ฤดูฝนที่เพิ่งเดินทางมาถึง ไม่เพียงแต่ทำให้หลายพื้นที่คลายความร้อน และเพิ่มความชุ่มชื้น แต่สายฝนที่โปรยปรายยังหมายถึงการเฝ้าระวังโรคระบาดที่มาพร้อม กันทั้งโรคไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก โควิด-19 โรคระบบทางเดินหายใจ โรคฉี่หนู
โดยเฉพาะการกลับมาของโรคไข้เลือดออก ข้อมูลจากการรายงานของกรมควบคุมโรค ล่าสุดพบแนวโน้มการระบาดสูงขึ้นในรอบ 2-3 ปี เพียงแค่ 5 เดือนแรกของปี 2566 มีผู้เสียชีวิต 17 คน มีผู้ป่วยสะสม 16,650 คน
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซพบได้ในทุกกลุ่มอายุ อาการของโรคไข้เลือดออกแม้จะไม่รุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนทำให้เสียชีวิตได้
หากพบว่ามีอาการดังกล่าว ควรพบแพทย์ทันที และห้ามซื้อยากินเอง โดยเฉพาะ กลุ่มยาแอสไพริน และยาไอบรูโพรเฟน เนื่องจากเป็นกลุ่มยาที่ทำให้กระตุ้นเกิดเลือดออกได้ง่ายขึ้นและเสียชีวิตได้
อ่านข่าวเพิ่ม ระวัง! สธ.เตือนไข้เลือดออกระบาด คาดตัวเลขป่วยพุ่ง มิ.ย.นี้
เช็กอาหารโรคไข้เลือดออก
- มีไข้สูง 39– 40 องศาฯ เกิน 2 วัน จากนั้นวันที่ 4 ไข้ลดลง มีผิวแดง หน้าแดง ตาแดง ผิวแห้ง และหิวน้ำบ่อย
- ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว
- อ่อนเพลีย ซึมลง
- ปัสสาวะสีเข้ม
- เบื่ออาหาร อาเจียน
- อาจพบจ้ำเลือด หรือจุดเลือดตามผิวหนัง
- อุจจาระมีสีดำ
ไข้หวัดใหญ่ระบาดป่วย 47,783 คน
ส่วนสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ ข้อมูลจากการรายงานของกลุ่มพัฒนำระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคติดต่อ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.–13 พ.ค.2566 มีรายงานผู้ป่วย 47,783 คน อัตราป่วย 72.21 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 คน ใน จ.สงขลา
อ่านข่าวเพิ่ม ป่วยไข้หวัดใหญ่แล้ว 4.5 หมื่นคน พบสายพันธุ์ A/H3 มากสุด
สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (InFluenza virus) จำแนกได้ 3 ชนิด ได้แก่ ชนิด A (H1N1) (H3N2) รองลงมาชนิด B และ C
หลังจากได้รับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เข้าสู่ร่างกายประมาณ 1-3 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้สูงเฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย กล้ามเนื้อ อ่อนเพลียมาก ไอแห้ง ๆ คอแห้ง คันคอ เจ็บคอ
โดยปีนี้พบ 10 จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูง คือพะเยา แพร่ พัทลุง อุบลราชธานี ภูเก็ต นราธิวาส นครศรีธรรมราช มุกดาหาร และน่าน
อ่านข่าวเพิ่ม นักกีฏวิทยา ชี้ ปัจจัยโลกร้อน "ยุงเพิ่มจำนวน-โตไว-ผสมพันธุ์เร็วขึ้น"
เช็กอาการไข้หวัดใหญ่
- มีไข้สูงเฉียบพลัน หนาวสั่น
- ปวดศีรษะ
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย
- มีน้ำมูกใส
- ไอแห้ง ๆ คอแห้ง คันคอ เจ็บคอ
- เบื่ออาหาร
การกลับมาของโควิด-19 ปี 2566
ขณะที่โรคโควิด-19 ซึ่งกลายเป็นโรคประจำถิ่นของไทย พบว่าในช่วงหลังเทศกาลสงกรานต์ และเปิดเทอม เริ่มพบผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มขึ้น ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข สัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาล 2,970 คน เฉลี่ยวันละ 424 คน ผู้ป่วยปอดอักเสบ 425 คน ใส่ท่อช่วยหายใจ 253 คน และเสียชีวิต 42 คนเฉลี่ยวันละ 6 คน
จากการเฝ้าระวังสายพันธุ์ในประเทศไทย โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ XBB.1.16 ซึ่งความสามารถในการแพร่ระบาดและความรุนแรงไม่ได้มากกว่าสายพันธุ์เดิม
เช็กอาการโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16
- มีไข้สูง
- ไอ
- จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส
- เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ลักษณะคล้ายตาแดง มีผื่นคัน (ผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่น เยื่อบุตาอักเสบ ภูมิแพ้ ควรระมัดระวัง)
ทั้งนี้จากรายงานการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอนลูกผสมใหม่ยังไม่พบว่ามีความรุนแรง และเสียชีวิตสูงเหมือนสายพันธุ์เดลตา โดยเฉพาะในผู้ที่ได้รับวัคซีน mRNA เข็มกระตุ้นแล้ว ซึ่งช่วยลดโอกาสเกิดโรครุนแรงได้มาก ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง จึงควรเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นเพิ่มเติม โดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาดสูง
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
โควิดขาขึ้น! สธ.ชี้อัตราครองเตียงทั่วประเทศ 22.41% ยังรับมือไหว