ความคืบหน้าอุบัติเหตุที่ผู้โดยสารประสบอุบัติเหตุเท้าติดทางเลื่อนที่อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.ที่ผ่านมา
วันนี้ (26 ก.ค.2566) นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) กล่าวว่า ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีผู้แทนจากผู้โดยสารที่ได้รับบาดเจ็บเข้าร่วมด้วย ที่ผ่านมาคณะกรรมการฯ ได้จัดการประชุมเพื่อตรวจข้อเท็จจริง ทั้งพยานหลักฐานและพยานวัตถุ รวมถึงข้อมูลจากการให้ถ้อยคำของผู้เกี่ยวข้อง
เรืออากาศเอกธรรมาวุธ นนทรีย์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เปิดเผยว่า สาเหตุจากทางเลื่อนที่เกิดเหตุมีปัญหา แผ่นพื้นหลุดออกจากโครงยึดทำให้เกิดช่องว่าง ส่งผลให้ผู้โดยสารหล่นลงไปได้รับบาดเจ็บสาหัส
แถลงผลสอบสาเหตุทางเลื่อนดอนเมือง
อุปกรณ์ดังกล่าวติดตั้งตั้งแต่ปี 2530 ใช้มา 28 ปีแล้ว มีการปรับปรุงครั้งใหญ่ในปี 2558 โดยมีผู้ว่าจ้างเป็นตัวแทนของบริษัททางเลื่อนโดยตรง และที่ผ่านมาในรายงานซ่อมบำรุงมีการเปลี่ยนอะไหล่ใหม่ แต่ไม่ได้ระบุว่ามีการเปลี่ยนแผ่นพื้นและตัวน็อตยึดแผ่นพื้น แต่น็อตไม่พร้อมใช้งาน เกลียวไม่มี และทางเลื่อนนี้มีเซนเซอร์ 5 ชนิด แต่กลับไม่มีเซนเซอร์ที่ป้องกันหากเกิดกรณีแผ่นพื้นหลุด
ขณะที่ในสัญญากำหนดให้มีการตรวจจัดทำรายงานรับประกันความปลอดภัยลิฟต์ บันไดเลื่อน ทางเลื่อนทุกปี ปีละ 1 ครั้ง ตรวจสอบโดยวิศวกรเครื่องกล
"ทอท.ให้ตรวจรับรองความปลอดภัยทางเลื่อน ที่ผ่านมามีการตรวจล่าสุด คือ วันที่ 17 มี.ค.2566 การตรวจดังกล่าวไม่พบส่วนประกอบแผ่นพื้นทางเลื่อน เป็นรายงานที่เป็นทางการ มีการตรวจเซนเซอร์ตัวอื่น ผู้ตรวจสอบคนที่รับรองไม่มีคุณสมบัติเพราะเป็นวิศวรกรระดับภาคี ไม่ใช่ระดับสามัญตามสัญญาจ้าง และตามที่วิศวกรรมสถานฯกำหนด"
สาเหตุวิศวกรขาดคุณสมบัติ-อุปกรณ์ไร้มาตรฐาน
คณะกรรมการพิจารณาแล้วพบว่า สาเหตุเกิดจากอุปกรณ์ และอาจจะมาจากการตรวจสอบที่ไม่ครบถ้วนของวิศวกรที่ขาดคุณสมบัติ
คณะกรรมการฯ ได้เสนอแนวทางเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการใช้อุปกรณ์ทางเลื่อน ได้แก่ การฟื้นฟูความมั่นใจในการใช้อุปกรณ์ โดยการตรวจสอบแผ่นทางเลื่อน โครงสร้างของแผ่นทางเลื่อนทุกอุปกรณ์ โดยการจ้างหน่วยงานหรือบุคคลที่สาม (Third Party) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านลิฟต์ บันไดเลื่อน และทางเลื่อนมาดำเนินการตรวจสอบ และปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยตามมาตรฐาน EN1.15-2 ใน version ล่าสุด เช่น การติดตั้งตัวตรวจจับกรณีแผนทางเลื่อนหายไป
การตรวจสอบบำรุงรักษาอุปกรณ์ทางเลื่อน เช่น การติดตั้งกล้อง CCTV ประจําทางเลื่อน รวมถึงจัดให้มีการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอก (External Audit) ของระบบการบำรุงรักษาของอุปกรณ์เครื่องกลของท่าอากาศยาน เพื่อให้ทราบข้อบกพร่องของการบำรุงรักษาของท่าอากาศยาน ตลอดจนการพัฒนาความรู้ และความสามารถของบุคคลากรและการปรับปรุงคู่มือและขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Standard Operating (Procedure: SOP) อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้วย
ทอท.ยันชดเชยเยียวยาผู้บาดเจ็บอย่างดีที่สุด
ยืนยันเยียวยา "คนเจ็บ" อย่างถึงที่สุด
นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) กล่าวว่า สำหรับการดูแลผู้โดยสารที่ได้รับบาดเจ็บ ได้มีการเข้าเยี่ยมและติดตามกระบวนการรักษาจากทีมแพทย์อย่างใกล้ชิด พร้อมรับผิดชอบดูแลค่ารักษาพยาบาล และจะดำเนินการเรื่องค่าชดเชยเยียวยาผู้บาดเจ็บอย่างดีที่สุด แต่ไม่ขอเปิดเผยตัวเลข
ส่วนกรณีเรื่องค่ารักษาพยาบาลที่ให้ผู้เสียหายระบุตัวเลขนั้น ยืนยันว่า การให้ผู้เสียหายทำตัวเลขที่ต้องการให้เยียวยา เนื่องจากเป็นเรื่องปกติที่ต้องส่งข้อมูลว่าส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างไร ซึ่งเป็นไปตามปกติทุกเคส และกระบวนการนี้ ทอท.ไม่ได้ปล่อยให้ผู้เสียหายไปหารือเอง แต่จะเข้าไปช่วยหารือ เพื่อให้ผู้เสียหายมั่นใจเพียงพอในการดูแลผู้บาดเจ็บ ส่วนเรื่องคดีว่าจะดำเนินการกับผู้ที่เกี่ยวข้องจนทำให้เกิดอุบัติเหตุเป็นหน้าที่ตำรวจ
ขณะเดียวกัน ทอท.ได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาลิฟต์บันไดเลื่อน ทางเลื่อนทุกตัวของ ทอท.ว่าเก่าหรือซ่อมบำรุงไม่เป็นไปตามมาตรฐาน โดยร่วมมือกับวิศวรกรรมสถานฯ คาดว่า จะใช้เวลาในการตรวจสอบประมาณ 3 เดือน เบื้องต้นหากทางเลื่อนมีอายุการใช้งานนาน จะมีแผนเปลี่ยนทั้งหมดในปีงบประมาณ 2567 คาดว่าจะใช้เวลา 6-8 เดือนในการดำเนินการจัดซื้อจัด