ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"สภาเภสัชฯ - สปสช. - สวทช." ร่วมผลักดันระบบ "A-MED Care Pharma" เชื่อมบริการเภสัชกรรม

สังคม
4 ส.ค. 66
19:34
537
Logo Thai PBS
"สภาเภสัชฯ - สปสช. - สวทช." ร่วมผลักดันระบบ "A-MED Care Pharma" เชื่อมบริการเภสัชกรรม
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สภาเภสัชกรรม สวทช. และ สปสช. ลงนามความร่วมมือ “ นำเทคโนโลยี A-MED Care Pharma พัฒนาระบบบริการด้านเภสัชกรรม” เชื่อมระบบบริการเภสัชกรรม เพิ่มความสะดวก เข้าถึงบริการ ดูแลผู้ใช้สิทธิบัตรทอง

สภาเภสัชกรรม พร้อมด้วยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมลงนามความร่วมมือพัฒนาวิชาชีพเภสัชกรรมชุมชน ผลักดันระบบ A-Med Care Pharmarcy พัฒนาระบบบริการด้านเภสัชกรรม เชื่อมระบบบริการเภสัชกรรม เพิ่มความสะดวก เข้าถึงบริการ ดูแลผู้ใช้สิทธิบัตรทอง 

ภก.กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ นายกสภาเภสัชกรรม กล่าวว่า ในปี 2562 นับตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาระบบ A-Med และนำมาใช้จริงในโครงการ "เจอ แจก จบ" หรือ โครงการ Self-isolation

โดยร้านยาเป็นหน่วยร่วมบริการ ส่งต่อเฉพาะด้านเภสัชกรรมของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้บริการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 (กลุ่มสีเขียว) ที่บ้าน ด้วยระบบ A-Med Care ในการบันทึกอาการ จ่ายยา และติดตามอาการไปจนถึงขั้นตอนการเบิกจ่ายค่าบริการ

ขณะนี้มีผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลจากเภสัชกรชุมชนในโครงการ เจอ แจก จบ รวมกว่า 60,000 คน จากร้านยา 700 แห่งที่ร่วมโครงการ

ต่อมาในปีงบประมาณ 2566 สภาเภสัชกรรมจึงเสนอบริการ 16 อาการเล็กน้อยมารับยาที่ร้านยา ซึ่งเภสัชกรจะแนะนำการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้น หลังจากรับยา 3 วัน จะติดตามผลการใช้ยาว่าผู้ป่วยดีขึ้นหรือไม่

ประชาชนสามารถสังเกตร้านยาที่ให้บริการได้จากสติกเกอร์หน้าร้านยาที่เขียนว่า "ร้านยาคุณภาพของฉัน" 

ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ระบบ A-MED Care พัฒนาโดย สวทช.เป็นแพลตฟอร์มหลังบ้านในการบริหารจัดการ การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิบัตรทอง

ร้านยาที่เข้าร่วมจะต้องมีมาตรฐานหลักวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน ของกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงผ่านเกณฑ์การคัดเลือกของสภาเภสัชกรรม เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าจะได้รับการดูแลรักษาที่ได้มาตรฐานมีคุณสภาเภสัชกรรม ในการร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้เข้าไปมีส่วนขับเคลื่อนการให้บริการด้านเภสัชกรรมและด้านการสาธารณสุขของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพ

นพ.สินชัย ต่อวัฒนกิจกุล รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า เภสัชกรเป็นวิชาชีพที่เข้าถึงชุมชนโดยให้บริการในร้านยา จึงร่วมให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ภายใต้ชื่อ "ร้านยาชุมชนอบอุ่น" ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 1,000 แห่ง ทั่วประเทศ 

นอกจากการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแล้ว ยังเพิ่มนวัตกรรมบริการ "ร้านยาบริการดูแลเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 กลุ่มอาการ" (Common illnesses) โดย "ร้านยาคุณภาพของฉัน" และเพื่อให้ร้านยาชุมชนอบอุ่นสามารถให้บริการผู้ใช้สิทธิบัตรทองได้มากขึ้น รวมถึงการพัฒนาระบบ A-MED Care Pharma เพื่อรองรับ จึงนำมาสู่ความร่วมมือครั้งนี้ 

สำหรับบริการผ่าน "ร้านยาคุณภาพของฉัน" ด้วยระบบ A-MED Care Pharma เริ่มให้บริการประชาชนตั้งแต่ พ.ย.2565 16 โดยให้บริการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยครอบคลุม 16 กลุ่มอาการ ได้แก่ ปวดหัว, เวียนหัว, ปวดข้อ,เจ็บกล้ามเนื้อ, ไข้, ไอ,เจ็บคอ,ปวดท้อง

ท้องผูก,ท้องเสีย, ถ่ายปัสสาวะขัด ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะเจ็บ, ตกขาวผิดปกติ, อาการทางผิวหนัง ผื่น คัน, บาดแผล

ความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตา และ ความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับหู ซึ่งผู้มีสิทธิบัตรทองหากมีอาการเจ็บป่วยข้างต้น สามารถเข้ารับบริการได้ที่ร้านขายยาคุณภาพใกล้บ้าน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ประชาชนสามารถตรวจสอบรายชื่อ ร้านยาในโครงการได้ที่เว็บไซต์ สปสช.ซึ่งมีรายชื่อ ดังนี้ 
รายชื่อร้านยาดูแลเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการ    หรือสายด่วน สปสช.1330 หรือ สังเกตสติกเกอร์ "ร้านยาคุณภาพของฉัน" โดยเภสัชกรจะซักถามอาการและจ่ายยาพร้อมให้คำแนะนำการปฏิบัติตัว รวมถึงติดตามอาการเมื่อครบ 3 วัน ทั้งนี้หากพบว่าคนไข้มีอาการไม่ดีขึ้น ร้านยาจะส่งต่อคนไข้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง