1. ในโลกมี "ยุง" 3,582 ชนิด ขณะที่ ในประเทศไทย มีทั้งหมด 23 สกุล ทั้งหมด 436 ชนิด
2. "ยุง" ในประเทศไทย มีทั้งหมด 23 สกุล ทั้งหมด 436 ชนิด ยุงเป็นแมลงตัวเล็ก ยังเป็นพาหะนำโรคร้ายมาสู่คน เช่น ยุงลายบ้านและยุงลายสวน เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก , ยุงรำคาญ เป็นพาหะนำโรคไข้สมองอักเสบ ระวังอย่าให้โดน ยุงกัด ดีที่สุด
3. หากถามว่า กรุ๊ปเลือดใด ที่ดึงดูด "ยุง" มากที่สุด กรุ๊ป B กับ กรุ๊ป O สูสีกัน นั้นเพราะมีกลิ่นที่ยุงชอบ รองลงไปเป็น กรุ๊ป A และ กรุ๊ป AB ตามลำดับ แต่ไม่ว่าเลือดกรุ๊ปไหน ยุงก็กัดหมดเพราะ ทางที่ดี คือ ไม่ต้องไปลอง ป้องกันตัวเองไม่ให้ยุงกัดดีที่สุด
4. "สี" ดึงดูด "ยุง" มากที่สุด จะเป็นโทนสีเข้ม สีดำ สีแดง และไม่ชอบ สีที่สะท้อน คือ สีขาว ระหว่าง สีแดง กับ สีเทา ยุงกลับชอบสีแดง มากกว่า นั้นเพราะ ในสีเทามีเปอร์เซ็นของสีขาว แทบจะเกือบ 100% มีหยด สีดำ ไปแค่นิดเดียว แต่ไม่ว่า สีอะไรก็กัดได้หมด อย่าให้ยุงกัดดีที่สุด
5. ผู้หญิง ช่วงมีประจำเดือน เสี่ยงถูกยุงกัด มากขึ้น นั้นเพราะมีการปล่อย "ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์" มาก ขณะที่ระดับฮอร์โมน แตกต่างจากปกติ ขณะที่เด็กมีโอกาสถูกยุงกัดมากกว่าผู่ใหญ่ เพราะผิวที่อ่อนนุ่ม ยุงเจาะง่าย ขณะที่ อาหารบางชนิด ทำให้เรามีกลิ่นตัว เพิ่มแนวโน้มยุงมากัด ได้เช่นกัน
อ่านข่าว : ไข้เลือดออกระบาด คาดตัวเลขป่วยพุ่ง มิ.ย.นี้
6. กลิ่นเหงื่อ กลิ่นตัวแรงขึ้น ดึงดูดยุงได้เช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อเราไปออกกำลังกายจะมีเหงื่อ ปล่อย "ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์" ทำให้ยุงชอบมากัด
7. "ยุงลาย" บินได้ไม่ไกล ชอบอาศัยเกาะพักอยู่ในที่มืดและพื้นที่ที่มีความชื้นในอากาศสูง ก่อนออกดูดเลือด โดยเฉพาะยุงลายบ้าน เป็นยุงที่ชอบกินเลือดคนมาก จะชอบอาศัยอยู่ในบ้านคน วันหนึ่ง ๆ แค่บินจากฝาผนังที่ยุงเกาะพัก จากตู้เสื้อผ้า หรือบินมาจากห้องน้ำไปกัดคนที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน แล้วก็บินกลับไปเกาะที่เดิม วันหนึ่งอาจบินไกลไม่ถึง 10 เมตร
8. ช่วงหลังรับประทานอาหารของคน ในช่วงหลังอาหารเช้า หลังอาหารเที่ยง เป็นช่วงพีคที่ยุงออกหากิน พบมากที่สุด คือ เวลา 09.00 - 11.00 น. และ 13.00 -14.30 น. สิ่งที่ทำให้ยุงออกมากกัดมากที่สุดก็คือ กลิ่นอาหารที่ร่างกายย่อย ซึ่งจะปล่อยกลิ่นออกมาทางผิวหนัง ลมหายใจ ทำให้ดึงดูดยุง ฉะนั้นหากอยากกำจัดยุง เวลานี้อาจเหมาะสม
อ่านข่าว : เปิด 3 กลไก แปลงร่างจาก ”ยุง” เป็น ”ซูเปอร์ยุง”
9. วงจรชีวิต "ยุง" มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะลูกน้ำ ระยะตัวโม่ง และระยะตัวเต็มวัย โดยระยะตัวเต็มวัยเพศเมียเป็นระยะที่กินเลือด เพื่อใช้ในการพัฒนาไข่ของยุง จึงทำให้เกิดการแพร่โรคติดต่อนำโดยยุง ปกติวงจรชีวิตยุงใช้เวลาประมาณ 12-15 วัน แต่ภาวะโลกร้อนนี้วงจรชีวิตยุงหดสั้นลงใช้เวลาเพียงสัปดาห์กว่า ๆ เท่านั้น โดยอายุเฉลี่ย ยุงเพศผู้มีอายุเฉลี่ย 7 วัน ยุงเพศเมียมีอายุเฉลี่ย 30 วัน
10. "ยุง" เพศผู้ชอบดูดน้ำหวาน ไม่กินเลือด ขณะที่ "ยุง" เพศเมีย ชอบดูดเลือด
11. "ยุง" แมลงตัวเล็ก พาหะนำโรคร้ายมาสู่คน ยุงเสือและยุงลายป่า เป็นพาหะนำโรคเท้าช้าง, ยุงก้นปล่อง เป็นพาหะนำโรคมาลาเรีย, ยุงลายบ้าน เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก, ยุงรำคาญ พาหะนำโรคไข้สมองอักเสบ
12. มีบางประเทศเช่นในยุโรป - อเมริกา เลี้ยงค้างคาว ไว้ล่ายุง
13. ศัตรู ยุง - ลูกน้ำ มีทั้ง แมลงปอ ค้างคาว แมงมุม ปลากัด ปลาหางนกยูง ตัวห้ำในน้ำ เช่น มวนกรรเชียง ตัวอ่อนแมลงชีปะขาว ตัวอ่อนแมลงปอ มวนแมงป่องน้ำ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เทียบอาการ! ไข้เลือดออก-ไข้หวัดใหญ่-โควิด อะไรเหมือน-ต่าง?
"SAVE บางกลอย" ตั้งคำถาม สปสช. กรณี "กิ๊ป" ป่วยเสียชีวิตไร้ จนท.ดูแล