แม้ว่าช้างเชือกนี้จะออกจากกรงมาด้วยอาการปกติ ไม่ปรากฏร่องรอยอ่อนเพลีย หรือหงุดหงิดในระหว่างถูกยกกรงสูงจนกระทั่งเดินออกมาโชว์ตัว และเดินต่อไปยังจุดกักโรคที่เตรียมไว้อย่างนิ่งๆ

พลายศักดิ์สุรินทร์
พลายศักดิ์สุรินทร์
แต่ Behind the scenes ของภารกิจนี้ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่ถือเป็นงานสุดหินครั้งแรกในทีมสัตวแพทย์ 2 คน และควาญช้างคนไทยรวม 6 ชีวิตในเที่ยวบิน AZS-5701 ของเครื่องบิน Ilyushin IL-76 ใน5 ชั่วโมงนั้นมีการใช้แผนฉุกเฉิน "ยาซึม" กับพลายศักดิ์สุรินทร์
เวลา 07.37 น. หลังจากเครื่องบินเริ่มจะ Take Off กำลังจะเชิดหัวขึ้น จากรันเวย์เพียงแค่ 7 นาที พบว่าพลายศักดิ์สุรินทร์ เริ่มงุ่นง่าน หงุดหงิด และใช้งวง และงากระแทก แม้ควาญจะเรียกชื่อ ในวินาทีนั้นสัตวแพทย์และควาญ จึงตัดสินใจใช้ยาซึม

นายสัตวแพทย์สิทธิเดช มหาสาวังกุล
นายสัตวแพทย์สิทธิเดช มหาสาวังกุล
นายสัตวแพทย์สิทธิเดช มหาสาวังกุล ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสัตวแพทย์ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนเที่ยวบินนี้ และเป็นแผนฉุกเฉินที่ถูกประเมินไว้แล้วว่าช่วงเครื่องบินขึ้นเป็นจุดเสี่ยงสำคัญที่อาจทำให้พลายศักดิ์สุรินทร์ตื่นตกใจกับเสียงเครื่องบินที่ดังกระหึ่ม
ยอมรับว่า เป็นการตัดสินใจที่อยู่ในแผนฉุกเฉิน แล้วมีการคำนวณโดสยา ในปริมาณน้อยมาก และเตรียมยาแก้ไว้อย่างดี หลังให้ยาเพียงแค่ 30 นาทีพลายศักดิ์สุรินทร์ ก็เริ่มสงบ ยืนนิ่งเหมือนคนสะลึมสะลือ ลืมตาสะบัดหูเหมือนคนง่วงนอน
นายสัตวแพทย์สิทธิเดช บอกว่า สาเหตุที่พลายศักดิ์สุรินทร์หงุดหงิด เพราะอาจจะตื่นเสียงเครื่องบิน
หลังได้ยาซึม พลายศักดิ์สุรินทร์ยืนนิ่งๆไม่มีอาการอะไรแต่ควาญ สัตวแพทย์ก็คอยดูแลใกล้ชิดเช็กอาการเป็นระยะๆ จนกระทั่งผ่านไป 04.30 น. น่านฟ้าไทย เริ่มฟื้นตัวสะบัดหูไปมาและส่งเสียงขออาหาร ควาญก็ป้อนข้าวป้อนน้ำ และพบว่าอาการเป็นปกติ ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง

กรงพลายศักดิ์สุรินทร์ ในเครื่องบิน Ilyushin IL-76
กรงพลายศักดิ์สุรินทร์ ในเครื่องบิน Ilyushin IL-76
นายสัตวแพทย์สิทธิเดช บอกว่า ยอมรับว่าการตัดสินใจใช้ยาซึมกับพลายศักดิ์สุรินทร์ ถ้าเทียบกับภารกิจขนย้ายช้างบนบก ยอมรับว่ากังวล เพราะอยู่กลางอากาศ เหตุผลที่ไม่อยากให้ยา ให้เพราะขาหน้ามีปัญหา ถ้ายืนและรับน้ำหนักจะมีปัญหา เพราะถ้าวางยาและเกิดหลับลึกเกินไปช้างอาจจะทรุดย่อตัว และเกิดปัญหา

ตลอดการเดินทางพลายศักดิ์สุรินทร์ฉี่มากกว่า 100 ลิตร กรงจึงถูกออกแบบให้มีรางรองรับฉี่ของช้าง และรองด้วยแผ่นยางใต้กรง ฟองน้ำขนาดใหญ่เท่าฟูกมากกว่า 50 ชิ้น
ตลอดการเดินทางพลายศักดิ์สุรินทร์ฉี่มากกว่า 100 ลิตร กรงจึงถูกออกแบบให้มีรางรองรับฉี่ของช้าง และรองด้วยแผ่นยางใต้กรง ฟองน้ำขนาดใหญ่เท่าฟูกมากกว่า 50 ชิ้น
ขณะที่บนเที่ยวบินของ IL-76 อีกหนึ่งเบื้องหลังสำคัญคือทุกคนต้องคอยกันช่วยซับฉี่ของช้าง ซึ่งจะฉี่คราวละ 20 ลิตร เหตุผลคือต้องไม่ให้มีน้ำออกไปบนพื้นเครื่องบิน เพราะอาจเกิดปัญหาไฟฟ้าช็อตได้
ดังนั้นการออกแบบกรงที่ให้มีรางรองรับฉี่ของช้าง และรองด้วยแผ่นยางใต้กรง ฟองน้ำขนาดใหญ่เท่าฟูกมากกว่า 50 ชิ้น ถุงดำใส่น้ำฉี่ และอึของช้างจึงเตรียมพร้อม และช่วยกันซับฉี่ ซึ่งตลอดการเดินทางพลายศักดิ์สุรินทร์ฉี่มากกว่า 100 ลิตร
นายสัตวแพทย์สิทธิเดช บอกว่า ยอมรับว่าวินาทีพลายศักดิ์สุรินทร์ ก้าวลงมาจากกรงอย่างปลอดภัยก็ดีใจที่สุด เพราะภารกิจที่เครื่องลงจอดปลอดภัย ช้างปลอดภัยมา 80% ทีมงานทุกคนหายเหนื่อย เพราะภารกิจอาจเรียกว่า Mission Impossible แต่ Mission possible ได้ ต้องขอบคุณทุกคนแม้จะตื่นเต้น ตกใจ และกังวลบ้าง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
"วราวุธ" อัพเดท "ช้างพลายศักดิ์สุรินทร์" ไม่ตอบ "คืนศรีลังกา" ขอรักษาให้ดีก่อน
เปิดใจเจ้าของ "พลายศักดิ์สุรินทร์" ขอบคุณพาช้างกลับบ้านเกิด
คืนแรก "พลายศักดิ์สุรินทร์" ท่ามกลางธรรมชาติ
เปิดใจ "สัตวแพทย์" ภารกิจ 5 ชม.บนเที่ยวบิน IL-76 ดูแล "พลายศักดิ์สุรินทร์" ถึงไทย