หลังจากมีคาดการณ์แนวโน้มปรากฎการณ์เอลนีโญ ที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะภัยแล้ง และขาดแคลนน้ำลากยาวถึงปีหน้า ซึ่งกรมชลประทาน ต้องเตรียมบริหารจัดการน้ำในเขื่อน
ไทยพีบีเอส สำรวจปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี ที่ลดลงต่อเนื่อง ทำให้ซุ้มประตูวัดเก่าแก่ เริ่มโผล่พ้นน้ำให้เห็น รวมถึงเนินดินกลางเขื่อนก็โผล่ขึ้นมา แม้จะยังไม่เข้าสู่ช่วงฝนทิ้งช่วง ที่จะเริ่มช่วงกลางเดือนมิ.ย.นี้

ปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่ลดลงต่อเนื่อง ทำให้ซุ้มประตูวัดเก่าแก่ เริ่มโผล่พ้นน้ำให้เห็น รวมถึงเนินดินกลางเขื่อนก็โผล่ขึ้นมา
ปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่ลดลงต่อเนื่อง ทำให้ซุ้มประตูวัดเก่าแก่ เริ่มโผล่พ้นน้ำให้เห็น รวมถึงเนินดินกลางเขื่อนก็โผล่ขึ้นมา
นายอนุสรณ์ ตันติวุฒิ รองผอ.สำนักงานชลประทานที่ 10 กรมชลประทาน กล่าวว่า สถานการณ์น้ำของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เมื่อเปรียบเทียบปีที่แล้ว ในช่วงเวลาเดียวกัน ยังคงไม่แตกต่าง และคาดว่าจะไม่รุนแรงเท่าภัยแล้งเมื่อปี 2563 ที่เหลือน้ำเพียง 8-9 ล้านลูกบาศก์เมตร และจะต้องบรรทุกน้ำไปแจกจ่ายให้เกษตรกร
โดยปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ขณะนี้คงเหลือที่ 141 ล้านลูกบาศก์เมตร จากความจุเขื่อน 960 ล้านลูกบาศก์เมตร อยู่ในเกณฑ์ปกติ ใกล้เคียงกับปี 2565 ปัจจุบันระบายน้ำวันละ 1 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อใช้อุปโภคบริโภค จากเดิมที่ระบายวันละ 3-4 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อให้เกษตรกรใช้ทำนาปรัง และทำเกษตรกรรม
คาดว่าจะมีน้ำใช้อีก 3-4 เดือน จากนั้น 2 เดือนน้ำจากต้นน้ำเพชร บูรณ์จะไหลเข้าเขื่อน ดังนั้นประเมินน้ำในเขื่อนที่มีอยู่จึงเพียงพอ

อนุสรณ์ ตันติวุฒิ รองผอ.สำนักงานชลประทานที่ 10 คาดว่าจะแล้งไม่รุนแรงเท่าภัยปี 2563 ที่เหลือน้ำเพียง 8-9 ล้านลบ.ม. ขณะนี้มีปริมาณน้ำ 141 ล้านลบ.ม.
อนุสรณ์ ตันติวุฒิ รองผอ.สำนักงานชลประทานที่ 10 คาดว่าจะแล้งไม่รุนแรงเท่าภัยปี 2563 ที่เหลือน้ำเพียง 8-9 ล้านลบ.ม. ขณะนี้มีปริมาณน้ำ 141 ล้านลบ.ม.
ทั้งนี้ การบริหารจัดการน้ำของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ตั้งแต่ช่วงหน้าแล้ง เดือนม.ค.ที่ผ่านมา มีการระบายน้ำเพื่อการเกษตร และนาปรังไปแล้วกว่า 600 ล้านลูกบาศก์เมตร
ส่วนหน้าฝนนี้ จะเน้นระบายน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ส่วนการทำการเกษตร หรือนาปี จะใช้น้ำฝนเป็นหลัก หากขาดแคลน ก็จะใช้น้ำในเขื่อนไปช่วย ซึ่งในช่วงฝนทิ้งช่วง จำเป็นจะต้องขอความร่วมมือเกษตรกรที่ทำการเกษตรบนพื้นที่ดอน ให้เลื่อนการทำเกษตรไปก่อนจนกว่าฝนจะตกสม่ำเสมอ

เช็กปริมาณน้ำกักเก็บ 4 เขื่อนใหญ่
ข้อมูลจากกรมชลประทาน (10 มิ.ย.) รายงานปริมาณในเขื่อนขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ 16,130 ล้านลบ.ม. เทียบกับปี 2565 ปริมาณ 18,616 ล้านลบ.ม.โดยพบว่า 4 เขื่อนใหญ่ ดังนี้
- เขื่อนภูมิพล ปริมาณน้ำ 7,113 ล้านลบ.ม.คิดเป็น 53% ของความจุอ่าง
- เขื่อนสิริกิติ์ ปริมาณน้ำ 3,943 ล้านลบ.ม.คิดเป็น 41% ของความจุอ่าง
- เขื่อนแควน้อย ปริมาณน้ำ 191 ล้านลบ.ม.คิดเป็น 20% ของความจุอ่าง
- เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปริมาณน้ำ 142 ล้านลบ.ม.คิดเป็น 15 % ของความจุอ่าง

ห่วงเจ้าพระยาเจอน้ำเค็มรุกปลายเดือนธ.ค.นี้
ผศ.ดร.สิตางศุ์ พิลัยหล้าภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ (มก.) ประเมินว่าสถานการณ์แล้งที่เกิดขึ้นในปีนี้ จะส่งผลกระทบไปถึงปีหน้า จากปรากฎการณ์เอลนิโญ สิ่งที่จะเกิดขึ้นจากนี้ คือผลกระทบต่อเกษตรกร และชาวนา น้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปา
ที่สำคัญคือน้ำจืดสำหรับผลักดันน้ำเค็มมีไม่เพียงพอ จะทำให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยากร่อย และเริ่มเห็นผลกระทบช่วงปลายเดือนธ.ค.นี้ ยาวไปจนถึงเดือนมี.ค.2567
จึงขอให้กรมอุตุนิยมวิทยามีข้อมูลสำหรับเตือนประชาชนชัดเจน กรมชลประทานต้องบริหารจัดการน้ำ และปรับแผนการจ่ายน้ำสำหรับภาคเกษตรกรรมด้วย
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง