มีคำถามว่ากรณีตำรวจคลั่งที่ในพื้นที่สายไหม ซึ่งแม้จะมีการระดมสารพัดวิธีในการปฏิบัติภารกิจดังกล่าวมานานถึง 24 ชั่วโมง หนึ่งในนั้นคือการใช้ "แก๊สน้ำตา"
พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุวิมล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ซึ่งเดินทางเข้ามาบัญชาการเหตุการณ์ตั้งแต่กลางดึก และในช่วงสายวันนี้ เพื่อที่จะควบคุมสถานการณ์ ระบุว่าการยิงแก๊สน้ำตาหลายลูกเข้าไปยังที่พักของผู้ก่อเหตุ
คาดว่าทางผู้ก่อเหตุได้เปิดบานเกร็ด เพื่อให้ปลอดภัยจากแก๊สน้ำตา และอาการป่วยของผู้ก่อเหตุอาจไม่ตอบสนองต่อแก๊สน้ำตา จึงทำให้ผู้ก่อเหตุยังสามารถอยู่ในบ้านได้ไม่วิ่งออกมาข้างนอก

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า ผู้ที่โดนแก๊สน้ำตาเป็นปฏิกิริยาทางร่างกาย เป็นระบบประสาทอัตโนมัติที่จะตอบสนอง เมื่อเจอสารระคายเคืองจะมีน้ำตาเป็นปฏิกิริยตอบกลับ
พญ.อัมพร กล่าวอีกว่า ยังไม่มั่นใจกลไกลนี้การเจ็บป่วยทางจิตเวชไม่น่าจะทำให้เขาไม่มีปฏิกิริยากับแก๊สน้ำตาหรือไม่ แต่การตอบสนองว่าผู้ป่วยจิตเวช น่าจะมีความคล้ายคลึงกับคนทั่วไป อาจจะมีน้ำตาไหล
แต่สิ่งที่เจอได้ในผู้ป่วยจิตเวชที่กินยารักษาจิตเวช ยาบางกลุ่มทำให้ตาแห้ง และปฏิกิริยาตอบสนองจะน้อยกว่า แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองเลย

อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวอีกว่า ขณะนี้มีทีมนักจิตวิทยา จิตแพทย์ลงพื้นที่แล้ว ส่วนกรณีที่ตำรวจคนนี้ยังอยู่ได้ยาวนานเกือบ 1 วัน แม้จะมียุทธวิธีต่างๆ ส่วนหนึ่งเพราะพื้นฐานส่วนตัวที่อยู่ในช่วงวัยที่มีความแข็งแกร่งของร่างกาย และสภาพแวดล้อมที่เกิดเหตุในบ้าน จึงอาจมีการพักและทำกิจกรรมต่างๆ สลับไปมา
เขาอาจจะพักเป็นระยะๆ และการที่ได้รับยา หรือสารอื่นๆ ใดจะมีผลต่อสภาพร่างกายที่ทำให้อยู่นาน น่าจะมีคำตอบทั้งหมดหลังสถานการณ์คลี่คลายแล้ว

อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวอีกว่า สำหรับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เกิดเหตุอาจจะเกิดภาวะเครียด แต่เท่าที่ทราบตำรวจขอให้ประชาชนอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยและการรับฟังแนวปฏิบัติจากตำรวจเป็นเรื่องสำคัญ จะช่วยลดทั้งความสูญเสียความแตกตื่นความตระหนก การหลีกเลี่ยงในสถานที่ไปอยู่ในที่ปลอดภัยลดปัญหาทางจิตใจได้มากแล้ว
แนะนำให้ประชาชนฟังคำแนะนำ และให้กำลังใจชุดปฏิบัติงานเหตุการณ์นี้ เพราะทุกคนทำหน้าที่และป้องกันความเสียหายในทุกด้าน เจ้าหน้าที่เองอาจจะเผชิญความเครียด และรับแรงกดดันอยู่มาก ทุกกระแสที่จะส่งเข้าไปควรสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่จะได้มีประสิทธิภาพสูงสุด

โดนแก๊สน้ำตา จะเป็นอย่างไร?
สำหรับแก๊สน้ำตา ข้อมูลจากแอมแนสตี้ ระบุว่า การสัมผัสกับแก๊สน้ำตา ทำให้เกิดความรู้สึกเหมือนแผลไฟไหม้ น้ำตาไหล จาม แน่นหน้าอก และหายใจลำบาก รวมทั้งการระคายเคืองที่ผิวหนังในกรณีส่วนใหญ่ อาการเช่นนี้จะหายไปภายใน 10-20 นาที
แก๊สน้ำตา ส่งผลกระทบต่อบุคคลแตกต่างกันไป โดยเด็ก หญิงตั้งครรภ์ และผู้สูงวัย มักเสี่ยงจะได้รับผลกระทบมากกว่า ระดับสารพิษก็แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ ปริมาณที่ใช้ และสภาพแวดล้อมที่ใช้
อ่านข่าวเพิ่ม 21 ชั่วโมงเจรจาไม่เป็นผล ตร.พยายามบุกบ้านพัก "สารวัตร"
วิธีการปฐมพยาบาลอย่างไร
สำหรับผู้ที่โดนแก๊สน้ำตา ก่อนหน้านี้นพ.ประจักษวิช เล็บนาค รองเลขธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวถึงกรสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ระบุขั้นตอนการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ถูกแก๊สน้ำตา สิ่งแรกคือ หลีกเสี่ยงออกไปอยู่พื้นที่ที่ไม่มีควันแก๊สน้ำตา เพื่อป้องกันการสูดดมซ้ำ จากนั้นรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำเกลือในปริมาณมากๆ ทันที
วิธีการล้างให้ปล่อยน้ำให้หลผ่านดวงตาเบาๆ สักระยะเพื่อให้นำล้างแก๊สน้ำตาออกให้หมด เพราะหากล้างน้ำแรงไปจะทำให้ดวงตาอักเสบหรือกระจกตาเสียหายได้ ควรรีบเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที
อ่านข่าวเพิ่ม ไทม์ไลน์ 26 ชั่วโมง ยังเจรจาเกลี้ยกล่อม "สารวัตร" ไม่สำเร็จ

แก๊สน้ำตาผลกระทบทำให้ระคายเคือง ต่ออวัยวะต่างๆ คือ ตา เยื่อบุจมูก ทางเดินหายใจ เยื่อบุช่องปาก และผิวหนัง ถ้าเข้าตา ทำให้มีน้ำตาไหล แสบตา หนังตาบวม เยื่อบุตาบวม ลืมตาไม่ขึ้น รวมทั้งอาจทำให้ตามองไม่เห็น หรือตาบอดชั่วคราว และอาจทำให้เกิดแผลที่กระจกตาได้
ถ้าสูดดมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ จะทำให้มีอาการ เจ็บคอ จาม มีเสมหะ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก อาจมีหลอดลมตีบ จนหายใจไม่ออก
แก๊สน้ำตาจะออกฤทธิ์ทันทีที่ร่างกายสัมผัสถูก และฤทธิ์จะคงอยู่นาน 10-30 นาที หลังจากพ้นการสัมผัส อาจมีอาการอยู่นานได้ถึง 24 ชั่วโมงขึ้นไป หรือบางทีนานถึง 3 วัน และอาการจะรุนแรง และเป็นอันตรายมากขึ้น หากได้รับในปริมาณที่เข้มข้นมาก หรืออยู่ในบริเวณที่มิดชิด ไม่มีการถ่ายเทของอากาศ
แม้ว่าแก๊สน้ำตาจะไม่มีอันตรายมาก แต่อจเป็นอันตราย แก่ผู้ที่เป็นโรคหอบหืด หรือถุงลมโป่งพองอยู่เดิมได้มาก นอกจากนี้ ยังมีรายงานการเสียชีวิตจากการใช้แก๊สน้ำต เนื่องจากการมีปอดบวมน้ำ เลือดออกในปอด ปอดอักเสบ หรือการ
ขาดอากาศหายใจ หรืออาจเสียชีวิตได้
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ตร.ประเมินความเสี่ยงต่อเนื่อง อาจใช้ "กระสุนจริง" หากจำเป็น