ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เปิด 4 วิธีกู้ "เรือหลวงสุโขทัย" งบ 200 ล้านบาท

สังคม
5 ก.ย. 66
20:22
3,313
Logo Thai PBS
เปิด 4 วิธีกู้ "เรือหลวงสุโขทัย" งบ 200 ล้านบาท
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
หลักจากมีการเปิดรายละเอียด TOR หรือ ขอบเขตการจ้างงานกู้และลำเลียงเรือหลวงสุโขทัย พร้อมเปิดให้บริษัทที่สนใจได้แสดงความคิดเห็นหรือทักท้วงจนมาถึงขั้นตอนการเปิดยื่นซองประกวดราคา ทำให้พอจะเห็นรูปแบบและวิธีการกู้เรือหลวงสุโขทัย ภายใต้งบประมาณ 200 ล้านบาท

TOR กำหนดไว้ว่าต้องใช้วิธีการกู้ที่คงโครงสร้างตัวเรือให้ใกล้เคียงกับสภาพหลังอัปปางมากที่สุด พร้อมกับลำเลียงไปยังท่าเทียบเรือ ใน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากเรือหลวงสุโขทัย จมอยู่ที่ความลึกกว่า 50 เมตร นอกชายฝั่ง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ระยะห่างจากฝั่ง 20 ไมล์ทะเล จากภาพจำลองรูปแบบการกู้เรือ รายละเอียดบางอย่างอาจแตกต่างจากขั้นตอนจริง

อ่านข่าว : เปิดภาพล่าสุด "เรือหลวงสุโขทัย" เผยเหตุผลที่ต้องกู้ซาก 

เมื่อย้อนกลับไปดูภาพที่ได้จากการดำน้ำสำรวจเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ อยู่ในลักษณะตั้งตรง เรือเอียงซ้ายประมาณ 8 องศา  ส่วนอื่นๆ รอบๆ กราบเรือ ยังไม่พบรอยแตก แต่ด้วยเรือจมอยู่ใต้น้ำนานกว่า 9 เดือน กระแสน้ำอาจมีการพัดทรายเข้าไปในเรือเพิ่มมากขึ้น และอาจทำให้ตัวเรือเอียงกว่า 8 องศา

ภาพที่ได้จากการดำน้ำสำรวจ

ภาพที่ได้จากการดำน้ำสำรวจ

ภาพที่ได้จากการดำน้ำสำรวจ

เห็นสภาพเรือกันแล้วทีนี้มาดู TOR ที่กรมอู่ทหารเรือกำหนดกัน ผลลัพธ์ของการว่าจ้างครั้งนี้จะต้องกู้เรือหลวงสุโขทัย ลำเลียงไปส่งที่ท่าเทียบเรือ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ในลักษณะที่ไม่มีการแยกส่วน หรือตัดแยกชิ้นส่วนเรือ ต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์กู้เรือในระดับความลึกไม่ต่ำกว่า 50 เมตร และประสบผลสำเร็จภายในรอบ 10 ปี ที่สำคัญจะต้องปรับแต่งสภาวะเรือให้มีความปลอดภัย ลอยลำได้ด้วยตัวเองก็เลยจะพอสรุปออกได้เป็น 4 รูปแบบ

วิธีที่ 1 ใช้เครนขนาดใหญ่

วิธีที่ 1 ใช้เครนขนาดใหญ่

วิธีที่ 1 ใช้เครนขนาดใหญ่

1. ใช้เครนขนาดใหญ่ ที่สามารถยกได้ 2,500 –3,000 ตัน ยกเรือ ด้วยการใช้วิธีการเจาะผืนทรายเพื่อร้อยสลิงใต้ท้องเรือ โดยไม่ใช้การเป่าทราย เพราะเรืออยู่ในลักษณะเอียงซ้ายอาจทำให้เกิดการทรุดตัวของพื้นทราย และถ้าผลสำรวจพบว่า เรือเอียงมากกว่าเดิมจะใช้วิธีหาจุดยึดที่ตัวเรือ เพื่อร้อยสลิงให้เครนยกเรือขึ้น หลังจากนั้นเมื่อพ้นผิวน้ำ จะยกวางบนเรือบาส เคลื่อนย้ายไปยังจุดหมาย วิธีการนี้จะคงสภาพเรือได้มากที่สุด แต่รายละเอียดหน้างาน ก็อาจจะต้องประเมินอีกครั้ง แต่วิธีนี้ใช้งบประมาณสูงเนื่องจากประเทศไทย ไม่บริษัทที่มีเครนขนาดใหญ่ ประเทศที่มี เกาหลี สิงคโปร์ จีน

วิธีที่ 2 ใช้บอลลูน

วิธีที่ 2 ใช้บอลลูน

วิธีที่ 2 ใช้บอลลูน

2. ใช้บอลลูนขนาดลูกละ 50 ตัน ซึ่งเรือหลวงสุโขทัยมีน้ำหนัก 930 ตันต้องใช้บอลลูนไม่ต่ำกว่า 50 ลูก หรือ 1,000 ตันในการยกวิธีคร่าวๆ ก็คือติดตั้งโดยหาจุดเชื่อมเพจ เพื่อทำห่วงร้อย รอบกราบเรือ หลังจากนั้นนำบอลลูนลงไปติดตั้งอัดอากาศเข้าไป

วิธีนี้มีทางเลือกว่าจะดันน้ำออกจากเรือ ตั้งแต่ใต้น้ำ หรือ เอาเรือขึ้นมาเหนือผิวน้ำแล้วค่อยดันน้ำออกก่อนเคลื่อนย้าย แต่ก็แน่นอนว่า บอลลูนมีราคาสูง

วิธีที่ 3 ใช้แอร์แทงก์ หรือ แคปซูล

วิธีที่ 3 ใช้แอร์แทงก์ หรือ แคปซูล

วิธีที่ 3 ใช้แอร์แทงก์ หรือ แคปซูล

3. ใช้แอร์แทงก์ หรือ แคปซูล ที่ทำมาจากเหล็กม้วน เป็นทรงกลมเหมือนถังน้ำมันขนาดไม่ต่ำกว่า 50-100 ตัน จะใช้กี่แทงก์ ก็ขึ้นอยู่กับการคำนวณวิธีการก็คือจะใช้เครนหิ้วแทงค์หย่อนลงไป มีขั้นตอนการเดรนน้ำเข้าน้ำออก หลักการคล้ายๆ วาล์วปิดเปิดน้ำเพื่อลดความเสี่ยงถังรั่วหรือแตก เพราะเกิดแตกขึ้นมาก็จะกลายเป็นภาระเพิ่มของการกู้เรือ ด้วยเรือเป็นทรงสูงแทงก์จะถูกหย่อนลงไปที่ซีเบส โดยเครนแรงยกราว 120 ตัน ประกอบโซ่กับหูใต้น้ำโดยนักประดาน้ำ และถ้าแถวเดียวไม่พอก็อาจจะเชื่อมเพจเพิ่มขึ้น

เมื่อยกขึ้นสู่ผิวน้ำ จะทำการลากไปยังบริเวณเกยตื้น เพื่อสำรวจรอยแตกรอยรั่วทำการซ่อม ดูดน้ำออกเพื่อให้เรือลอยลำ และใช้เรือทรัคที่มีกำลังลากไป

4 เลือกเอาทั้ง 3 วิธีมาใช้ร่วมกัน ส่วนที่หลายคนสงสัยว่าการกู้เรือรบ ในส่วนของอาวุธ ยุทโธปกรณ์จะมีการกู้ขึ้นมาก่อนหรือไม่

ภาพที่ได้จากการดำน้ำสำรวจ

ภาพที่ได้จากการดำน้ำสำรวจ

ภาพที่ได้จากการดำน้ำสำรวจ

ได้รับรายงานว่าถ้าเป็นไปตามมาตรฐานของสมาพันธ์กู้เรือนานาชาติไม่ว่าจะเป็นอาวุธประเภทไหนจะต้องถูกกู้ขึ้นมาก่อนเพื่อความปลอดภัย แต่ในกรณีเรือหลวงสุโขทัยได้รับรายงานว่า ขณะอับปางไม่มีอาวุธหนักอยู่ในเรือ มีเพียงกระสุนปืนเล็กบรรจุภายในกล่อง

เปิด 4 วิธีกู้

เปิด 4 วิธีกู้

เปิด 4 วิธีกู้ "เรือหลวงสุโขทัย" งบ 200 ล้านบาท

ทั้งนี้ไม่ว่าจะกู้เรือด้วยวิธีไหน แต่ตัวกำหนดหลัก คือ แผนกู้เรือนั้น จะต้องเป็นไปตามกรอบสัญญาหรือ TOR สำหรับโครงการนี้กองทัพเรือมอบหมายให้กรมอู่ทหารเรือ เป็นเจ้าภาพ ใช้งบประมาณ 200 ล้านบาท และกำหนดรายละเอียด พร้อมกรอบระยะเวลาการทำงานก่อนหน้านี้ "กรมอู่ทหารเรือ" ได้เชิญกว่า 10 บริษัท มาหารือ วิธีการทำงานร่างขอบเขต TOR และ สืบราคากลางจาก 4 บริษัทที่มีประสบการณ์ทางทะเล

รายงาน : วิลาศิณีย์ ศุภรส ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

"กองทัพเรือ" ช่วยเหลือกำลังพล-ครอบครัว "เรือหลวงสุโขทัย" แล้ว 95 เปอร์เซนต์

ผบ.ทร.เผยงบ 200 ล้าน กู้เรือหลวงสุโขทัย อยู่ระหว่างพิจารณา

รมช.กลาโหม เคลียร์ทุกปม "เรือหลวงสุโขทัย"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง