วันนี้ (11 ก.ค.2566) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่าความคืบหน้าเหตุโครงการก่อสร้างทางยกระดับถนนอ่อนนุช- ลาดกระบัง ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คน เบื้องต้นจากการตรวจสอบสาเหตุ สันนิษฐานว่าเกิดจากตัวโครงสร้างสะพาน (Box Segment) พังลงขณะดึงลวดอัดแรงส่งผลให้ Launching Truss เสียสมดุล และล้มพับทับโครงสร้างสะพานบริเวณเสาที่ 83 และ 84 เสียหาย 1 ช่วงสะพาน
นายชัชชาติ กล่าวถึงกรณีถูกอ้างว่าทีมงานชัชชาติ เปลี่ยนแบบ ไม่มีประเด็น เป็นเรื่องไร้สาระ และเป็นกระบวนการปกติของผู้รับเหมาที่มีการทำล่าช้า และขอเปลี่ยนวิธีก่อสร้างมาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ทางผู้รับเหมาได้แจ้งขอเปลี่ยนรูปแบบการก่อสร้าง เมื่อเดือนต.ค.2565
ภาพมุมสูงเห็นร่องรอยความเสียหายเหตุสะพานลาดกระบังถล่ม
เพื่อให้การก่อสร้างเร็วขึ้นจากแบบเดิมการหล่อตัว Box Segment ทำในพื้นที่ แต่ขอเปลี่ยนแบบ Box Segment แบบสำเร็จ แต่ยืนยันรูปแบบดังกล่าว เป็นวิธีก่อสร้างที่มีการทำกันอยู่แล้ว มีการควบคุมตามหลักวิศวกรรม ไม่ได้มีความปลอดภัยน้อยลง แต่คาดว่าสาเหตุเกิดจากความผิดพลาดในการก่อสร้าง
ไม่มีการสั่งเปลี่ยน ขอให้ดูข่าวสารที่ถูกต้องถ้านำเข้าข้อมูลที่เป็นเท็จ มีความผิดตามกฎหมาย และขออย่าสร้างความสับสน เรื่องนี้เป็นขั้นตอนทางวิศวกรรม ไม่มีใครไปสั่งให้ทำและเกิดความเสี่ยงแน่นอน
นายชัชชาติ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวมีผู้รับจ้างคือ กิจการร่วมค้า ธาราวัญ-นภา สัญญา สนย.11/2564 ช่วงเวลาทำสัญญา 23 ก.พ.2564-11 ส.ค.2566 ระยะเวลาก่อสร้าง 900 วัน วงเงิน 1,664 ล้านบาท โดยทำโครงการ 3,500 เมตร มีการประมูลมาก่อนที่ตัวเองเข้ามารับตำแหน่ง
ยอมรับว่าโครงการนี้มีปัญหาความล่าช้าและเคยถูกสก.ตั้งกระทู้นี้มา โครงการเกิดความเสียหายจากโครงสร้างสะพาน และมีความเสียหาย 1 ช่วงสะพานและอีก 2 เช็กชั่น มีเสาพัง 2 ต้น โดยชิ้นส่วนตกลงมากลางสะพานมีคนงานเจ็บ 7 คนเสียชิวต 1 คนเป็นวิศวกร และแรงงาน 1 คน
ส่วนบริษัทที่รับเหมา ยอมรับว่าเพิ่งรับงานครั้งแรก กับทาง กทม. และประมูลตามขั้นตอน โดยเสนอราคาต่ำกว่าราคากลาง 400,000 บาท จนเป็นผู้ชนะการประมูล ซึ่งนอกจากโครงการดังกล่าวแล้ว ใน กทม. ไม่มีการก่อสร้างในจุดอื่น มีเพียงการก่อสร้างสะพานทางเดินเชื่อมตรงย่านบางกะปิ
อ่านข่าวเพิ่ม "ชัชชาติ" ชี้เหตุผิดพลาด Launcher ดึงสะพานถล่ม-เร่งเคลียร์ซาก
เจ้าหน้าที่เร่งเคลียร์โครงเหล็กก่อน จากนั้นจึงจะเคลื่อนย้ายซากปูนสะพานที่มีน้ำหนักมากออก
สั่งเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
ผู้ว่าฯกทม.กล่าวอีกว่า สถานการณ์ถึงช่วงเที่ยงคืน (10 ก.ค.) ได้มอบหมายให้ผู้รับเหมาเตรียมเข้ารื้อถอน โดยต้องนำโครงเหล็กออก่กอน และมีการปูพรมว่าต้องไม่มีคนตกค้างนื้นที่ จึงใช้เครนหนัก 200 ตันมายกชิ้นส่วนที่หนักถึง 30 ตัน พยายามให้แล้วเสร็จภายในวันนี้ และการรื้อต้องไม่ให่เกิดการเสียสมดุล และถ้านำโครงเหล็กออกแล้วจึงนำคอนกรีตด้านล่างออกก่อน
โดยโครงการนี้ มีบริษัทผู้รับเหมา 2 ราย ในลักษณะ Joint venture หรือ กิจการร่วมค้า คือ ธาราวัญ-นภา ซึ่งเดิมใช้รูปแบบการก่อสร้าง ใช้ Segment หรือแผ่นปูนที่ใช้ทำพื้นถนน แบบหล่อสำเร็จในพื้นที่ก่อสร้าง เพราะมีค่าใช้จ่ายถูกกว่า แต่ใช้พื้นที่มากกว่า
นอกจากนี้ความเสียหายที่เกิดขึ้น จะมีบริษัทประกันภัยเข้ามาตรวจสอบ และจ่ายสินไหมเยียวยา รวมถึงมีการเยียวยาผู้เสียหาย และผู้ได้รับผลกระทบตามระเบียบของกรุงเทพมหานคร รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับประชาชน ทางผู้รับเหมาต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
อ่านข่าวเพิ่ม ไทม์ไลน์ 18 ชั่วโมง สะพานถล่ม ย่านลาดกระบัง
ปิดไซต์งาน-เคลียร์ซากชิ้นเสร็จภายใน 3 วัน
ทั้งนี้ ได้สั่งปิดไซต์งานทั้งโครงการ ไปจนกว่าจะหาข้อสรุปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ พร้อมถึงแผนงานที่บริษัทรับเหมาทำแผนรื้อย้ายอย่างปลอดภัยส่งมาให้ เพื่อเคลียร์ชิ้นส่วนก่อสร้างที่ถล่ม และปิดทับเส้นทางถนนหลวงแพ่ง ฝั่งขาเข้าในขณะนี้ เบื้องต้น จะอาจใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 3 วัน และจะประเมินใหม่ และต้องเปิดให้ได้ภายใน 3 วัน
นอกจากนี้ กทม. ยังได้กำชับหน่วยงานเกี่ยวข้อง เช่น สนง.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตรวจสอบและช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 2 คน บาดเจ็บ 12 คน บางคนเจ็บเล็กน้อยกลับบ้านได้แล้ว
ส่วนความเสียหายบ้านเรือนประชาชน และทรัพย์สินประชาชน ขอให้แจ้งมาได้เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าไปดูและพิจ่ารณาค่าเสียหาย
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
10 ชีวิตไร้ที่อยู่สะพานถล่ม-สภาผู้บริโภค เปิดช่องยื่นค่าชดเชย
"ในหลวง" ทรงรับผู้บาดเจ็บสะพานถล่มไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์