วันนี้ (24 ส.ค.2566) ภายในงาน 75 ปีปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษย์ชน จัดโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษย์ชนแห่งชาติ (กสม.) มีนักสิทธิมนุษยชนหลากหลายด้าน เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์ บุคคลที่สร้างความสนใจให้ผู้เข้าร่วมงานในการกล่าวปาฐกถา คือ นายสมชาย หอมลออ กรรมการป้องและการปราบปรามการทรมานและการทำให้บุคคลสูญหาย

นายสมชาย กล่าวว่า ธ.ค.นี้จะครบรอบ 75 ปีของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประเทศไทยเป็นประเทศที่สนับสนุนในฐานะเป็นสมาชิกสหประชาชาติ หลักการสำคัญในปฎิญญา โดยเฉพาะหลักการ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อิสรภาพ เสรีภาพ ความเสมอภาค การเลือกปฏิบัติ และความยุติธรรม ถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญหลายฉบับของไทยตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา แต่สิ่งเหล่านี้ยังไม่เคยถูกปฏิบัติอย่างแท้จริงในสังคมไทย

นายสมชาย หอมลออ
นายสมชาย หอมลออ
นายสมชาย บอกว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่พูดถึงยกตัวอย่างกรณีที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ในสถานที่คุมขัง คนจน คนชายขอบ คนชราภาพ ที่เจ็บป่วย ยังไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ แต่ในขณะเดียวกัน คนกลุ่มหนึ่ง หรือ คนหนึ่ง ที่ให้เหตุผลว่าชราภาพเจ็บป่วย กลับสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาล และสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ล้นเกินจากความเพียงพอของความเป็นมนุษย์
ยิ่งไปกว่านั้นการที่คนจน ความเจ็บป่วย ชราภาพ และคนมั่งมีก็อยู่ภายใต้คำพิพากษาอันศักดิ์สิทธิ์ ของกระบวนการยุติธรรมยุติธรรมเช่นเดียวกัน แต่กลับมีการปฏิบัติที่แตกต่างกันอย่างมากมายได้หรือ

ตัวอย่างที่ผ่านมา อากง SMS" ผู้ถูกกล่าวหาในคดี ม.112 ก่อนได้รับการปล่อยตัวออกมาด้วยร่างไร้วิญญาณ เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ และเท่าที่ทราบและมีผู้เจ็บป่วยอีกมากมาย และผู้สูงอายุอีกมากมายที่เจ็บป่วยที่ยังไม่สามารถเข้าถึงการบริการได้
เป็นการเลือกปฏิบัตินำมาสู่ความเหลื่อมล้ำและนำมาสู่การละเมิดศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของผู้ที่เป็นกลุ่มเปราะบาง หรือคนชายขอบซึ่งมีอยู่มากมายปรากฏให้เห็นในสังคมไทยไม่ว่าจะเป็นคนยากคนจนหรือชาวไร่ ชาวนา แม้แต่กรรมกรแรงงานข้ามชาติ LGBTQ+ คนเหล่านี้ถูกเลือกปฏิบัติ ต้องอาศัยอยู่ในมุมมืดของสังคม เป็นเหยื่อของการถูกเอารัดเอาเปรียบ การทุจริตคอรัปชัน แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ถูกกดทับด้วยโครงสร้างของการเอารัดเอาเปรียบ

ขณะที่ น.ส.พรประไพ กาญจนรินทร์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ระบุว่า ยังไม่ได้รับการร้องเรียนกรณี นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แต่ กสม.ยังคงจับตามองเรื่องนี้เพราะถูกตั้งคำถาม ถึงความเหลื่อมล้ำในการเลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะความยุติธรรมในสังคมไทย คุกมีไว้ขังเฉพาะคนจน ส่วนคนรวยมีสิทธิ์ทุกอย่าง

น.ส.พรประไพ กาญจนรินทร์
น.ส.พรประไพ กาญจนรินทร์
ย้ำว่าตอนนี้ ไม่มีหลักฐานในการประกอบพิจารณา เพื่อตรวจสอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า เป็นการกระทำละเมิดสิทธิข้อใด โดยในเวทีครั้งนี้ผลักดันหลากหลายประเด็นให้สำเร็จ เช่น การเลือกปฏิบัติ ทั้งเด็กคนพิการและไม่สามารถไปสมัครงานได้ เพราะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และการให้ความสำคัญกับกระบวนการยุติธรรม
แต่ก็มีข้อสังเกตเพื่อนำมาพิจารณา คือ การได้รับสิทธิในการดูแลรักษาพยาบาลให้ทั่วถึงเพราะว่าเราทราบว่ามีผู้ป่วย หลายคนได้รับการรักษาไม่ถ้วนหน้า อย่างที่ทุกคนจะได้รับตามหลักการ ต้องคอยติดตามกันต่อไป
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ย้อนรอย "อดีต 9 นักการเมืองชื่อดัง" ถูกจองจำในคุกจริง
รพ.ตำรวจ แจงส่งตัวฉุกเฉิน "ทักษิณ" เหตุขาดผู้เชี่ยวชาญ-อุปกรณ์
ย้าย "ทักษิณ" ออกนอกเรือนจำ เข้า รพ.ตำรวจกลางดึก