ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

คำบอกเล่า 2 รุ่น "สมุนไพรรักษาช้าง" ภูมิปัญญา 100 ปี

สิ่งแวดล้อม
1 ส.ค. 66
11:16
1,547
Logo Thai PBS
คำบอกเล่า 2 รุ่น "สมุนไพรรักษาช้าง" ภูมิปัญญา 100 ปี
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ถ้าหลงรักช้างแล้ว ต้องรู้จักตัวตน ส่งผ่านความรัก และต้องรักษาภูมิปัญญาของคนเลี้ยงช้าง ผ่านตำร้บ "สมุนไพรรักษาช้าง" นับ 100 ปี ภายใต้สูตร "ปางหละเวชภัณฑ์" โดยควาญพี่ปลิว นำมาดูแลพลายศักดิ์สุรินทร์

หากใครเป็นเอฟซี "พลายศักดิ์สุรินทร์" ซึ่งอยู่ระหว่างกักโรคมาแล้ว 1 เดือนที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ.ลำปาง หลายครั้งที่แอดมินเพจพูดถึงอาหารการกิน และสปา ประทินผิวให้กับช้างแสนรู้เชือกนี้

"อิป้อ อ้ายฮ้องหลายรอบแล้วเน้อออออ บ๋าขามในมือส่งมาหื้ออ้ายซะดีๆ"

ข้อมูลระบุว่า มะขามเปียกคลุกเกลือปั้นเป็นก้อนๆ เท่ากำปั้นมือ มีสรรพคุณในการช่วยระบายท้องให้กับช้าง และหากเป็นมะขามที่มีเมล็ดอยู่ ในห้วงเวลาช้างเดินหากินในป่า เมื่อถ่ายมูลออกมาเมล็ดมะขาม ก็จะงอกขึ้นมาเองเป็นการสร้างสมดุลในป่า

ส่วนอีกหนึ่งความใส่ใจที่ "พี่ปลิว" หนึ่งใน 4 ควาญช้างจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป) ช่วยกันอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายให้พลายศักดิ์สุรินทร์ มีการขัดงา ขัดตัว ลำตัว ขัดหาง อย่างละเอียด

โดยมีการใช้เครือสะบ้า หรือสบู่ช้าง เวลาขัดจะมีฟองออกมา และมีสรรพคุณช่วยการป้องกันแมลง และรักษาความมชุ่มชื้นให้กับผิวของของช้าง

ครกกระเดื่อง เป็นหนึ่งในภูมิปัญญาในการปรุงยาช้าง

ครกกระเดื่อง เป็นหนึ่งในภูมิปัญญาในการปรุงยาช้าง

ครกกระเดื่อง เป็นหนึ่งในภูมิปัญญาในการปรุงยาช้าง

ภูมิปัญญา 100 ปีตำรับยาสมุนไพรรักษาช้าง

ไทยพีบีเอสออนไลน์ สัมภาษณ์ นายเปิ้น นาหลวง อดีตควาญช้างวัย 66 ปี ผู้ปรุงยารักษาช้าง บอกว่า ทางสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จ.ลำปาง มีการทำยารักษาช้าง เพื่อส่งไปรักษาช้างในโรงพยาบาลช้างทั่วประเทศ โดยสูตรสมุนไพรรักษาช้างเรียกว่า "ปางหละเวชภัณฑ์" ถือเป็นภูมิปัญญาของคนเลี้ยงช้างถ่ายทอดกันมารุ่นต่อรุ่น

ลุงเปิ้น บอกว่า ยาบำรุงช้าง จะมีสมุนไพรมากกว่า 13 ชนิด กล้วยน้ำว้า ข้าวจ้าวเปลือก หญ้าแห้วหมู ล้านพร้าว บอระเพ็ด เกลือ มะขามเปียก อ้อยช้าง เหง้าสับปะรด เป็นสูตรการปรุงยาช้าง ที่คนเลี้ยงช้างสืบทอดต่อกันกันมาให้ช้างกิน รักษาอาการเจ็บป่วยเพิ่มกำลังวังชา

สรรพคุณสมุนไพรบำรุงกำลัง ช่วยให้ช้างเจริญอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ และรักษาอาการเจ็บป่วย กินแล้วให้แข็งแรง มักจะใช้กับช้างเฒ่า ช้างแก่ ช้างที่เจ็บป่วย

ส่วนอีกสูตรหนึ่งเรียกว่า การต้มยาฟาด หรือการประคบ แก้อาการลำบองหรืออาการบวมน้ำให้ช้างถ้านำไปประคบ 10 วันก็จะหาย

อ่านข่าวเพิ่ม ช้างป่า "ตุลา" ใช้สัญชาตญาณตอบสนองสิ่งเร้ามากกว่าปกติ เหตุระแวง

กล้วยน้ำว้า 1 ใน 13 สมุนไพรเพื่อเสริมกำลังช้าง

กล้วยน้ำว้า 1 ใน 13 สมุนไพรเพื่อเสริมกำลังช้าง

กล้วยน้ำว้า 1 ใน 13 สมุนไพรเพื่อเสริมกำลังช้าง

บดด้วยครกกระเดื่อง-ปั้นด้วยมือ

ส่วนกรรมวิธีการปรุงยาก็ต้องพิถีพิถัน ลุงเปิ้น บอกว่า ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ ทั้งกล้วยน้ำว้าสุกต้องฝานออกเป็นชิ้นๆ ข้าวจ้าวเปลือกที่มีกลิ่นหอม เมื่อทุกอย่างได้สัดส่วน ลุงเปิ้น และอำนาจ ค่อยๆ บรรจงเทส่วนผสมลงในครกกระเดื่องไม้ ซึ่งต้องทำงานให้สัมพันธ์กัน

ลุงเปิ้น บอกว่า ที่เลือกครกกระเดื่อง เพราะเวลาปรุงยาแต่ละครั้งทำทีละมากๆ มากกว่า 10 กิโลกรัมบางทีกว่าจะละเอียดใช้เวลาเป็นชั่วโมงๆ ในการทำให้สัดส่วนของการเข้ายา ปรุงจนเนื้อเข้ากัน ทั้งคนตำก็ได้ออกแรงขาไปในตัว ส่วนคนใส่สมุนไพรแต่ละชนิดก็ต้องดูจังหวะมือ

เมื่อเนื้อยาละเอียดเข้ากันแล้ว จากนั้นจะนำมาปั้นเป็นลูกกลอน แต่ให้มีขนาดเท่าหยิบมือ ลักษณะคล้ายกล้วยไข่ เมื่อปั้นจนหมดแล้ว จะนำไปตาก 3-4 วันจนแห้งถึงจะบรรจุส่งไปยังโรงพยาบาลช้างทั่วประเทศ

การให้ยาสมุนไพรกับช้าง สัตวแพทย์ จะเป็นคนนำไปประกบกับยาหลวงใช้คู่กัน ช้างที่ผ่านการรักษาคู่ขนานกัน ยาที่เป็นการบำรุงให้มีกำลังกับช้างป่วย ช้างเแก่เฒ่าไม่สบาย

แต่บางตัวที่เป็นช้างหนุ่มจะทำให้คึกคักตกมัน ทำงานลำบาก การกินจะให้กินหญ้า และกินยาสมุนไพรที่ปั้นวันละครึ่งกิโลกรัมต่อตัว เหมือนเป็นอาหารเสริมผสมกับหญ้า

"ปรุงยาช้าง" เชื่อมสัมพันธ์คนต่างวัย

สำหรับการปรุงยาสมุนไพรช้าง ขั้นตอนนี้ทั้งคนปั้น และคนช่วยปั้น ก็ได้มีเวลาพูดคุยเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของกันและกัน รอยยิ้มของคนต่างวัยจึงปรากฎขึ้นในวงสนทนา

พ่อเคยเป็นควาญคอ ที่บ้านมีช้าง 20 ตัว การเรียนรู้การควบคุมช้าง การดูแลช้างสั่งสมมาจากการที่ช่วยพ่อเลี้ยงช้าง ขี่ช้างได้ค่าจ้างวันละแค่ 5 บาท ตอนนั้นที่บ้านรับจ้างเอาช้างช่วยทำไม้ในป่า ลากไม้ในป่า เคยดูแลช้างมา 3 เชือกตัวแรกชื่อพังจันทร์แดง 2 ปี ส่วนทานตะวัน ดูแลกันมา 20 ปี ตายไปแล้ว

กระทั่งมาทำงานอยู่ที่ศูนย์อนุรักษ์ช้าง ตั้งแต่ก่อตั้งใหม่ สมัยนั้นบรรจุราชการมาทำเป็นรายวัน 4 ปี เป็นสัญญาจ้าง 16 ปี และเพิ่งบรรจุ 4 ปีก่อนเกษียณ แต่ตอนนี้ก็ยังมาช่วยทำงานเป็นรายวัน อยู่จนถูกแซวติดตลกว่า

ให้ลุงเปิ้นทำงานจนคลานกลับบ้านเลยตอนนี้ 66 แล้วดีนะยังจ้างคนแก่มาทำงาน

ลุงเปิ้น บอกว่า ตัวเองโชคดีช้าง 3 เชือกที่ดูแลมา ไม่เคยโดนช้างเกเร หรือทำร้ายไม่เคยทั้งเอางวงมาตี หรือเตะ เพราะเชื่อว่าช้างรับรู้ ถ้าเราฮักเรา ช้างก็ฮักเราตอบ ถ้าทำดีเขาก็ทำดีตอบ เวลาร้อนก็พอเขาอาบน้ำ เวลาหิวก็พาไปกินไผ่ กินหญ้า เลี้ยงดูกัน

การปรุงยาช้าง ทำให้คน 2 รุ่นได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์

การปรุงยาช้าง ทำให้คน 2 รุ่นได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์

การปรุงยาช้าง ทำให้คน 2 รุ่นได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์

"อำนาจ" หนุ่มที่หลงรักช้างจากการฝึกภาษา

ส่วนอำนาจ หนุ่มวัย 36 ปี บอกเล่าเรื่องราวจุดเริ่มต้นที่ทำให้ตกหลุมรักธรรมชาติ และหลงรักช้างมานานถึง 9 ปีเต็มที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างลำปาง และเป็นการเติมเต็มวัยเด็กที่รักช้างมากกว่าสัตว์ตัวอื่นๆ

ทำงานเข้าสู่ปีที่ 9 แล้วจุดเริ่มต้นแค่เป็นเด็กหนุ่มที่แสวงหา อยากคุยภาษาอังกฤษได้ รู้ว่าที่นี่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาฝึกเป็นควาญ มา trekking กับช้าง เลยมาสมัครเป็นไกด์ 

อำนาจ บอกว่า การทำหน้าที่ไกด์ทำให้ต้องรู้จักควาญช้าง และเรียนรู้ช้างแต่ละเชือกที่ศูนย์ช้าง เพื่อรู้จักพฤติกรรม อุปนิสัย ความน่ารักของแต่ละเชือก และสร้างความคุ้นชิน

คนหนึ่งตำ คนหนึ่งเทสมุนไพร ต้องให้สัมพันธ์กัน

คนหนึ่งตำ คนหนึ่งเทสมุนไพร ต้องให้สัมพันธ์กัน

คนหนึ่งตำ คนหนึ่งเทสมุนไพร ต้องให้สัมพันธ์กัน

ทุกๆวันถ้ามีเวลาจะไปรับช้างตอนเช้ากับพี่ควาญ และส่งกลับบ้าน เพราะกิจกรรมของที่นี่เหมือนโรงเรียนฝึกช้าง มีเรื่องราวให้เรียนรู้ทุกวัน

ปัจจุบันอำนาจ ยังได้เป็นหนึ่งในทีมไลฟ์อัปเดตชีวิตพลายศักดิ์สุรินทร์ ช้างไทยพลัดบ้านจากศรีลังกาที่กลับมาพักกายใจในบั้นปลายชีวิตด้วย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

"พลายศักดิ์สุรินทร์" กักโรคครบ 30 วัน เตรียมอัลตราซาวด์ตาต้อกระจก

FC เตรียมเฮ! เปิดเยี่ยม "พลายศักดิ์สุรินทร์" ไม่เกินกลางส.ค.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง