ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"หมอล็อต" ชี้ "แมลงวันตา" ทำกระทิงตาบอดปล่อยแบคทีเรียก่อโรค

สิ่งแวดล้อม
17 ก.ค. 66
10:35
1,691
Logo Thai PBS
"หมอล็อต" ชี้ "แมลงวันตา" ทำกระทิงตาบอดปล่อยแบคทีเรียก่อโรค
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"หมอล็อต" เฉลยแล้วสาเหตุ "กระทิงตาบอด" สาเหตุจากแมลงวันตา (eye fly) ที่เข้ามาตอมดวงตาและทำให้เกิดแบคทีเรียก่อโรคทำให้กระทิงตาบอดได้ ชี้ต้นตอที่แท้จริงจากภาวะความแห้งแล้งทำแมลงวันตาระบาดหนัก

กรณีการตั้งข้อสังเกตพบกระทิงที่หากินในพื้นที่ผากระดาษ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พบเบื้องต้นมีอาการ “ตาบอด” โดยตัวล่าสุดชื่อ "ชบาแก้ว" ที่เพิ่งตกโคลนเลนและได้รับการช่วยเหลือแล้ว

วันนี้ (17 ก.ค.2566) นายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน หัวหน้ากลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โพสต์เฟซบุ๊ก ภัทรพล ล็อต มณีอ่อน ระบุถึงสาเหตุพบปัญหากระทิงตาบอด โดยระบุว่า น่าจะเกิดจากแมลงวันตาหรืออาย ฟลาย (eye fly) ที่เข้ามาตอมดวงตาและทำให้เกิดแบคทีเรียก่อโรคทำให้กระทิงตาบอด โดยพบกระทิงตาบอดแล้ว เช่นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และกุยบุรี 

"หมอล็อต" ระบุสาเหตุว่า แมลงชนิดนี้เข้ามารุมดูดกินน้ำเลี้ยงจากลูกนัยน์ตา ทำให้ตาแดง เคืองตา น้ำตาไหล เจ็บตา และมีขี้ตามาก ติดเชื้อโรคที่ติดมากับมันด้วย พบว่าต่อมน้ำเหลืองหลังหูจะเจ็บและบวม ส่วนใหญ่เกิดที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อนและติดเชื้อลามไปอีกข้าง ทำให้เกิดตาบอดถาวรทั้งสองข้าง เกิดขึ้นได้ในกระทิงทุกเพศ ทุกช่วงอายุ โดยอาจมีปัจจัยความแข็งแรงทางร่างกายและพันธุกรรมเป็นตัวเสริม

ไม่ใช่แค่ลูกนัยน์ตา บริเวณที่มีเนื้อเยื่ออ่อนๆ เช่น จมูก อวัยวะเพศ มันก็ชอบ นอกจากนั้น มันยังดูดเลือดและน้ำเหลืองจากบาดแผล ทำให้แผลหายช้า รักษาไม่หายขาด เกิดเป็นแผลเรื้อรังจากการนำเชื้อโรคต่างๆมาสู่แผล นำมาสู่การติดเชื้อในกระแสเลือดและเสียชีวิตได้

อ่านข่าวเพิ่ม 5 ชั่วโมง! ช่วย "ชบาแก้ว" กระทิงตาบอดจมเลน อาการอ่อนเพลีย

ชบาแก้ว กระทิงตาบอดจมเลนที่ผากระดาษ

ชบาแก้ว กระทิงตาบอดจมเลนที่ผากระดาษ

ชบาแก้ว กระทิงตาบอดจมเลนที่ผากระดาษ

นอกจากนี้ หมอล็อต ยังระบุว่าสัตว์อื่นเป็นหรือไหมว่า เป็นความกังวลอย่างหนึ่ง ในเมื่อกระทิงเป็นแล้ว สัตว์ป่าอื่นๆ จะมีความเสี่ยงด้วยหรือไม่ เท่าที่สังเกตและติดตาม สรีระร่างกาย และพฤติกรรมของสัตว์แต่ละชนิดมีกลไกป้องกัน เช่น ช้างป่า มีใบหูขนาดใหญ่ พัดลมไล่แมลงได้ รวมถึงมีงวงที่เป็นจมูกยาวๆเป่าลมไล่แมลงที่ตาได้

ส่วน เก้ง กวาง หูจะมีขนาดใหญ่พอที่จะสะบัดลม หรือส่ายหัวไล่แมลงได้ เหมือนกันกับวัว ควาย แต่ถ้าโดนรุมจำนวนมากๆ ก็ยากที่จะไล่ออกไป ต้องหวังพึ่งพวกนกต่างๆที่เข้ามาช่วยกำจัด

นอกจากนี้ยัง เกิดในคนได้ ทำให้เกิดโรคตาแดง และหากมันตอมบาดแผล แผลก็จะหายช้า และติดเชื้อได้ หากเป็นช่วงที่มีการระบาดของโรคตาแดง แล้วแมลงชนิดนี้ไปกินสารคัดหลั่งที่ลูกนัยน์ตาของคนป่วย แล้วไปเกาะกินสารคัดหลั่งจากคนอื่นๆ อีก ก็อาจจะทำให้โรคตาแดงระบาดได้

ไม่ใช่แค่นั้น ความน่ากลัวที่แท้จริง แมลงชนิดนี้ยังนำเชื้อแบคทีเรียหลากหลายชนิด จากการศึกษาเมื่อปี 2552 โดย ดร.อุรุญากร จันทร์แสง พบแบคทีเรียทั้งหมด 64 ชนิด ซึ่ง 36 ชนิดเป็นแบคทีเรียชนิดที่มีความเสี่ยงในการก่อโรคในระดับที่ 2 ตามประกาศของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งปกติแบคทีเรียก่อโรคจะมีระดับความเสี่ยงอยู่ 4 ระดับ ระดับ 4 เสี่ยงสูงสุดแล้ว ลดหลั่นลงไป

นายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน กรมอุทยานแห่งชาติฯระบุสาเหตุแมลงวันตา ต้นตอทำกระทิงตาบอด

นายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน กรมอุทยานแห่งชาติฯระบุสาเหตุแมลงวันตา ต้นตอทำกระทิงตาบอด

นายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน กรมอุทยานแห่งชาติฯระบุสาเหตุแมลงวันตา ต้นตอทำกระทิงตาบอด

Climate change ตัวเร่งแมลงก่อโรค

แต่แบคทีเรียที่พบในแมลงชนิดนี้อยู่ในระดับที่ 2 เช่น เอนเทอโรค็อกคัส สูโดโมนาส สแต็ปโตค็อกคัส สแต็ปฟิโลค็อกคัส ผ่านมา 10 กว่าปี กับปัจจัยเรื่อง Climate change ไม่แน่ใจว่าจะพบเชื้อแบคทีเรียเพื่มมากขึ้นหรือพบไวรัสชนิดใหม่ๆ ด้วยหรือไม่ ตอนนี้กำลังหาคำตอบ

เจ้าแมลงที่ว่านี้ เพิ่มจำนวนเร็วมาก โดยเฉพาะช่วงหน้าแล้ง ฝนทิ้งช่วง มันคือ แมลงวันตา หรืออาย ฟลาย (eye fly) พบแพร่กระจายทั่วไปและระบาดมากในบางพื้นที่ โดยชนิดที่พบในประเทศไทย คือ ไซปันคูลินา ฟูนิโคลา (siphunculina funicola)

นี่จึงเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ ที่ทำให้กระทิงตาบอด จะต้องทำความรู้จักเจ้าแมลงชนิดนี้ ให้มากที่สุด เพื่อหาทางรับมือภายใต้สภาวะความแห้งแล้งจากปรากฏการณ์ เอลนีโญ ที่ต้องจัดสมดุลต่างๆ อีกมากมาย โลกร้อน ส่งผลต่อทุกชีวิตในโลก และนี่คือ เหตุการณ์หนึ่งกับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสัตว์ป่า โดยเฉพาะกระทิง ที่เกิดขึ้นหลายพื้นที่ และอาจมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง