ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ย้อนรอยโลกเผชิญ "ฝุ่นกัมมันตรังสี" จากซีเซียม-137

ต่างประเทศ
20 มี.ค. 66
12:54
8,288
Logo Thai PBS
ย้อนรอยโลกเผชิญ "ฝุ่นกัมมันตรังสี" จากซีเซียม-137
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เปิดเคสตัวอย่าง "ฝุ่นแดง" หรือ "ฝุ่นกัมมันตรังสี" จากซีเซียม-137 ที่เคยสร้างผลกระทบให้สเปน และ ฝรั่งเศส

ย้อนไปเมื่อวันเสาร์ที่ 13 มิ.ย.2541 สำนักข่าว AP รายงาน มีการตรวจพบระดับรังสีที่เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติในประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และอิตาลี ซึ่งคาดว่ามีแหล่งที่มาจากโรงถลุงเหล็กทางตอนใต้ของสเปน

Fatima Rojas โฆษกหญิงของสภาความมั่นคงนิวเคลียร์สเปน (CSN) แถลงว่ามีการตรวจพบสารกัมมันตรังสี "ที่ยังไม่ทราบชนิด" ถูกหลอมที่โรงงาน Acerinox ในเมือง Algeciras ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม

การหลอมของเศษโลหะไม่ทราบชนิด เชื่อมโยงกับการเพิ่มขึ้นของระดับความเข้มข้น “ซีเซียม-137” ในชั้นบรรยากาศ เมื่อต้นเดือนมิถุนายน และพบใน ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และอิตาลีด้วย

จากข้อมูลของ CSN ระบุว่า พบเมฆกัมมันตรังสี (ฝุ่นแดง) เคลื่อนตัวจากทางตอนใต้ของสเปนไปตอนเหนือ กินพื้นที่ 6 เมืองในสเปน และแหล่งน้ำโดยรอบ

จนกระทั่ง โรงงาน Acerinox รายงานการแผ่รังสีในขี้เถ้าของโรงหล่อ เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.2541 จึงเกิดการตั้งข้อสังเกตขึ้นในยุโรป ถึงเรื่องฝุ่นแดงที่หาที่มาไม่ได้

โรงงานถูกสั่งปิด และผู้ปฏิบัติงานเข้ารับการประเมินร่างกายจากแพทย์ทันที

ในขณะนั้น รัฐบาลอิตาลีกล่าวหาว่าสเปนล้มเหลวในการเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะ เช่นเดียวกับ กรีนพีซ องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ สาขาสเปน ที่กล่าวหาเจ้าหน้าที่ด้านนิวเคลียร์ว่าประมาทเลินเล่อและปกปิดข้อมูล

ปรากฏการณ์ "บูมเมอแรง" 60 ปีวนกลับมา

ในปี 2564 สมาคมฝรั่งเศสเพื่อการควบคุมกัมมันตรังสีในภาคตะวันตก (Acro) รายงานพบระดับความเข้มข้นของซีเซียม-137 จากทรายที่ได้จากพายุทรายที่พัดมาจากทะเลทรายซาฮารา

การปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีซึ่งสะสมมานานกว่า 60 ปีหลังจากการระเบิดของนิวเคลียร์ ทำให้เรานึกถึงการปนเปื้อนที่เหลืออยู่ในทะเลทรายซาฮารา และฝรั่งเศสควรรับผิดชอบ

Acro กล่าวในแถลงการณ์และตั้งชื่อเหตุการณ์นี้ว่า "ปรากฏการณ์บูมเมอแรง"

เมื่อวันที่ 1 มี.ค.2564 ศาสตราจารย์ Pedro Salazar Carballo จากมหาวิทยาลัย Laguna ให้ข้อมูลกับสำนักข่าว Euronews ว่า

ฝุ่นจากทะเลทรายซาฮารา หรือที่เรียกกันว่า Calima บางครั้งพบว่ามีโพแทสเซียม-40 ซึ่งเป็นแร่ธาตุตามธรรมชาติและยังพบซีเซียมด้วย -137 แต่สิ่งนี้เกิดจากการทดสอบนิวเคลียร์โดยรัฐบาลฝรั่งเศส

Carballo ตีพิมพ์ผลการศึกษาเกี่ยวกับระดับรังสีในฝุ่นที่เกิดจากพายุที่รุนแรงในปี 2563 ซึ่งทำให้สนามบินต้องปิด ทำให้นักท่องเที่ยวหลายร้อยคนติดอยู่ เขาบอกว่าในขณะนั้นพบว่ามีโพแทสเซียม-40 และซีเซียม-137 ในปริมาณสูง

โดยเขานำตัวอย่างฝุ่นที่มีการปนเปื้อนของซีเซียม-137 จากทรายที่อยู่บนเทือกเขา Jura ใกล้ชายแดนสวิตเซอร์แลนด์ พบว่าเป็นสารกัมมันตรังสีที่เป็นผลมาจากการทดสอบนิวเคลียร์ที่ฝรั่งเศสเคยทดลองในทะเลทรายซาฮาราเมื่อกว่า 60 ปีก่อน (พ.ศ. 2503-2509)

แต่ผลการศึกษาของ Carballo ยืนยันว่าซีเซียม-1437 ที่พบนั้นอยู่ในระดับปลอดภัย และจากสถิติก็ไม่เคยว่าการปนเปื้อนของซีเซียม-137 ฝนพายุจะอยู่ในระดับอันตราย แม้ว่าจากเหตุการณ์ที่เชอร์โนบิลและฟุกุชิมะก็ตาม

ที่มา : AP, UATOM, Euronews

อ่านข่าว ซีเซียม-137 เพิ่ม : 

ยืนยันถูกหลอมแล้ว แท่งเหล็กบรรจุ "ซีเซียม-137" ตรวจเลือดกลุ่มเสี่ยง

ย้อนไทม์ไลน์ แจ้ง-ค้นหาวัตถุกัมมันตรังสี "ซีเซียม-137"

พบวัสดุกัมมันตรังสี "ซีเซียม 137" สั่งปิดโรงงาน-กันพื้นที่

ระดมค้นโรงไฟฟ้าหา "ซีเซียม-137" เพิ่มเงินชี้เบาะแสเป็น 1 แสนบาท

ข่าวที่เกี่ยวข้อง