ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เริ่มแล้ว Bangkok Pride 2023 สุดคึกคัก "คนดัง-นักการเมือง" ร่วมงานคับคั่ง

สังคม
4 มิ.ย. 66
16:30
7,712
Logo Thai PBS
เริ่มแล้ว Bangkok Pride 2023  สุดคึกคัก "คนดัง-นักการเมือง" ร่วมงานคับคั่ง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เทศกาลไพรด์ เป็นช่วงเวลาที่ทั่วโลก และไทยมีกิจกรรมยิ่งใหญ่ในเดือน มิ.ย.ของทุกปี ปีนี้กรุงเทพฯ จัดยิ่งใหญ่ มีบุคคลมีชื่อเสียง และนักการเมืองมาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง เพื่อร่วมกันเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในสังคมไทย

วันนี้ (4 มิ.ย.2566) หลายหน่วยงานร่วมกันจัด “Bangkok Pride 2023 “ ภายใต้แนวคิด Beyond Gender เรียกร้องการแก้ปัญหาในหลากหลายมิติที่จะทำให้ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน ครอบคลุมความหลากหลายมากขึ้น

ขับเคลื่อน 4 ประเด็นสำคัญคือ การรับรองเพศสภาพ สมรสเท่าเทียม สิทธิของ Sex Workers และ สวัสดิการถ้วนหน้าสำหรับ LGBTQ+

กิจกรรมวันนี้คึกคักอย่างมาก มีชาวไทยและชาวต่างชาติ มาร่วมขบวน พาเหรดปีนี้จะประกอบด้วย 6 ขบวนตามสีในธงไพรด์ และนอกจากการขับเคลื่อนความเท่าเทียมในประเด็นต่าง ๆ แล้ว

ความน่าสนใจในปีนี้คือแต่ละขบวนจะมีดนตรีประจำขบวนเพื่อเป็นการสร้างสีสัน โดยคัดเลือก 6 แนวดนตรีที่ในประวัติศาสตร์เคยเป็นสัญลักษณ์ของความขบถ เช่น ฮิปฮอป หมอลำ ร็อก แจ๊ส หรือแม้แต่เพลงป็อปโดยศิลปินยุคปัจจุบันที่มีความขบถต่อกฎเกณฑ์ในสังคม

ไพรด์พาเหรดจะเริ่มจากแยกปทุมวันไปสิ้นสุดที่แยกราชประสงค์ (ถนนพระราม 1) ความยาว 1.5 กม. เมื่อเดินขบวนเสร็จจะมีไฮไลต์อยู่ที่ Pride Stage ที่จะมีกิจกรรมมากมาย เช่น ถ้อยคำแถลงชุมชนเพศหลากหลาย ถ้อยแถลงกรุงเทพมหานคร การแสดงจากแดร็กควีน และมินิคอนเสิร์ตจากศิลปิน LGBTQ+

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีนักการเมืองและบุคคลที่มีชื่อเสียงเข้าร่วมกิจกรรมด้วย ทั้งนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม.

 

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย รวมถึง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย 

 

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เพื่อไทยโพสต์จุดยืนหนุนกฎหมาย "สมรสเท่าเทียม"

กลุ่ม LGBTQ+ ภูเก็ต เรียกร้อง รบ.ใหม่ขับเคลื่อน "สมรสเท่าเทียม" 

เลือกตั้ง2566 : "พิธา" ให้คำมั่นดัน "กม.สมรสเท่าเทียม" สำเร็จก่อนไทยเจ้าภาพเวิลด์ไพรด์ 2028  

ทำไมต้อง "สมรสเท่าเทียม" หนึ่งเสียงสะท้อนขอสิทธิ "คนเท่ากัน" 

ครม.ตีตกร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ผลักดันร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต เข้าสภาฯ 

"ธงสีรุ้ง" สัญลักษณ์ความเท่าเทียมบนความหลากหลายของ LGBTQ+

 "Pride Month" เดือนแห่งความภาคภูมิใจ ในความหลากหลายทางเพศที่เท่าเทียมของ LGBTQ+

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง