีณ จันทร์คล้าย) มี 3 กิจการ คือ

- บริษัท ป.พัฒนารุ่งโรจน์ก่อสร้าง จำกัด
- บริษัท ป.รวีกนกก่อสร้าง จำกัด
- หจก. ป.พัฒนารุ่งโรจน์ จำกัด

ภาพที่ 1

ภาพที่ 1

ภาพที่ 1

เมื่อตรวจสอบย้อนหลัง 12 ปีงบประมาณ ตั้งแต่ 2554-2566 พบว่า กำนันนกรับงานจัดซื้อจัดจ้างจากทั้ง 2 บริษัท และ 1 หจก. ตลอด 12 ปีงบประมาณ รวม 1,544 โครงการ

หากคิดเป็นวงเงินงบประมาณจากทุกสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง อยู่ที่ 6,964,815,249 บาท ซึ่งงบประมาณทั้งหมดนี้เป็นเงินหมุนเวียนที่ต้องผ่านระบบบัญชีของบริษัท ส่วนหนึ่งเป็นทั้งต้นทุนและกำไรจากการประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างถนน

และเมื่อเอาข้อมูลมาเข้าระบบ พบข้อมูลว่า โครงการจัดซื้อจัดจ้างที่กำนันนกได้งานมาจากที่ไหนบ้าง แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

ภาพที่ 2

ภาพที่ 2

ภาพที่ 2

กระทรวงมหาดไทยมากที่สุด จำนวน 1,277 โครงการ วงเงินสัญญา 3,336,026,192 บาท และยังแบ่งได้อีกว่า ในจำนวนโครงการของกระทรวงมหาดไทย มี 2 หน่วยงาน ที่เป็นเจ้าของโครงการ คือ
- กรมการปกครอง 71 โครงการ วงเงินสัญญารวม 65,126,672 บาท
- อีกหน่วยงานคือ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 1,206 โครงการ วงเงินสัญญา 3,270,899,520 บาท

หมายเหตุ

น่าสนใจที่ดูจะมีคำถามว่าผิดปกติหรือไม่ เมื่อกรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่น มีโครงการเป็นพันโครงการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการก่อสร้างถนน ซ่อมแซมปรับปรุงถนน ที่มีบริษัทในเครือของกำนันได้งานจัดซื้อจ้างมากที่สุด เป็นพันโครงการ และน่าจะมากที่สุด จากโครงการทั้งหมด ของ 2 บริษัทกำนันนก

- กระทรวงคมนาคม มี 2 หน่วยงาน คือ กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท ซึ่งมากที่สุด คือ กรมทางหลวงชนบท 153 โครงการ วงเงิน 1,472,375,324 บาท ส่วนกรมทางหลวง มีจำนวน 110 โครงการ วงเงินสัญญา 2,125,789,533 บาท

หากรวมงบประมาณ และจำนวนโครงการจาก 2 หน่วยงานกระทรวงคมนาคม ทั้งหมดรวม 263 โครงการ จำนวนเงินสัญญา 3,598,164,857.00 บาท

หมายเหตุ
ที่น่าสนใจของกระทรวงคมนาคม คือ จำนวนโครงการของกระทรวงคมนาคม น้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับกระทรวงมหาดไทย คือ 263 (คมนาคม) กับ 1,206 (มหาดไทย) แต่กลับพบว่า วงเงินสัญญา ของกระทรวงคมนาคม มากกว่า กระทรวงมหาดไทยครับ ประมาณ 260 ล้านบาท (3,598,164,857 > 3,336,026,192 )

- หน่วยงานอื่น ๆ ประกอบด้วย กองทัพอากาศ 2 โครงการ วงเงิน 15 ล้านบาท , สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา 1 โครงการ 9 ล้านบาท , และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน) 1 โครงการ 5 ล้านบาท

ภาพที่ 3

ภาพที่ 3

ภาพที่ 3

ดูภาพที่ 3 ลงรายละเอียดชี้เป้าให้ชัดเจนขึ้นว่า ธุรกิจของกำนันนก ทำไมจึงกว้างขวาง มีเงินหมุนเวียนมากมายสวนทางกับขนาดของกิจการ แน่นอนว่า จ.นครปฐม เป็นที่ตั้งของกิจการกำนันนก แต่ไม่แค่นั้น ถ้าไม่เห็นตัวเลข อาจดูว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา

แต่เมื่อดูจากตัวเลขโครงการและวงเงินงบประมาณพบว่า จากจำนวนโครงการทั้งหมด 1,544 โครงการ มีบริษัทของกำนันนก ได้งานใน จ.นครปฐม จากหลายหน่วยงาน ทั้ง กรมทางหลวง , กรมทางหลวงชนบท และจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ไปถึง 1,498 โครงการ วงเงินงบประมาณ 6,330,630,525.00 บาท

อาจดูไม่แปลก เพราะบริษัทก็อยู่ในนครปฐม แต่เมื่อดูข้อมูลอีกมุมหนึ่ง ก็น่าจะมีคำถามไปที่ต้นทางที่มาของงบประมาณว่า กรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่น ใช้งบประมาณที่มีผู้รับจ้าง คือ บริษัทของกำนันนก โดยเฉพาะใน จ.นครปฐม ไปถึง 1,177 โครงการ ล้วนเป็นโครงการเพื่อสร้าง หรือ ซ่อมแซมปรับปรุงถนน และใช้เงินไปมากถึง 3,228,687,165 บาท

ภาพที่ 4

ภาพที่ 4

ภาพที่ 4

ขยี้ลงรายละเอียดให้ลึกลงไปอีกว่า ใน จ.นครปฐม อำเภอ หรือ ส่วนไหนของ จ.นครปฐมที่มีโครงการมากที่สุด จากจำนวน 1,498 โครงการ ข้อมูลตัวเลขชี้เป้าไปที่ อ.เมืองนครปฐม จากจำนวน 7 อำเภอ ใน จ.นครปฐม และ อ.เมืองนครปฐม มีโครงการซ่อมแซม หรือ ก่อสร้างปรับปรุงถนนมากถึง 764 โครงการ ใช้เงินไปมากถึง 5,405,767,350.6 บาท เป็นเฉพาะโครงการที่บริษัทของกำนันนกได้งาน ไม่รวมกับบริษัทผู้รับเหมาอื่น ๆ

ภาพที่ 5

ภาพที่ 5

ภาพที่ 5

แยกรายละเอียดให้เห็นว่า แต่ละบริษัทของกำนัน ไปได้อะไรไปมากน้อยแค่ไหน จาก 7 อำเภอ ใน จ.นครปฐม

ภาพที่ 6

ภาพที่ 6

ภาพที่ 6

เราจะชี้เป้าไปให้ลึกลงไปอีก เพื่อให้เห็นชัดเจนว่า งบประมาณ และโครงการต่าง ๆ ที่บริษัทในเครือของนายประวีณ หรือ กำนันนก มีที่มาจากไหน หน่วยงานไหน เป็นคนจัดซื้อจัดจ้าง มากที่สุด และเป็นเรื่องที่ปกติ หรือไม่ หรือมีข้อสังเกต ข้อสงสัยอะไร ที่หน่วยงานด้านการปราบปรามทุจริต สนใจเป็นพิเศษ

ย้อนทบทวนกัน

หากเริ่มต้นจากข้อมูลข้างต้น ว่า 12 ปีที่ผ่านมา บริษัทกำนันได้งานรับเหมา 1,544 โครงการ 6 พัน 9 ร้อยล้านบาท มากที่สุด คือ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย 1,206 โครงการ มากกว่า 3,200 ล้านบาท

และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ยังเทงบประมาณไปที่ จ.นครปฐม ทำให้กำนันนกได้งานรับเหมาซ่อมแซม ปรับปรุง และสร้างถนน ไปถึง 1,177 โครงการ งบประมาณ 3,200 ล้านบาท แยกไปที่ อ.เมืองนครปฐม 764 โครงการ 5,400 ล้านบาท

ไม่น่าเชื่อว่า อ.เมืองนครปฐม จะมีโครงการเกี่ยวกับถนน เกือบ 1,000 โครงการ ใช้งบประมาณ ไปมากกว่า 5,000 ล้านบาท และนี่เฉพาะโครงการที่ เครือบริษัทของกำนันนก ได้งาน ยังไม่นับกิจการผู้รับเหมารายอื่น ๆ แต่ก็คงไม่มากเท่าของกำนันนก

โดยทั่วไปแล้วในจังหวัด มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานจังหวัด หลายหน่วยงานเหมือนกับจังหวัดอื่น ๆ ทั่ว ๆ ไป ครับ เช่น มีเทศบาล , มี อบต., และมี อบจ.

แต่การตรวจสอบข้อมูลเชิงลึก พบตัวเลขที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยครับ ถ้าจำข้อมูลข้างต้นได้ว่า ใน จ.นครปฐม ใช้งบประมาณเพื่อทำถนน ซ่อมแซม ก่อสร้าง หรือ ปรับปรุงถนน ที่สอดคล้องกับกิจการกำนันนก โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ อ.เมืองนครปฐม มากถึง 764 โครงการ 5,400 ล้านบาท

ดังนั้น หากนำข้อมูลนี้ไปเป็นสารตั้งต้น และให้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ลงไปขุดค้นดูข้อมูลเชิงลึกขึ้น จะเห็นข้อมูลอีกว่า ในอำเภอเมือง โดยเฉพาะ อบจ.นครปฐม ใช้งบประมาณ และมีโครงการมากที่สุด เมื่อเทียบกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ ในอำเภอเมือง เช่น อบต.หรือ เทศบาลตำบล

พบข้อมูลว่า อบจ.นครปฐม มีโครงการซ่อมแซมปรับปรุง หรือ สร้างถนน 300 โครงการใน 12 ปี วงเงินงบประมาณ 2,336,917,663 (กว่า 2,300 ล้านบาท) แยกเป็นรายบริษัทได้ด้วยครับ คือ

• บริษัท ป.พัฒนารุ่งโรจน์ก่อสร้าง จำกัด 189 โครงการ วงเงินงบประมาณรวม 1,573,022,890 (มากกว่า 1 พัน 5 ร้อยล้านบาท)
• บริษัท ป.รวีกนก ก่อสร้าง จำกัด 111 โครงการ วงเงินงบประมาณรวม 585,159,320 ( มากกว่า 585 ล้านบาท)

ข้อสังเกตถึงความไม่เป็นปกติอีกอย่างจากกิจการของนายประวีณ หรือ กำนันนก และโครงการรับเหมาทั้งหมด

ภาพที่ 7

ภาพที่ 7

ภาพที่ 7

เริ่มดูที่ปี งบประมาณครับ คือ ตั้งแต่ปีบประมาณ 58 ไปต้นมา เครือบริษัทของกำนันนก ได้งานรับเหมาก่อสร้าง เกี่ยวกับถนน เฉลี่ยเกือบ 200 โครงการทุกปี

ตัวอย่างเช่น
* ปีงบประมาณ 58 จำนวน 203 โครงการ
* ปีงบประมาณ 59 จำนวน 185 โครงการ
* จากนั้น เฉลี่ยปีละประมาณ 120- 150 โครงการ

แต่พอถึงปีงบประมาณ 2563-2564 จำนวนโครงการก็กลับมาเพิ่มขึ้น เป็น 194 และ 183 โครงการตามภาพที่ 7

หมายเหตุ ทั้ง ๆ ที่ เราคงจำกันได้ว่า โรคระบาดไวรัสโควิด-19 เริ่มในปี 2563-2565 และหลายกิจการต้องหยุดประกอบกิจการ หยุดการทำงาน แต่กลับมีโครงการก่อสร้างใช้งบประมาณกันมาก โดยเฉพาะของกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น และ อบจ.นครปฐม

นอกจากนั้น ทั้ง ๆที่ ใน 1 ปี มี 365 วัน หักวันหยุดราชการ ประมาณ 19 วัน หักวันเสาร์ - อาทิตย์ 104 วัน นั่นหมายถึงมีวันทำงานตามระบบราชการจริง ๆ ประมาณ 242 วัน

หาก 1 ปี บริษัทในเครือของกำนันนก ยื่นซองประมูลเฉลี่ย บางปี 180 - 200 งาน นั่นหมายถึงแทบทุกวัน บริษัทในเครือกำนันนก ต้องทำสัญญากันเกือบทุกวันใน 1 ปี

ทิ้งไว้เป็นข้อสงสัย และคำถามว่า ในช่วงนั้น ใครเป็นหัวหน้าหน่วยงานราชการ ทั้งระดับกระทรวง และระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

อ่านรายงานพิเศษ 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง