ทั่วโลกเคยเผชิญซูเปอร์เอลนีโญ-ลานีญามาแล้วกี่ครั้ง ในรอบ 70 ปี แต่ละครั้ง เคยส่งผลกระทบอะไรกับสภาพอากาศของไทย
โลกเผชิญ “ซูเปอร์เอลนีโญ” 5 ครั้ง
1.ปี 2515-2516
2.ปี 2525-2526
3.ปี 2534-2535
4.ปี 2540-2541
5.ปี 2558-2559
6.ปี 2566-2567 (ซึ่งจะเริ่มต.ค.นี้)
“ลานีญา”รุนแรง 5 ครั้ง
1.ปี 2497-2499
2.ปี 2516-2519
3.ปี 2531-2532
4.ปี 2541-2542 (รุนแรงในช่วงฤดูหนาว)
5.ปี 2554 (มหาอุทกภัย ฝนตกสะสม 1,822 มม. ซึ่งสูงกว่าค่าปกติ 28%)
6.ปี 2563-2565
ฤดูร้อนปีนี้เทียบสถิติเดิม 44.6 องศาที่จ.ตาก
นายสมควร ต้นจาน ผู้อำนวยการส่วนพยากรณ์อากาศกลาง กองพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า กรมอุตุนิยมวิทยา ประเมินว่าปรากฏการณ์เอลนีโญ คาดหมายว่า ในช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย.2566 จะเข้าสู่ช่วงเอลนีโญ ซึ่งถ้าเอลนีโญรุนแรงจะกระทบมาก จากที่คาดการณ์ฝนเฉลี่ยเดิมน้อยกว่า 5 % อาจจะไปถึง 10 % แต่ถ้ายังเป็นเอลนีโญระดับปานกลาง และเคยเกิดที่ฝนหายไปในช่วงฝน ไมมีฝนตกเป็นสัปดาห์ ในช่วงปี 2562
คาดปริมาณฝนจะมีรูปแบบคล้ายกับปี 2558-59 หรือ 2562-2563 ซึ่งเป็นปีเอลนีโญรุนแรง แต่ปี 2562 ยังมีพายุมาช่วยปลายปี และเกิดผลกระทบภัยแล้งในภาคกลาง
ส่วนอุณหภูมิความร้อน พบว่าตั้งแต่ช่วงต้นปีนี้ อากาศร้อน และพบว่าอุณหภูมิ ก็เกือบทำลายสถิติปี 2559 โดยมีอุณหภูมิ 44.6 องศาเซลเซียส ที่ อ.เมือง จ.ตาก
คาดการณ์ฤดูร้อนปี 2567 อาจจะร้อนกว่า เพราะจำนวนวันที่ฝนตกน้อยลงกว่านี้ ช่วงสิ้นฝนปลาย ส.ค.และรอยต่อไปฤดูแล้ง ฝนน้อย จำนวนวันที่ฝนตกน้อยลงจึงมีผลต่อถึงหน้าร้อน
ถ้ามีพายุ 1-2 ลูกเข้ามาช่วย ปริมาณฝนที่คาดการณ์อาจจะไม่ต่ำกว่า 5 % แต่ถ้าไม่มีพายุจะมีน้ำเข้าเขื่อนน้อยลงและเสี่ยงเจอภาวะขาดแคลนน้ำ
"ติดตามสถานการณ์สภาพแวดล้อม ภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไปกับไทยพีบีเอสใน 1.5 องศาจุดเปลี่ยนโลก"
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
PM 2.5 ยังวิกฤต “ผอ.กรีนพีซ” ชี้ทุกภาคส่วน ทั้ง “รัฐบาล-ประชาชน-กฎหมาย” ต้องช่วยแก้
ไขคำตอบ เอลนีโญ-ลานีญา ความต่างที่สุดขั้ว
โลกร้อน “ลานีญา” สลับขั้ว "เอลนีโญ"ไทยเผชิญฝนน้อย-แล้งยาว 19 เดือน
2566 โลกร้อน อากาศแปรปรวน การพยากรณ์ไม่ง่าย