ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

โลกร้อน “ลานีญา” สลับขั้ว "เอลนีโญ"ไทยเผชิญฝนน้อย-แล้งยาว 19 เดือน

สิ่งแวดล้อม
2 มิ.ย. 66
13:44
16,750
Logo Thai PBS
โลกร้อน “ลานีญา” สลับขั้ว "เอลนีโญ"ไทยเผชิญฝนน้อย-แล้งยาว 19 เดือน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
โลกร้อนทุบสถิติในรอบ 174 ปี ส่งผลสภาพอากาศทั่วโลกแปรปรวน “ลานีญา” ลากยาว 3 ปี สลับขั้ว "เอลนีโญ"ที่คาดว่าจะรุนแรงครั้งที่ 6 ในรอบ 73 ปี ไทยเสี่ยงร้อนและแล้งจัด ภาคใต้เสี่ยงสุด แนะจัดสรรน้ำคาดอยู่ยาว 19 เดือน
ถ้าอุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้นเกินค่าเฉลี่ย 1.5 องศาเซลเซียส ต่อให้พวกเราพยายามอย่างสุดแรงแล้วก็ยังยากที่มนุษย์จะปรับตัวต่อภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นได้

นี่ไม่ใช่คำเตือนอีกต่อไป ไม่ใช่แค่ภาพจำจากภาพยนตร์ และไม่ใช่ความรู้สึกที่มนุษยชาติจะเพิกเฉยต่อสิ่งที่ขยับใกล้ตัว แต่เป็นคำยืนยันจากรายงานฉบับที่ 6 ในปี 2022 ของ Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้การทำงานขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น)

คีย์แมสเซส ที่นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่ามีความเป็นไปได้สูงมากที่โลกจะร้อน 1.5 องศาเซลเซียส ภายใน 2030-2040 ทำให้ข้อตกลงปารีสที่เรียกร้องให้นานาประเทศประกาศตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายใน2050 เพื่อควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกิน 1.5- 2 องศาเซลเซียส แต่ข้อเท็จจริงคืออุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นทะลุ 1.5 องศาเซลเซียส อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2015 แล้ว

รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ประเมินเอลนีโญไทยอาจลากยาว 19 เดือน

รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ประเมินเอลนีโญไทยอาจลากยาว 19 เดือน

รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ประเมินเอลนีโญไทยอาจลากยาว 19 เดือน

ปี 2022 เป็นปีที่อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงทุบสถิติ ทั้งที่เกิดปรากฏการณ์ลานีญาถึง 3 ปีติดต่อกัน

รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ บอกกับไทยพีบีเอสออนไลน์ พร้อมฉายให้เห็นภาพที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับภาวะโลกร้อน แบบไม่ทันตั้งตัว

รายงานจาก National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) พบว่าในเดือน ม.ค.และเดือน เม.ย.ของปีนี้ อุณหภูมิโลกสูงมากขึ้นเป็นอันดับ 1 เกินค่าเฉลี่ยปกติในรอบ 174 ปี เพิ่มขึ้นอยู่ที่ +0.87 องศาเซลเซียส มากกว่าปี 2000 ซึ่งมีอุณหภูมิสูงขึ้น +0.34 องศาเซลเซียส นั่นหมายความว่า “โลกของเราร้อนขึ้นมากกว่าเดิม”

โลกร้อน “เอลนีโญ” รุนแรงครั้งที่ 6 ในรอบ 73 ปี

โลกร้อน “เอลนีโญ” รุนแรงครั้งที่ 6 ในรอบ 73 ปี

โลกร้อน “เอลนีโญ” รุนแรงครั้งที่ 6 ในรอบ 73 ปี

โลกร้อน “เอลนีโญ” รุนแรงครั้งที่ 6 ในรอบ 73 ปี

ผู้เชี่ยวชาญภาวะโลกร้อน มก. บอกถึงปัจจัยเร่งของภาวะโลกร้อน ซึ่งมีหลักฐานเชิงประจักษ์จากการที่นักวิทยาศาสตร์ เจาะแกนน้ำแข็งของโลกย้อนหลังกลับไป 800,000 ปี ตอนนั้นความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศไม่เกิน 300 ส่วนต่อล้านส่วน

แต่ตอนนี้อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของทั้งโลกพุ่งสูงถึง 422 ส่วนต่อล้านส่วน ซึ่งการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เหมือนกับผ้าห่มปกคลุมโลกไว้ในชั้นบรรยากาศ เมื่อนานมากขึ้นจะดักจับความร้อนจากดวงอาทิตย์ทำให้โลกอุ่นขึ้น

เขาย้ำว่า หลักฐานที่เกิดขึ้น ถือว่าไม่ปกตินัก เพราะโลกเพิ่งเผชิญกับลานีญา 3 ปีติดๆ กัน ซึ่งแม้จะทำให้มีปริมาณฝนมาก แต่กลับพบความร้อนแบบสุดเหวี่ยงในช่วงเดือนมี.ค.-เม.ย.ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นแรงเหวี่ยงที่รุนแรง

ทำให้ปีนี้ ทั่วโลกกำลังเผชิญ “เอลนีโญ” ครั้งรุนแรงอีกครั้งในรอบ 73 ปี และถือเป็นครั้งที่ 6 นับจากปี 1950-2023 ข้อมูลของ NOAA พบเส้นกราฟเอล นีโญกำลังรุนแรงเชิดหัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ระดับรุนแรงมากกว่า 1.5 – 2 องศาเซลเซียส มีความน่าจะเป็น 54% ในช่วงพ.ย.2566-ม.ค.2567 สอดคล้องกับความน่าจะเป็นที่ Met Office (UK) คาดว่ากำลังของเอลนีโญ ถูกคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปสู่ระดับรุนแรงทะลุ 90%

โลกร้อน “เอลนีโญ” รุนแรงครั้งที่ 6 ในรอบ 73 ปี

โลกร้อน “เอลนีโญ” รุนแรงครั้งที่ 6 ในรอบ 73 ปี

โลกร้อน “เอลนีโญ” รุนแรงครั้งที่ 6 ในรอบ 73 ปี

เขาบอกว่า หลักการถ้าค่าเอลนีโญเกิน 2 องศาเซลเซียสเรียกว่ารุนแรงมาก แต่ถ้าอยู่ระหว่าง 1.5-2 องศาเซลเซียส เรียกว่ารุนแรง แต่สำหรับปีนี้ จากแบบจำลองเรากำลังเผชิญเอลนีโญรุนแรงตั้งแต่ช่วงเดือน พ.ย.ปีนี้ ปกติเอลนีโญ จะอยู่สั้นสุดราว 8 เดือน แต่ถ้ายาว 19 เดือนหรือ 2 ปี

แบบจำลองคาดการณ์เอลนีโญจะรุนแรงมาก ถ้าย้อนสถิติกำลังของ เอลนีโญจากปี 1950 -2023 หรือ 73 ปี ยอดของเอลนีโญที่เกิน 2 องศาเซลเซียสเกิดแค่ 5 ครั้ง และรอบนี้จะเป็นครั้งที่ 6 

น้ำน้อย-ฝนแล้ง-อุณหภูมิสูง พื้นที่เกษตร

รศ.ดร.วิษณุ บอกอีกว่า ในรอบ 73 ปีเกิดเอลนีโญรุนแรง 5 ครั้งปกติค่าเฉลี่ย เอลนีโญ 2-5 ครั้งต่อปี แต่จะมีความถี่ที่ไม่แน่นอน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คำนวณว่าเอลนีโญจะมาถี่ขึ้น และอุณหภูมิอาจจะยกกำลังเพิ่มขึ้น หมายถึงมาพร้อมกับความร้อน แล้ง และเผชิญกับคลื่นความร้อนที่เกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศ เช่น บังกลาเทศ อินเดีย

ทุกครั้งที่เป็นปีเอลนีโญ อุณภูมิโลกจะทำสถิติสูงสุดใหม่ ดังนั้นจึงต้องจับตาว่าจากปลายปีนี้ถึงปี 2567 อุณหภูมิของโลกจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงศตวรรษที่ 21 คือแตะมากกว่า 1.5 องศาเซลเซียส หมายความว่าจะเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องรอจนสนธิสัญญาปารีส

ขณะที่ผลกระทบจากเอลนีโญรุนแรง นักวิชาการโลกร้อน บอกว่า จากพลังของลานิญา 3 ปีติด และกลับมาเป็นเอลนีโญแบบรุนแรง จึงน่ากังวลถึงผลกระทบที่กำลังจะเกิดขึ้น

แน่นอนว่าหากเทียบเอลนีโญปีนี้ น่าจะสูสีกับปี 2559 ซึ่งเกิดมหาภัยแล้งรุนแรง เพราะลากยาวจากปลายปี 2558-59 เพราะชนช่วง 2 ฤดูแล้งจนน้ำเริ่มหมด

แบบจำลองเชิงพื้นที่ปี 2567 ภาคใต้เสี่ยงขาดแคลนน้ำสุด ต้องระวังฝนทิ้งช่วงในฤดูฝนของภาคใต้ เพราะเอลนีโญจะยกกำลังสูงสุดในเดือน ต.ค.-ธ.ค.นี้

แบบจำลองเชิงพื้นที่ปี 2567 ภาคใต้เสี่ยงขาดแคลนน้ำสุด ต้องระวังฝนทิ้งช่วงในฤดูฝนของภาคใต้ เพราะเอลนีโญจะยกกำลังสูงสุดในเดือน ต.ค.-ธ.ค.นี้

แบบจำลองเชิงพื้นที่ปี 2567 ภาคใต้เสี่ยงขาดแคลนน้ำสุด ต้องระวังฝนทิ้งช่วงในฤดูฝนของภาคใต้ เพราะเอลนีโญจะยกกำลังสูงสุดในเดือน ต.ค.-ธ.ค.นี้

“ภาคใต้” เสี่ยงสุด ฝนทิ้งช่วงปลายปี

นักวิชาการ บอกว่า จากแบบจำลองของฝั่งสหราชอาณาจักร ปรากฎการณ์ที่เกี่ยวกับฝนในไทย ฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงเดือนมี.ค.-ก.ค. และอุณหภูมิจะร้อนกว่าค่าเฉลี่ยปกติในช่วงหน้าร้อน

ขณะที่ NOAA ระบุว่า จะร้อนและแล้งเช่นกัน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ จะมีความเสี่ยงมากกว่าทางภูมิภาคอื่น สอดคล้องกับการประเมินค่าเฉลี่ยฝน ที่กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์จะน้อยกว่า 5% ในปีนี้

แบบจำลองเชิงพื้นที่พบว่า ภาคใต้เสี่ยงขาดแคลนน้ำสุด ต้องระวังฝนทิ้งช่วงในฤดูฝนของภาคใต้ เพราะเอลนีโญจะยกกำลังสูงสุดในเดือน ต.ค.-ธ.ค.นี้ รองลงมาภาคอีสาน ระบบชลประทานน้อย และมีพื้นที่เกษตรนอกเขตชลประทานที่เข้าถึงแหล่งน้ำในระดับครัวเรือนแค่ 26 % ส่วน 74% ยังเข้าไม่ถึงแหล่งน้ำ

รศ.ดร.วิษณุ ชี้ว่า เกษตรกร ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงในลำดับแรก เพราะ 80% ยังเป็นระบบเกษตรที่ต้องพึ่งพาแหล่งน้ำ ดังนั้นกรมชลประทาน ต้องจัดสรรน้ำและรณรงค์ให้เกษตรกรปลูกพืชใช้น้ำน้อย ควบคุมพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม เพราะถ้ามองย้อนในประวัติศาสตรเอลนิโญ ไม่ได้เกิดแค่ช่วงเวลาสั้นๆ หากลากยาว 2 ปี หากกรมชลประทานไม่จัดสรรน้ำ ความเสี่ยงจะสูง ความเสียหายจะหนักมาก ซึ่งยังไม่รวมภาคอุตสาหกรรม

สภาพพื้นที่นาข้าว อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี เลื่อนหว่านข้าวเพราะเริ่มขาดแคลนน้ำ

สภาพพื้นที่นาข้าว อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี เลื่อนหว่านข้าวเพราะเริ่มขาดแคลนน้ำ

สภาพพื้นที่นาข้าว อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี เลื่อนหว่านข้าวเพราะเริ่มขาดแคลนน้ำ

คาดการณ์ผลเสียหายทางเศรษฐกิจ จากภาวะโลกร้อนอีก 22 ปีข้างหน้า มูลค่าความเสียหายสะสม 600,000-2.85 ล้านล้านบาท เฉลี่ยปีละ 83,000 ล้านบาท เฉพาะในภาคเกษตร นั่นหมายถึงจีดีพีก็จะหดตัวลงจากผลผลิตเกษตรที่ส่งออกได้น้อย

นักวิชาการโลกร้อน เสนอว่า ทางออกสำหรับเอลนีโญปีนี้ พื้นที่นอกเขตชล ประทาน เกษตรกรต้องเก็บน้ำให้มากสุด เพื่อฝ่าแล้งหน้าที่จะมาถึงรุนแรง ส่งเสริมทำบ่อจิ๋ว ส่วนแหล่งน้ำสาธารณะ คู คลอง ต้องเพิ่มศักยภาพไม่ให้ตื้นเขิน และลดการทำนาปรัง และปลูกพืชใช้น้ำน้อย เป็นต้น

เพราะถึงเวลาที่ทุกคนต้องปรับตัวกับภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่สามารถเรียกคืนอุณหภูมิที่สูงขึ้น แต่ต้องช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้คนรุ่นอนาคตเผชิญภัย จากภาวะโลกร้อนให้น้อยลงจากคนรุ่นปัจจุบัน

"ติดตามสถานการณ์สภาพแวดล้อม ภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไปกับไทยพีบีเอสใน 1.5 องศาจุดเปลี่ยนโลก"

 ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ไขคำตอบ เอลนีโญ-ลานีญา ความต่างที่สุดขั้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง