ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

วันอาสาฬหบูชา 2566 เตรียม "บทสวดเวียนเทียน" สวดบทไหน - ต้องใช้เครื่องบูชาอะไรบ้าง

สังคม
27 ก.ค. 66
11:38
22,791
Logo Thai PBS
วันอาสาฬหบูชา 2566 เตรียม "บทสวดเวียนเทียน" สวดบทไหน - ต้องใช้เครื่องบูชาอะไรบ้าง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
รวบรวมบทสวดเวียนเทียน เครื่องบูชา คำบูชาดอกไม้ ขั้นตอนปฏิบัติก่อนเข้าวัดและขณะเวียนเทียน ในวันอาสาฬหบูชา 2566

วันอาสาฬหบูชา 2566 ในปีนี้ตรงกับวันอังคารที่ 1 สิงหาคม ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงปฐมเทศนา คือ เทศน์กัณฑ์แรก คือ "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" ให้แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ

การแสดงธรรมครั้งนั้นทำให้หนึ่งในปัญจวัคคีย์ เกิดความเลื่อมใสในพระธรรมจนได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน ได้อุปสมบทเป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา และทำให้พระรัตนตรัยครบองค์ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

อ่านข่าว : ประวัติความเป็นมา "วันอาสาฬหบูชา" ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8

เริ่มต้นวันอาสาฬหบูชา ช่วงเช้าพุทธศาสนิกชนจะเข้าวัดทำบุญ และในช่วงค่ำจะมีการเวียนเทียน เพื่อระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยส่วนใหญ่นิยมไปเวียนเทียนเวลา 16.00 - 20.00 น. 

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (ภูเขาทอง)

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (ภูเขาทอง)

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (ภูเขาทอง)

สิ่งที่ควรทำก่อนไปเวียนเทียน 

1. ก่อนออกจากบ้านควรชำระร่างกายให้สะอาด ทำจิตใจเบิกบาน 

2. แต่งกายสุภาพ เหมาะสมกับสถานที่

3. เตรียมเครื่องบูชา ได้แก่ ดอกไม้ ธูป เทียน

4. เดินทางถึงวัดเข้าไปบูชาพระประธานก่อน หรือแล้วแต่ความสะดวก

5. เดินทางมาถึงวัดเริ่มเดินเวียนเทียนตามที่แต่ละวัดจัดกิจกรรม

สิ่งที่ควรปฎบัติขณะเวียนเทียน

1. เมื่อเริ่มเวียนเทียนให้สำรวม กาย วาจา ใจ

2. รักษาระยะห่างการเดินให้ห่างจากคนข้างหน้า ไม่ให้ความร้อนจากธูป เทียน เป็นอันตรายต่อผู้อื่น

3.เดินเวียนเทียนอย่างเป็นระเบียบ ไมเดินแซงกัน ไม่เร็วไม่ช้าเกินไป 

4. ไม่พูดคุย หยอกล้อ ส่งเสียงระกวนผู้อื่นขณะเวียนเทียน

5. เจริญจิตภาวนาระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ 

6. หลังจากเวียนเทียนเวียนเทียนครบ 3 รอบ ให้นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปวางและปักบูชาในที่ที่จัดเตรียมไว้

เวียนเทียน วันอาสาฬหบูชา

เวียนเทียน วันอาสาฬหบูชา

เวียนเทียน วันอาสาฬหบูชา

บทสวดมนต์วันอาสาฬหบูชา

(หันทะ มะยัง อาสาฬหะปะณามะคาถาโย ภะณามะ เส)

อาสาฬหะปุณณะมายัง โย สัทธัมโม โหติ เทสิโต เตนุป

ปันโน ปะฐะโม สังโฆ โกณฑัญโญ พุทธะสาสะเน

ธัมมะจักโกติ นาเมนะ วิสสุโต จะ ปะวัตติโต ตัสสัตโถ

อัฏฐะโก มัคโค จัตตาริ เจวะ สัจจานิ

เอเตสัง เทสะเนเนวะ อุปปันนัง ระตะนัตตะยัง พุทโธ ธัมโม ภิกขุสังโฆ สัมปันนา พุทธะสาสะเน

เปเสสิ ภะคะวา สังเฆ กาตุง โลกานะ สังคะหัง ละภิงสุ พะหุกา สัตตา โอกาสัง ปัตตุ นิพพุติง

ปัณณะระสี อะยันทานิ สัมปัตตา อะภิลักขิตา ทีปะปุปผาทิหัตถา จะ หุตวา อิธะ สะมาคะตา

ปะทักขิณัง กะริสสามะ ติกขัตตุง คะรุเจติยัง ภะคะวา ปะฏิคัณหาตุ อัมหากัง สักการัง อิมัง

ระตะนัตตะยานุภาเวนะ ระตะนัตตะยะเตชะสา สัพเพ สัตตา ปุญญะภาคา นิททุกขา นิรุปัททะวา

อะระหันตา ปะพุชฌันตุ สะทา โคตะมะสาวะกา การุญญัญจะ อุปาทายะ ภะคะวา ปะฏิคัณหาตุ

สักกาเร อิเม มัยหัง หิตายะ จะ สุขายะ จะ จิรัง ติฏฐะตุ สัทธัมโม ตะถาคะตัปปะเวทิโต

สัมมาธารัง ปะเวสสันโต กาเลเทโว ปะวัสสะตุ วุฒิภาวายะ สัตตานัง สะมิทธัง เนตุ เมทะนิง ฯ  

พระพุทธรูป

พระพุทธรูป

พระพุทธรูป

คำบูชาดอกไม้ธูปเทียน วันอาสาฬหบูชา

ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา

โย โน ภะคะวา สัตถา, ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ

อะโหสิ โข โส ภะคะวา มัชฌิเมสุ ชะนะปะเทสุ อะริยะเกสุ มะนุสเสสุ อุปปันโน

ขัตติโย ชาติยา โคตะโม โคตเตนะ

สักยะปุตโต สักยะกุลา ปัพพะชิโต

สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ

นิสสังสะยัง โข โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา

สวากขาโต โข ปะนะ เตนะ ภะคะวะตา ธัมโม

สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ

สุปะฏิปันโน โข ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ ฯ อิทัง โข ปะนะ ปฏิมาฆะรัง ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ กะตัง ยาวะเทวะ ทัสสะเนนะ ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะริตวา ปะสาทะสังเวคะปะฏิลาภายะ

มะยัง โข เอตะระหิ อิมัง วิสาขะปุณณะมีกาลัง ตัสสะ ภะคะวะโต ชาติสัมโพธินิพพานะกาละสัมมะตัง ปัตวา อิมัง ฐานัง สัมปัตตา

อิเม ทัณฑะทีปะธูปาทิสักกาเร คะเหตวา อัตตะโน กายัง สักการุปะธานัง กะริตวา ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ คุเณ อะนุสสะรันตา

อิมัง ปะฏิมาฆะรัง ติกขัตตุง ปะทักขิณัง กะริสสามะ อิมัง ยะถาคะหิเตหิ สักกาเรหิ ปูชัง กุรุมานา

สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ ญาตัพเพหิ คุเณหิ อะตีตารัมมะณะตายะ ปัญญายะมาโน

อิเม อัมเหหิ คะหิเต สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

ที่มา : สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ไหว้พระ

ไหว้พระ

ไหว้พระ

กิจกรรมวันอาสาฬหบูชา 2566 

กิจกรรมในวันอาสาฬหบูชาแบ่งออกเป็นกิจกรรมของพระภิกษุสงฆ์และพุทธศาสนิกชน โดยพระภิกษุสงฆ์ในวัดก็เตรียมจัดกิจกรรมที่วัด รวมถึงแสดงพระธรรมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ตามที่พระพุทธเจ้าเคยแสดงธรรมแก่ปัญจวัคคีย์ ส่วนสิ่งที่พุทธศาสนิกชน พึงกระทำในวันนี้ คือ

- ทำบุญ ตักบาตร ถวายสังฆทาน

- รักษาศีล งดการทำบาป หรือให้ทาน

- เข้าวัดฟังธรรมสวดมนต์

- เวียนเทียนรอบอุโบสถในเวลาเย็น เพื่อน้อมระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ และยังช่วยชำระล้างจิตใจให้ผ่องใส

เวียนเทียนต้องสวดคาถาบทไหน

"การเดินเวียนเทียน" รอบปูชนียสถาน เช่น อุโบสถวิหาร หรือ พระพุทธรูป นั้นเพื่อเป็นการระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรรม พระสงฆ์ ในวันสำคัญ เรียกว่า "เวียนประทักษิณาวรรต" ซึ่งเป็นอิทธิพลที่รับมาจากอินเดีย

ประชาชนร่วมกิจกรรมเวียนเทียน ที่วัดพระรามเก้า

ประชาชนร่วมกิจกรรมเวียนเทียน ที่วัดพระรามเก้า

ประชาชนร่วมกิจกรรมเวียนเทียน ที่วัดพระรามเก้า

"เวียนประทักษิณาวรรต" คือ เวียนขวา 3 รอบ เป็นเครื่องหมายถึงการแสดงออกซึ่งการเคารพบูชาต่อสิ่งนั้น ๆ อย่างสูงสุด โดยมักจะเดินรอบพระอุโบสถหรือพระพุทธรูป โดยถือเทียนธูป และดอกไม้ ไว้ในมือเพื่อเป็นเครื่องสักการะบูชา 3 รอบ

โดยหลังจากที่ไหว้พระประธานแล้ว เริ่มเดินรอบที่ 1

 บทสวดเวียนเทียน 3 รอบ ใน วันอาสาฬหบูชา 2566

บทสวดเวียนเทียน 3 รอบ ใน วันอาสาฬหบูชา 2566

เดินรอบที่ 1 บทสวดเพื่อระลึกถึงพระพุทธ ดังนี้

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปูริสะทัมมสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

เดินรอบที่ 2 บทสวดเพื่อระลึกถึงพระธรรม ดังนี้

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ

เดินรอบที่ 3 บทสวดเพื่อระลึกถึงพระสงฆ์ ดังนี้

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

ขณะเดินเวียนเทียน ผู้ปฎิบัติต้องสำรวมทั้งกาย วาจา ใจ ให้สงบ และควรรักษาระยะการเดินให้ห่างจากคนข้างหน้า เพื่อไม่ให้ธูปเทียนโดนผู้อื่นด้วย

พระพุทธรูป

พระพุทธรูป

พระพุทธรูป

 อานิสงส์ของการเวียนเทียน 

- ทำให้จิตใจตื่นเบิกบาน เกิดความปิติยินดี

- ทำให้จิตใจสงบบริสุทธิ์ เป็นสมาธิ และเกิดปัญญา

- ทำให้เข้าใจในสังสารวัฎ การเวียนว่ายตายเกิด

- ทำให้จิตใจหลุดพ้นจากเวทนาและนิวรณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง

ที่มา : หอสมุดรัฐสภา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วันเข้าพรรษา 2566 ประวัติและความสำคัญ

หยุดยาว 6 วันเที่ยวไหนดี จัดทริปไหว้พระ 6 วัดกรุงเทพ

เคาะเพิ่ม! 31 ก.ค.66 วันหยุดกรณีพิเศษ ทำให้หยุดยาว 6 วันติด 28 ก.ค.-2 ส.ค.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง