วันนี้ (3 ก.ค.2566) เมื่อเวลา 19.46 น.ที่ผ่านมา นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมด้วย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย และนายภูมิธรรม เวชยชัย แกนนำพรรคเพื่อไทย ร่วมแถลงข่าวกรณีการเสนอชื่อผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภาฯ
นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวว่า นายพิธา กล่าวว่า ดำเนินการตามข้อตกลงร่วมระหว่างพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทย เรื่อง ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
ตามที่พรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย พรรคประชาชาติ พรรคไทยสร้างไทย พรรคเสรีรวมไทย พรรคเป็นธรรม พรรคเพื่อไทยรวมพลัง และพรรคพลังสังคมใหม่ ได้ประชุมหารือร่วมกันกรณีตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยมอบหมายให้พรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยไปเจรจาตกลงร่วมกันนั้น
บัดนี้ พรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยได้ตกลงร่วมกัน ดังนี้
1.เสนอชื่อ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา มะทา เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคก้าวไกล เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคเพื่อไทย เป็นรองประธานสภาคนที่ 2 โดยพรรคประชาชาติ พรรคไทยสร้างไทย พรรคเสรีรวมไทย พรรคเป็นธรรม พรรคเพื่อไทยรวมพลัง และพรรคพลังสังคมใหม่พร้อมให้การสนับสนุนตามข้อตกลงนี้
2. บุคคลที่จะปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร พร้อมผลักดันวาระที่ทำให้รัฐสภาไทยก้าวหน้า ให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพ และเป็นของประชาชน
3. ข้อตกลงเรื่องตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนี้ เป็นไปเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพระหว่าง 8 พรรคในการจัดตั้งรัฐบาล เสนอและสนับสนุน นาย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี อย่างสุดความสามารถ โดยดำเนินการตามข้อตกลง MOU ที่ได้แถลงร่วมกัน
เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2566
4. พรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยยืนยันร่วมกันให้ความเห็นชอบกฎหมายสำคัญเพื่อประชาชน ซึ่งรวมถึงการนิรโทษกรรมคดีแสดงออกทางการเมือง และการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูปกองทัพ ได้แก่
ร่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ร่าง พ.ร.บ.กฎอัยการศึก และ ร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตามที่พรรคก้าวไกลเสนอ
พรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทย เชื่อมั่นว่าข้อตกลงเรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานร่วมกันเพื่อจัดตั้งรัฐบาลเข้าไป บริหารประเทศ ตามเจตนารมณ์ที่ประชาชนได้แสดงออกอย่างชัดเจนผ่านการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566
นายพิธา กล่าวต่อว่า วานนี้ (2 ก.ค.66) ได้ส่งนายชัยธวัช ไปพูดคุยกับนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ที่บ้านพักโดยใช้เวลาพูดคุยค่อนข้างนาน และได้มีโอกาสพูดคุยกันก่อน
หารือร่วมกันและเป็นว่าเป็นทางออก และรักษาเอกภาพของพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลทั้ง 8 พรรค
นายภูมิธรรม กล่าวว่า ในระหว่างที่ 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลได้ประชุมที่พรรคก้าวไกล ได้พูดคุยกับนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ว่าหากมีคนกลางเข้ามาช่วยก็จะดีขึ้น โดยนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ระบุ ก็บอกว่าไม่ได้ประสงค์จะเป็นก็อยากให้พูดคุยกันให้ได้ข้อสรุปภายใวันที่ 4 ก.ค.นี้
ผมเห็นว่าควรเสนอวันมูหะมัดนอร์ มะทา จากนัั้นจึงกลับมาพูดคุยกันในพรรคเพื่อไทยและจากนั้นได้พูดคุยกับพรรคก้าวไกลและเห็นว่าจะเป็นทางออกได้ และทั้ง 2 ฝ่ายก็เห็นร่วมกันและจะเดินหน้าต่อไปได้ สิ่งสำคัญไม่เพียงแต่ตำแหน่งประธานสภาฯเท่านั้น หากแต่คือการผลักดันให้รัฐบาลพรรคประชาธิปไตยเดินหน้าไปได้ด้วยดี
นายพิธา ยังกล่าวว่า นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา นำประชาชนเป็นตัวตั้งและเมื่อทั้ง 8 พรรคเป็นเอกภาพมากขึ้น ก็เชื่อว่าอนาคตจะทำงานกันได้ด้วยดี ยืนยันว่า ทั้ง 8 พรรคยังคงเหนียวแน่น และมีจุดร่วมกันซึ่งจะนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลร่วมกันต่อไป
นายพิธา ยังตอบคำถามผู้สื่อข่าว กรณีตำแหน่งรัฐมนตรีว่า ยังคงเป็นกระบวนการต่อไปที่ยังต้องเจรจาและเป็นไปตามหลักการของจำนวน ส.ส.ของแต่ละพรรค ซึ่งขณะนี้ยังไม่ถึงเวลา และยืนยันว่า ทั้ง 8 พรรคยังคงเหนียวแน่น
ขณะที่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า มั่นใจว่า คนของพรรคเพื่อไทยไม่เสนอ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เป็นประธานสภาฯ แข่งแน่นอน และมั่นใจว่าคนของพรรคอื่นไม่สามารถเสนอชื่อคนของพรรคเพื่อไทยมาแข่งแน่นอน และแม้จะมีการเสนอชื่อแข่ง พรรคก็ยืนยันทำตามข้อตกลงคือไม่แข่ง
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
"วันนอร์" ตอบที่แรก ยินดีทำหน้าที่ "ประธานสภาฯ" เดินหน้าดัน "พิธา" นายกฯ